การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน(2)

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
21 ธันวาคม 2553

 

5. นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

 วิสัยทัศน์ 

         คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

พันธกิจ 

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

นโยบายตามภารกิจ 

1.  นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ

1.1  การสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

1)  ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าเล่าเรียน ค่าจัดซื้อหนังสือเรียน และค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2)  พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นได้ทันความต้องการ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน
3)  ให้มีการจัดทำคู่มือการสอนแบบมีคุณภาพและการสอนแบบประสมประสานตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 1.2  การส่งเสริมการรู้หนังสือ

1)  พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน
2)  การพัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผลและเครื่องมือการดำเนินงานสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
3)  เพิ่มศักยภาพครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
4)  มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือและการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับให้ประชาชนได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

1.3  การศึกษาต่อเนื่อง

1)  มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนางานและอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการงานและอาชีพระดับพื้นฐาน ระดับกึ่งฝีมือ และระดับฝีมือ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ให้พัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายและทันสมัย สามารถให้บริการได้อย่างกว้างขวาง
2)  มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยการจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน
3)  มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรม               การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตยความเป็นพลเมืองดีเศรษฐกิจชุมชน และการอนุรักษ์พัฒนาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4)  มุ่งจัดการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรเชิงบูรณาการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
5)  พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อการใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

1.4  การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

1)  มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและมาตรฐานของหลักสูตร
2)  พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
3)  ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
4)  ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ประกอบหลักสูตร โดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและเอกชน
5)  ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
6)  มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐาน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
7)  พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำข้อทดสอบกลางมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.5  การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

1)  เร่งรัดให้สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐาน โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง
2)  เร่งรัดให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาในสังกัดให้ผ่านการประเมินคุณภาพภายใน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3)  เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน. ที่มีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ. กำหนดโดยปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
4)  ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน สมศ. ผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

1.6  การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

1)  ส่งเสริมให้สถานศึกษาดำเนินการเทียบโอนความรู้ประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียนอย่างมีระบบ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายบรรลุผล        การเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2)  พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

1.7  การศึกษาทางไกล

1)  พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียน ทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง โดยบูรณาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายมาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพ
2)  พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมในการจัดและให้บริการการศึกษาทางไกล เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
3)  ขยายกลุ่มเป้าหมายภาคีเครือข่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการให้มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2.  นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

2.1  การส่งเสริมการอ่าน

1)  พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้ระดับอ่านคล่อง เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยผ่านกระบวนการปฏิรูปการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
2)  พัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้างเจตคติให้เป็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่านประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม และกำหนดมาตรการจูงใจเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน
3)  ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและหลากหลาย รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ที่สนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมการอ่านในส่วนภูมิภาค
4)  ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน โดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล
5)  ส่งเสริมให้มี “นครแห่งการอ่าน” ในจังหวัดที่มีความพร้อมเพื่อสร้างเสริมบทบาทของการส่งเสริมการอ่าน

2.2  ห้องสมุดประชาชนมีชีวิต

1)  มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
2)  จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในอำเภอที่ยังไม่มีห้องสมุดประชาชน เพื่อจัดบริการให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยเน้นการระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
3)  จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน
4)  จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชน
5)  จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ
6)  พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชน ให้มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี
7)  แสวงหาภาคีเครือขายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน

2.3  วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

1)  มุ่งพัฒนาและจัดทำนิทรรศการและจัดกิจกรรมที่เน้นการเสริมสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้รับบริการ
2)  เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนให้ผู้รับบริการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพ และสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
3)  ส่งเสริม สนับสนุนภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศให้ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ผู้รับบริการ
4)  ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้มีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลายสามารถปลูกฝังให้ผู้รับบริการมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
5)  ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ เพื่อเป็นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
6)  ดำเนินการจัดให้มีศูนย์ดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านดาราศาสตร์ให้กับประชาชน
7)  พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงวิชาการ และแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น

3.  นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน

3.1  กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน

1)  ให้มีคณะกรรมการบริหารจัดการกศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยจัดให้มีแผนปฏิบัติงานประจำตำบลหรือแขวง
2)  ให้ กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน จัดทำฐานข้อมูลในลักษณะ  สำมะโน และศึกษาความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชน และตำบลหรือแขวง เพื่อประกอบการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม
3)  มุ่งเน้นให้มีการนำหลักคิดประชาธิปไตยมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตยในทุกระดับ
4)  สนับสนุนสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีให้ กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน ทุกแห่งเพื่อพัฒนาประชาชนในชุมชนให้เป็นคนไทยยุคใหม่
5)  ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อการประสานเชื่อมโยง และส่งต่อผู้เรียนให้ได้รับบริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
6)  ให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน และจัดให้มีการรายงานต่อสาธารณะในชุมชน
7)  จัดทำมาตรฐาน กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการบริหารและการบริการให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนและชุมชน
8)  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน โดยใช้ กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชน เป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน

3.2  อาสาสมัคร กศน.

1)  ส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการบำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยดำเนินงานเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัดสำนักงาน กศน.
2)  ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้จัดและผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ
3)  เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่างๆ แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

3.3  การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

1)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน โดยใช้ กศน. ตำบลหรือแขวง : แหล่งเรียนรู้ชุมชนที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2)  ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน โดยจัดทำแผนชุมชน จัดเวทีชาวบ้าน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน
3)  ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆ ของ กศน. เพื่อประโยชน์ในการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
4)  ส่งเสริมให้มีขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยให้มีการจัดทำและเผยแพร่สื่อเพื่อการธำรงรักษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน
5)  พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน

4.  นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ

4.1  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1)  ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อการสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากพระราชวงศ์อย่างมีคุณภาพและเกิดผลโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
2)  จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน. ที่สนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

4.2  โครงการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของ ศฝช.

1)  ให้ ศฝช. ทุกแห่ง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากร และการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรธรรมชาติ โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน กศน. กับมูลนิธิ MOA ไทยและMOA International
2)  มุ่งจัดและพัฒนาการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม โดยเน้นเกษตรธรรมชาติและอาชีพอื่นที่เหมาะสมให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน
3)  จัดและพัฒนา ศฝช. ให้เป็นศูนย์สาธิตการประกอบอาชีพสำหรับประชาชนตามแนวชายแดน

4.3  การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

1)  ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้สัญชาติ คนไทยในต่างประเทศ เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เด็กด้อยโอกาส คนเร่ร่อน
2)  จัดและส่งเสริมการเรียนรู้และใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันสำหรับชาวไทยภูเขาและชนต่างวัฒนธรรม
3)  พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4)  พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายพิเศษแต่ละกลุ่ม
5)  ศึกษาวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
6)  พัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในการปฏิบัติงานของครูที่รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

5.  นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

            5.1  พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และสถานีวิทยุศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการส่งกระจายภาพและเสียง ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถให้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งนี้ให้มีการประสานงานเพื่อเชื่อมสัญญาณการกระจายเสียงกับวิทยุชุมชนทั่วประเทศ
            5.2  พัฒนารายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาและรายการวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สาธารณะ (Free ETV)
            5.3  เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา กศน. ทั้งในเมืองและชนบทได้เข้าถึงช่องทางและมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ โดยจัดให้มีการติวเข้มเติมเต็มความรู้ (Student Channel) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ รวมทั้งจัดให้มีการติวเข้มเติมเต็มความรู้เคลื่อนที่ไปในจังหวัดต่างๆ
             5.4  ผลิตและเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ สื่อ ICT เพื่อการศึกษา เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลและการศึกษาตามอัธยาศัยแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
             5.5  ส่งเสริมให้สถานศึกษาสังกัด สำนักงาน กศน. สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนด้านอุปกรณ์ เครื่องมือทางเทคโนโลยีพื้นฐานให้กับสถานศึกษาทุกแห่งอย่างเพียงพอ
             5.6  ให้มีการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา กศน. และภาคีเครือข่าย ให้สามารถผลิต เผยแพร่ และใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             5.7  พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในหลายช่องทาง ทั้งการออกอากาศทางสถานีวิทยุ สถานีวิทยุโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และรูปแบบอื่นๆ เช่น DVD,CD,VCD เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้บริการได้ตามความต้องการ
             5.8  ดำเนินการสำรวจ วิจัย และติดตามประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง
5.9  ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามาร่วมใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

6.  นโยบายด้านการบริการจัดการ

6.1  การพัฒนาบุคลากร

1)  มุ่งส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรทุกกลุ่มในสังกัดให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2)  จัดให้มีแผนพัฒนาบุคลากร กศน. เพื่อเป็นการเตรียมการในการเข้าสู่งานและการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสืบทอดงานและอุดมการณ์ในการทำงาน
3)  ส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
4)  ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยุฐานะ โดยประเมินจากผลการปฏิบัติงานเป็นฐาน
5)  พัฒนาบทบาทของสถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร และสถาบัน กศน. ภาค ให้เป็นหน่วยงานพัฒนาบุคลากรระดับสูงและบุคลากรเฉพาะทาง

6.2  การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล

1)  ส่งเสริม และพัฒนาการนิเทศการศึกษาทั้งระบบ
2)  ส่งเสริมการใช้กระบวนการนิเทศในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3)  กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานให้ทันกำหนดเวลาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม

6.3  โครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง

1)  จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา
2)  ระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน
3)  แสวงหาความร่วมมือในการหาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม กศน.
4)  บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

6.4  การพัฒนาองค์ความรู้

1)  พัฒนานวัตกรรม และการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
2)  ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชน รวมทั้งทิศทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
3)  พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร และจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

        1. กระทรวงศึกษาธิการ.(2551) พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. 

       2. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา.(2551,25 มีนาคม).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนพิเศษ  60 ง หน้า 2-12

      3. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง บัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. (2551,10  มีนาคม).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนพิเศษ 60 ง หน้า 1-34

     4. สำนักงาน กศน. .(2553) นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ:พับบลิค เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.          

Download

อ้างอิงบทความนี้
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน(2) https://panchalee.wordpress.com/2010/12/21/nfe_ac2/

********************************************

2 Replies to “การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน(2)”

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: