แผนพัฒนา กศน.ตำบล ตอนที่ 2

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
1 สิงหาคม 2554

 

การพัฒนาการจัดการศึกษา ปี 2554 – 2556

ปรัชญา

ความรู้ คู่คุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

วิสัยทัศน์

กศน.ตำบลขะเนจื้อ จัดและส่งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนในชุมชนทุกคน ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายในปี 2556

พันธกิจ

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2. ส่งเสริม สนับสนุนประสานงานภาคีเครือข่าย เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. จัด ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. พัฒนาหลักสูตร สื่อ และกิจกรรมการเรียนรู้
5. พัฒนาครู กศน.ตำบล และภาคีเครือข่าย
6. ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7. ดำเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
8. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

เป้าหมาย

1. เป้าหมายด้านการยกระดับการศึกษาและการขยายโอกาสทางการศึกษา

เป็นการยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชากร วัยแรงงาน และการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะได้รับการศึกษาโดยกำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้

1.1 ประชากรวัยแรงงาน อายุ 15 – 59 ปี จำนวน 420 คน ได้รับการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการ และความจำเป็น ได้แก่

1.1.1 ประชากรวัยแรงงาน อายุ 15 – 39 ปี จำนวน 38 คน ได้รับการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1.1.2 ประชากรวัยแรงงาน อายุ 40 – 59 ปี จำนวน 1,568 คน ได้รับบริการการศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

1.2 ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 68 คน ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และได้รับบริการการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

2. เป้าหมายด้านการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนในชุมชนให้มีวิธี คิดและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 600 คน จาก 3 หมู่บ้าน ดำรงชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.1 มีหมู่บ้านต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบหมู่บ้าน “แม่ระมาดน้อย” ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างน้อย 1 แห่งในตำบลขะเนจื้อ

3. เป้าหมายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

3.1 พัฒนาคุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานนอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทุกระดับ โดยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 จากฐานปีการศึกษา 2553 ได้แก่ สาระความรู้พื้นฐาน วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

3.2 ลดอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เฉลี่ยร้อยละ 5 ในทุกระดับ

3.3 ผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง แต่ละหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามวัตถุประสงค์การเรียนของหลักสูตร

3.4 ผู้เรียน / ผู้รับบริการ กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แต่ละกิจกรรม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่เข้าร่วม

กลยุทธ์การดำเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 1 การศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ตัวชี้วัด

– มีฐานข้อมูลความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคลและรายชุมชน
– มีระบบการให้บริการข่าวสารข้อมูล สารสนเทศแก่กลุ่มเป้าหมาย
– มีการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อสำรวจความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย

แนวทางการดำเนินงาน

1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. กำหนดหมู่บ้านและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

3. มีฐานข้อมูลที่ระบุความต้องการในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ดำเนินงาน

4. พัฒนาระบบให้บริการข่าวสารข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายอย่างรวดเร็วและทั่วถึง

กลยุทธ์ที่ 2 จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน/ผู้รับบริการอย่างมีคุณภาพ

ตัวชี้วัด

– มีหลักสูตร/กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

– จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

– จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

– มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

– มีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายเหมาะสมกับ ผู้เรียน

แนวทางการดำเนินงาน

1. ประกันคุณภาพหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน / หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง

2. จัดกระบวนการเรียนรู้ กศน. ได้แก่

2.1 การเรียนแบบพบกลุ่ม

2.2 การเรียนรู้ด้วยตนเอง

3.จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3.1 กิจกรรมเรียนปรับพื้นฐาน

3.2 กิจกรรมพัฒนาวิชาการ

3.3 กิจกรรมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)

3.4 กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย

3.5 จัดหาสื่อ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้

4. จัดบริการแนะแนวและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน ด้านการเรียน การประกอบอาชีพ และด้านปัญหาส่วนตัว

5. การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการประเมินความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน

กลยุทธ์ที่ 3 จัดหาและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

ตัวชี้วัด

1. กศน.ตำบลขะเนจื้อได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. จัดการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านสถานีวิทยุชุมชน

4. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

แนวทางการดำเนินงาน

1. พัฒนา กศน.ตำบลขะเนจื้อ ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ ของประชาชน

2. จัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. จัดการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านสถานีวิทยุชุมชน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

4. จัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น จัดมุมหนังสือในชุมชน หนังสือสู่ประตูบ้าน

กลยุทธ์ที่ 4 แสวงหาภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวชี้วัด

ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ที่ร่วมจัด กศน. กับ กศน.ตำบลขะเนจื้อ

แนวทางการดำเนินงาน

1. จัดทำทำเนียบภาคีเครือข่าย กศน.

2. สร้างความเข้าใจกับภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมจัด กิจกรรม กสน.

3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน ร่วมแก้ปัญหา และร่วมพัฒนา ปรับปรุง กิจกรรม กศน. ในพื้นที่และขยายผลการจัดกิจกรรม

4. ส่งเสริมให้มีการระดมการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับภาคีเครือข่าย

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ

ตัวชี้วัด

1. บุคลากร กศน.ตำบลขะเนจื้อ ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน

2. มีระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิผล

3. ผู้เรียน / ผู้รับบริการได้รับความสะดวกรวดเร็วและได้รับความพึงใจที่ได้มาใช้บริการ

แนวทางการดำเนินงาน

1. บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ อย่างน้อยปีละ 20 ชั่วโมง

2. เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานให้แก่บุคลากรโดยใช้หลักธรรมาภิบาล พัฒนาระบบ การประสานงานที่ดีให้ มีประสิทธิภาพ

3. นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน

 

แผนพัฒนา กศน.ตำบล ตอนที่ 3

แผนปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการศึกษา กศน.ตำบลขะเนจื้อ ปี 2554 – 2556

ที่

รายการ

งบประมาณประจำปี

2554

2555

2556

1

การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

61,100

66,200

71,850

2

การจัดการศึกษานอกระบบต่อเนื่อง – การศึกษาส่งเสริมอาชีพ – การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต – การศึกษาพัฒนาสังคมชุมชน

75,000

75,000

75,000

3

การจัดการศึกษาตามหลัก – ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

10,000

10,000

10,000

4

การศึกษาตามอัธยาศัย – การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน – การจัดมุมหนังสือในหมู่บ้าน – การจัดหนังสือสู่ประตูบ้าน

20,000

20,000

20,000

5

การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน – กิจกรรมเรียนปรับพื้นฐาน – กิจกรรมพัฒนาวิชาการ – กิจกรรมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(ICT) – กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย – จัดหาสื่อ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้

199,760

199,760

199,760

6

การพัฒนาบุคลากร – ครู กศน. – อาสาสมัคร กศน. – อาสาสมัคส่งเสริมการอ่าน – ภาคีเครือข่าย

36,675

36,675

36,675

     
     

7

การจัดทำทำเนียบแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

2,000

2,000

2,000

8

การจัดทำทำเนียบภาคีเครือข่าย

2,000

2,000

2,000

9

พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือก ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

3,000

3,000

3,000

10

พัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง – การศึกษาอาชีพ – การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต – การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน

3,000

3,000

3,000

11

พัฒนาคู่มือครูใน จัดการศึกษารายวิชา ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

5,000

5,000

5,000

  รวม

417,535

422,635

428,285

หมายเหตุ งบประมาณในการปรับพื้นฐานวิชา(ข้อ 5) การขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะจบของแต่ละภาคเรียน

———————————————————————————————

Advertisement

2 Replies to “แผนพัฒนา กศน.ตำบล ตอนที่ 2”

  1. เรียนท่าน ศน. ที่เคารพอย่างสูง
    โอโห้….ไม่ผิดหวังเลยที่ติดตามงานของท่านตลอดมา เรื่องแผน พัฒนา กศน.ตำบลมีตัวอย่างให้เห็นเต็มตาเลย โดนใจ ครู กศน.ตำบลมากค่ะ
    ขอบคุณท่านมากๆค่ะ
    จิรวรรณ กศน.ทรายทองวัฒนา

    1. เรียน ผอ.จิรวรรณ ที่รัก
      แผน พัฒนา กศน. ตำบลขะเนจื้อ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของ กศน.จังหวัดตาก ต้องยกความดีให้กับ ผอ. ธนิต แท่งทองคำ และชาว กศน.ตากทุกคนที่พยามจัดทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำฐานข้อมูล และพัฒนาแผน กศน. ตำบล ซึ่งใช้เวลา ประมาณ 4 เดือน แผนพัฒนา กศน.ตำบล ทั้ง 97 แห่งจึงสำเร็จ ตามนโยบายของ สำนักงาน กศน. ค่ะ
      อาจารย์ขิง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: