วันงดสูบบุหรีโลก

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก

non-smokingองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก และขอความร่วมมือประเทศต่างๆ ทั่วโลก ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประชากรโลกเสียชีวิตปีละกว่า 5 ล้านคน รวมทั้งขอให้ผู้สูบบุหรี่ทั่วโลก ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 1,300 ล้านคน ให้หยุดสูบบุหรี่ในวันนี้ โดยกำหนดคำขวัญรณรงค์ ว่า “ บุหรี่มีพิษ ร่วมคิดเตือนภัย ” (Tobacco Health Warnings) เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้ พร้อมเตือนภัยเกี่ยวกับพิษภัย รวมถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่ สร้างค่านิยมใหม่แก่เด็กและเยาวชน ไม่ให้สูบบุหรี่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของบริษัทบุหรี่ ทดแทนลูกค้าเก่าที่เริ่มเจ็บป่วยจนต้องเลิกสูบและทยอยเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากบุหรี่ที่มีกว่า 25 โรค เนื่องจากบุหรี่มีสารประกอบ ต่างๆประมาณ 4,000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด20080530122233

 ในส่วนของประเทศไทย มีคนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่ทั้งสูบเองและบุหรี่มือสอง ปีละกว่า 40,000 คน โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด จะมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละเกือบ 20,000 คน บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 ของการเสียชีวิตของคนไทยรองจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย

 ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 ในกลุ่มคนไทยอายุ 15 ขึ้นไปซึ่งมีจำนวน 51 ล้านกว่าคน พบว่า สูบบุหรี่ 10.8 ล้านคน หรือร้อยละ 21 ของประชากร โดยสูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 9.4 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2535 ที่มีผู้สูบประจำเกือบ 12 ล้านคน มีผู้สูบนานๆครั้ง 1.3 ล้านคน ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง 22 เท่าตัว สูบเฉลี่ยวันละ 10.3 มวน ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาล ผู้สูบ 1 ใน 5 กลุ่มอยู่วัยทำงานอายุ 25-59 ปี รองลงมือผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สูบร้อยละ 17 ส่วนกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปีสูบร้อยละ 12 โดยอายุเริ่มสูบเฉลี่ย 18 ปี สาเหตุการเริ่มสูบบุหรี่ของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ พบว่าเกินครึ่ง ร้อยละ 55 สูบเพราะอยากลอง รองลงมาคือสูบตามเพื่อน

  ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้สนับสนุนแนวคิดการนำภาษียาสูบและสุรามาตั้งเป็นกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเป็นผู้วางแผน ประสานงานและนำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการรณรงค์ถึงพิษภัยของบุหรี่ผ่านสื่อมวลชนโดยเฉพาะทางทีวี รวมทั้งสนับสนุนการผลักดันการพิมพ์ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ และรูปแบบการนำภาษียาสูบและสุรามาสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้นแบบของรัฐบาลประเทศต่างๆที่นำไปพิจารณาผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศของตัวเอง

 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลควบคุมการบริโภคยาสูบและกำกับดูแลการใช้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ใน ปี พ.ศ. 2517 ได้ออกประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ให้พิมพ์ข้อความคำเตือนบนซองบุหรี่ครั้งแรก โดยใช้คำว่า “ การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ” และได้มีการพัฒนาข้อความเรื่อยมา โดยในปี พ.ศ. 2540 เพิ่มขนาดคำเตือน เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ซองทั้งสองด้าน ให้บังคับใช้ทั้งบุหรี่ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2547 มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 8 ให้พิมพ์ภาพคำเตือนสี่สีจำนวน 6 ภาพครั้งแรก และมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2549 ให้จัดทำคำเตือนเป็นอักษร พิมพ์ที่ข้างซองบุหรี่ เกี่ยวกับสารพิษและสารก่อมะเร็ง และพิมพ์ภาพเตือนภัยสี่สี 9 ภาพ ที่ซองบุหรี่ โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ 4 ของโลกที่ได้จัดทำภาพพร้อมคำเตือนบนซองผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยสามประเทศแรกได้แก่ แคนนาดา บราซิล และสิงคโปร์

 สำหรับ ดร. นายแพทย์สุภกร บัวสาย ในฐานะผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้สร้างผลงานรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชน ลด ละ เลิกบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ศึกษาอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้านักศึกษาไทยในการเคลื่อนไหวรวบรวมรายชื่อผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา ที่ใช้มาตรา 301 เพื่อเจรจาให้ไทยเปิดตลาดบุหรี่โดยส่งหนังสือคัดค้านถึง ประธานาธิบดี จอร์จ บุช เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นแกนนำจัดทำข้อเสนอจัดตั้งสถาบันเอกชนเพื่อสาธารณสุขและกองทุนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ผลักดันพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ…. ผ่านคณะรัฐมนตรี

 นายมานิตยังกล่าวต่ออีกว่า ขอเชิญชวนผู้ที่สูบบุหรี่ให้ถือฤกษ์ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม เป็นต้นไป เลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร เมื่อเลิกสูบบุหรี่ได้ ร่างกายและปอด จะปลอดสารพิษจากควันบุหรี่ จะรู้สึกโล่งหายใจได้สะดวกขึ้น ภายใน 2 สัปดาห์เสมหะจะลดลง ลดความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ลดความเสียงจากโรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ ลดความเสี่ยงจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง และถ้าเลิกสูบบุหรี่ขณะที่ยังไม่มีการทำลายปอดอย่างถาวร สมรรถภาพของปอดก็จะสามารถฟื้นตัวได้ ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป หากเลิกสูบก่อนอายุ 50 ปี จะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่คงสูบต่อไป เมื่อทั้งสองมีอายุ 65 ปี

ข้อมูลอ้าอิง: http://www.komchadluek.net/detail/20090531/15099/

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

(Update 3 มิถุนายน 2552)
พบคนไทยรายที่ 5 แล้ว ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ วัยเพียง 18 ปี เพิ่งกลับจากสหรัฐอเมริกา ไอมีน้ำมูกและเป็นไข้ ตรวจสารคัดหลั่งพบติดเชื้อ ต้องกักตัวรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว ขณะที่ผู้ใกล้ชิดอีก 6 คน สธ.ต้องส่งแพทย์เฝ้าระวังที่บ้าน แต่ยังไม่พบอาการผิดปกติ ประสานศธ.เฝ้าระวังนักเรียนไทยที่จะกลับจากสหรัฐในช่วงปิดเทอม หากพบผิดปกติให้มาพบแพทย์โดยด่วน ขณะที่องค์การอนามัยโลกรายงานล่าสุด พบคนติดเชื้อ 62 ประเทศ 17,410 ราย เสียชีวิตแล้ว 115 ราย ใน 4 ประเทศ

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประกาศขึ้นทะเบียนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ H 1 N 1 ในประเทศไทย เพิ่มขึ้นอีก 1 ราย ถึงขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่รวม 5 ราย โดยทั้งหมดเป็นการติดเชื้อจากนอกประเทศ

สำหรับผู้ป่วยรายที่ 5 เป็นหญิงอายุ 18 ปี เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 พ.ค. เริ่มป่วยด้วยอาการมีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ต่อมาเช้าวันที่ 28 พ.ค.เริ่มมีไข้ จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งหนึ่ง และส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งไปตรวจทางไวรัสวิทยา พบว่าเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ขณะนี้แพทย์ให้ยาโอเซลทามิเวียร์แล้ว โดยผู้ป่วยยังรักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่อาการดีขึ้น ไข้เริ่มลดลง และยังมีผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอีก 6 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมสอบสวนโรคเฝ้าติดตามอาการใกล้ชิดที่บ้าน เป็นเวลา 7 วัน แต่ยังไม่พบว่าใครมีอาการผิดปกติ

“มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคของไทยในขณะนี้ถือว่าเข้มกว่าหลายประเทศ และดูแลควบคุมได้อย่างดีเยี่ยม ขณะที่ประชาชนมีความรู้ดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดี ประกอบกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไม่รุนแรง ซึ่งไม่ต่างไข้หวัดธรรมดา โดยในวันที่ 4 มิ.ย. เวลา 14.00 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 โดยจะหารือว่าจะมีการปรับมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคหรือไม่ รวมถึงความคืบหน้าในการผลิตวัคซีน การจัดซื้อเครื่องเทอร์โมสแกน เป็นต้น” น.พ.ปราชญ์กล่าว

น.พ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่รายนี้ มีประวัติการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาโดยอาศัยอยู่ 1 เดือน ในหลายมลรัฐและเดินทางออกจากซีแอตเติ้ล จากนั้นต่อเครื่องบินที่สนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เดินทางมาสายการบินเดียวกับผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่รายที่ 3 และรายที่ 4 ที่กลับมาจากสหรัฐแต่อย่างใด ส่วนผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยทั้งหมดอาการปกติดี ไม่มีใครน่าเป็นห่วง

ทั้งนี้ได้ประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ให้เฝ้าระวังกลุ่มนักเรียนที่เดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐ ซึ่งจะกลับมายังประเทศไทยในช่วงปิดเทอมจำนวนมาก โดยนักเรียนกลุ่มนี้ใช้เวลาอยู่ในต่างประเทศนาน จึงมีโอกาสสัมผัสได้รับเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สูง หากมีนักเรียนที่เดินทางกลับมาประเทศไทยแล้ว ขาดเรียน เจ็บป่วยหรือเป็นไข้หวัด 3 คนขึ้นไป มีอาการผิดสังเกตขอให้มาพบแพทย์

ส่วนสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่า วันเดียวกัน มีผู้ป่วยยืนยันป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ใน 62 ประเทศ จำนวน 17,410 ราย เสียชีวิต 115 ราย ใน 4 ประเทศ คือ เม็กซิโก 97 ราย สหรัฐอเมริกา 15 ราย แคนาดา 2 ราย และคอสตาริกา 1 ราย สำหรับประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยัน 5 ราย และมีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ 13 ราย ยังไม่พบการระบาด

 

ข้อมูลอ้างอิง http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?
newsid=TUROd01ERXdPREF6TURZMU1nPT0=&sectionid=
TURNd01RPT0=&day=TWpBd09TMHdOaTB3TXc9PQ
==

—————————————————-

Update (31 พฤษภาคม 2552) 

วันนี้ (31 พ.ค.) นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข แถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศขึ้นทะเบียนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เพิ่มอีก 1 ราย เป็นชายอายุประมาณ 50 ปี เริ่มป่วยภายหลังเดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยรายนี้เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อเที่ยงคืนวันที่ 25 พ.ค. และเริ่มป่วยเช้าวันที่ 26 พ.ค. 52 มีอาการเล็กน้อย โดยมีไข้ต่ำๆ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อย ได้ไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกทม.ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 และแพทย์ได้เก็บตัวอย่างเสมหะส่งตรวจที่ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และที่ โรงพยาบาลศิริราช ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่ง พบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขณะนี้ผู้ป่วยอาการเป็นปกติแล้ว
รมว.สธ. กล่าวว่า  ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ติดตามเฝ้าระวังและให้การดูแลที่บ้าน รวมทั้งบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว อีก 5 คน ทุกคนได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ กินติดต่อกัน 5 วัน ตามระบบการเฝ้าระวังโรค
“ การพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ เป็นผลมาจากการได้รับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และโรงพยาบาลเอกชน ทำให้ระบบการเฝ้าระวังของไทยมีความเข้มแข็ง และเกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เราสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในประเทศได้ทันท่วงที ประการสำคัญผู้ป่วยที่มารับการรักษาเร็ว จะได้รับความปลอดภัยและได้รับการดูแลทั้งครอบครัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด จึงขอให้ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความร่วมมือเช่นนี้ตลอดไป” นายวิทยา กล่าว
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้มาตรการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขั้นสูงสุดต่อเนื่อง และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หากมีอาการไข้ เจ็บคอ ไม่สบาย ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางกลับจากต่างประเทศให้แพทย์ทราบ เพื่อให้เข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังควบคุมโรค
สำหรับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 15,510 รายใน 53 ประเทศ เสียชีวิต 99 ราย สำหรับไทยมีผู้ป่วยยืนยัน 4 ราย และวันนี้มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ 6 ราย
 ข้อมูลอ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/special/9275

 

—————————-

Update (30 พฤษภาคม 2552) 

วันที่ 30 พ.ค. นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 เพิ่มอีก 1 ราย ทำให้ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มเป็น 3 ราย โดยผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นหญิงอายุ 50 ปี เดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 26 พ.ค. และเข้ารับการรักษาตัวเมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม. ผลการตรวจเบื้องต้นเป็นบวก แพทย์จึงให้ยาต้านไวรัสและส่งเชื้อตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวันเดียวกัน จากนั้นส่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วันที่ 29 พ.ค. โดยห้องปฏิบัติการทั้งสามแห่งให้ผลตรงกัน จึงยืนยันว่าผู้ป่วยดังกล่าวเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่เป็นรายที่ 3
 นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า สำหรับหญิงคนดังกล่าวและญาติได้เดินทางไปเที่ยวที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยได้ลงเรือไปรัฐอลาสก้าและค้างคืนบนเรือเป็นเวลา 7 คืน หลังจากขึ้นเรือผู้ป่วยเริ่มป่วย มีไข้ต่ำ มีอาการเจ็บคอไอ มีน้ำมูก ในวันเดินทางกลับได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง โดยมีผู้ร่วมเดินทางทั้งหมดอีก 8 ราย เดินทางถึงประเทศไทยแล้ว 7 ราย มีอาการทางเดินหายใจ 2 คน ได้ส่งเชื้อตรวจแล้ว เบื้องต้นยังไม่พบว่ามีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
 “แพทย์ได้ให้ยาโอเซลทามิเวียร์แก่ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดแล้ว โดยผู้ป่วยมีอาการน้อยมาก แพทย์อนุญาตให้กลับไปดูแลที่บ้านได้เนื่องจากผู้ป่วยมีความรู้และความพร้อมในการดูแลตัวเองอย่างมาก เพราะเมื่อทราบว่าเริ่มมีไข้หลังเดินทางกลับมาจากสหรัฐก็เข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาเดียวกับทั่วโลกที่ไม่จำเป็นต้องกักตัวผู้ป่วยไว้ที่โรงพยาบาลหากไม่ได้มีอาการรุนแรง”

 ขณะที่นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการประเมินทิศทางการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ในระดับโลก ว่า ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงเร็วมาก การะบาดขยายวงกว้างในทวีปต่างๆ ส่วนประเทศไทยก็กำลังก้าวสู่ฤดูกาลการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปี จึงควรสนใจป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไปพร้อมกันด้วย ในส่วนของไทยยังไม่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศ ผู้ป่วยที่ยืนยันติดเชื้อ 2 ราย เป็นการติดเชื้อมาจากต่างประเทศที่มีโรคนี้ระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม ต้องปรับยุทธศาสตร์ให้ทันกับสถานการณ์อยู่เสมอ

นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยจะต้องป้องกันโรคโดย 3 ยุทธศาสตร์พร้อมกัน ได้แก่ ยุทธศาสตร์การตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังผู้เดินทาง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในประเทศ ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังโรคภายในประเทศอย่างเข้มข้น เพื่อการค้นหาได้รวดเร็ว และรักษาผู้ป่วย เพื่อควบคุมการแพร่เชื้อในประเทศให้อยู่ในวงจำกัดหากเกิดมีผู้ป่วยขึ้น และยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมทั่วไปทั้งประเทศ สำหรับกรณีที่การะบาดขยายตัว เพื่อบรรเทาความรุนแรง ลดผลกระทบของการระบาด โดยเพิ่มศักยภาพของการรักษาผู้ป่วย รวมถึงการแนะนำให้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงที่บ้าน การเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนป้องกันตนเองได้ดี รวมถึงการร่วมมือทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะได้นำเสนอกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว ต่อคณะกรรมการอำนวยการระดับชาติต่อไป
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ข้อมูลอิงอ้าง : http://www.matichon.co.th/khaosod/view_newsonline.php?newsid=TVRJME16WTNNemMwTXc9PQ==

——————————————-

 Update (28 พฤษภาคม 2552)  

 

สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เอ เอช 1 เอ็น 1 ประจำวันที่ 27 พ.ค.2552 พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ในประเทศไทยจำนวน 2 รายเท่าเดิม
กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เอ เอช 1 เอ็น 1 ประจำวันที่ 27 พ.ค.2552 ว่า พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ในประเทศไทยจำนวน 2 รายเท่าเดิม ซึ่งมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ยังไม่มีการแพร่ระบาดในประเทศ
ขณะที่มีรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น 1 จำนวน 19 ราย ส่วนสถานการณ์ทั่วโลกตามรายงานขององค์การอนามัยโลก จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ตามเวลาในประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยันผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ใน 46 ประเทศ จำนวน 12,954 ราย เสียชีวิต 92 ราย ใน 4 ประเทศ ดังนี้ เม็กซิโก 80 ราย สหรัฐอเมริกา 10 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริกา 1 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.71 จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ส่วนการควบคุมเฝ้าระวังโรค ที่ด่านควบคุมโรคประจำท่าอากาศยานนานาชาติ ในวันที่ 26 พ.ค. 2552 ได้ตรวจวัดอุณหภูมิ ผู้เดินทางเข้าประเทศไทยจากเครื่อง Infrared Thermo Scanner ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ จำนวน 27,505 คน พบผู้โดยสารที่มีไข้ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจโดยละเอียดที่โรงพยาบาล 1 ราย ยอดการตรวจสะสมตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน – 26 พฤษภาคม 2552 รวมทั้งหมด 966,503 คน
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/special/8800

—————————————————

 Update (26 พฤษภาคม 2552)  

8578ที่กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และนายกสมาคมไวรัสวิทยา พล.ต.ต.ณรงค์ศักดิ์ เสาวคนธ์ ผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ และดร.วัฒนา อู่วาณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภูมิคุ้มกันวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันแถลงข่าว ผลตรวจสอบชิ้นเนื้อจากปอดของนักท่องเที่ยวหญิงชาวเยอรมนี วัย 65 ปี ที่ป่วยด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในอำเภอหัวหิน และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลมหาชัย จ.สมุทรสาคร ระหว่างนำส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2552
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต ได้มีการนำไปศพชันสูตรที่ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. พบว่าปอดมีลักษณะผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการอักเสบอย่างรุนแรง ได้ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเพาะเชื้อและทดสอบทางชีวเคมี หาเชื้อที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการปอดอักเสบรุนแรงและเสียชีวิต ผลการตรวจปรากฏว่าไม่ได้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 แต่อย่างใด แต่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ สูโดโมแนส แอรูจิโนซ่า (Pseudomonas aeruginosa) ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้ เชื้อนี้พบได้ทั่วโลก มียาปฏิชีวนะรักษา แต่หากผู้ป่วยมีร่างกายอ่อนแอหรือภูมิต้านทานต่ำ ก็จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นและเสียชีวิตได้รวดเร็ว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในการตรวจยืนยันผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ทุกราย กระทรวงสาธารณสุขได้มีความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานแบบคู่ขนานกัน เพื่อความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นในระบบรายงานผลการตรวจ ประกอบการวินิจฉัยของคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานมาตั้งแต่มีการระบาดของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก จึงขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจ
 
 
  

ข้อมูลอ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/special/8578

————————————————-

 Update (25 พฤษภาคม 2552) 

 องค์การอนามัยโลก รายงานผู้ป่วยทั้งหมด 12,021 ราย ใน 43 ประเทศ เสียชีวิต 86 รายเท่าเดิม ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยรายแรกคือ รัสเซีย

 
 เมื่อวันที่ 24 พ.ค นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ของกระทรวงสาธารณสุข ว่า ช่วงเวลาประมาณ 1 เดือนมานี้ มาตรการเฝ้าระวังที่ดำเนินการทั่วประเทศพบว่าได้ผลดีมาก ไทยยังไม่มีปัญหาโรคแพร่ระบาดในประเทศ คงมีผู้ป่วยยืนยันเพียง 2 ราย ซึ่งเป็นการติดเชื้อมาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขจะยังไม่ลดมาตรการเฝ้าระวังทุกพื้นที่ ยังคงให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ23 พฤษภาคม 2552 รวมทั้งหมด 846,351 รายนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ทราบข้อมูลจากกลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศว่า บางคนมีการกินยาลดไข้ก่อนลงเครื่อง เพื่อไม่ให้มีไข้เมื่อต้องผ่านเครื่องวัดไข้อัตโนมัติ เนื่องจากกลัวถูกกักตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากป่วยจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ จริง จะได้รับการดูแลากแพทย์ช้าเกินไป เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต และยังสามารถแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้อีกจำนวนมาก แต่หากได้รับการรักษาทันเวลาก็จะหายขาด 
ด้านนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ สนามบินสุวรรณภูมิ จัดระบบการเก็บประวัติด้านสุขภาพของผู้โดยสารขาเข้าจากต่างประเทศทุกราย ตามแบบ ต.8 โดยประสานการทำงานกับเจ้าหน้าที่ของด่านตรวจคนเข้าเมืองอย่างใกล้ชิด หากมีปัญหาจะสามารถติดตามตรวจสอบได้ทันที และยังคงการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องวัดไข้อัตโนมัติทุกเที่ยวบินขาเข้าจากต่างประเทศ ตลอดวานนี้ตรวจผู้โดยสารทั้งหมด 32,867 ราย พบมีไข้ 2 ราย ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังแล้ว โดยยอดสะสมตั้งแต่ 24 เมษายน 
   
 
สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทย มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ 26 ราย ยังไม่มีผู้ป่วยในข่ายสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ต้องขอความร่วมมือประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หากมีอาการเหมือนไข้หวัดภายใน 7 วัน ให้ใส่หน้ากากอนามัยและรีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางให้ทราบด้วย เพื่อนำเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันไม่เชื้อแพร่สู่ผู้อื่น
 
 

ข้อมูลอ้งอิง http://www.thairath.co.th/content/special/8110

———————————————–

Update (23 พฤษภาคม 2552)

 ที่ประเทศอิตาลี ได้สั่ง ปิดโรงเรียน 2 แห่ง หลังพบ 4 นักเรียน กลับจากทัศนศึกษาที่นิวยอร์ก ติดเชื้อหวัด ส่วนที่จีน มีผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 1 ราย เป็นรายที่ 6 ของประเทศ เป็นชายวัย 69 ปี …

สำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ ของรัสเซีย ว่า นายเกนนาดี โอนิสช์เชนโก หัวหน้าสาธารณสุข ระบุว่า รัสเซียพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รายแรกของประเทศแล้ว เมื่อวันศุกร์ ที่ 22 พ.ค.​ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งผู้ป่วยเพิ่งเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา โดยผลตรวจออกมาเป็นบวก และได้นำชายคนดังกล่าวเข้ารักษาตัวที่คลินิกโรคติดต่อในมอสโก

ด้านโฆษกกระทรวงสาธารณสุขของรัสเซีย กล่าวว่า ยืนยันว่านี่คือผู้ติดเชื้อเอช  1 เอ็น1 รายแรกที่พบในดินแดนของรัสเซีย และได้มีการกักตัวคนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อรายนี้เพื่อสังเกตอาการแล้ว

รมช.สาธารณสุข อิตาลี มีคำสั่งให้ปิดการเรียนการสอน ที่โรงเรียน 2 แห่ง ในกรุงโรม เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนักเรียน 4 คน ที่กลับจากทัศนศึกษาในนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโรค โดยขณะนี้ที่อิตาลี พบผู้ติดเชื้อแล้ว 14 คน ซึ่งกลายเป็นสถานศึกษา 2 แห่งแรก ที่ถูกสั่งปิดเพราะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขปักกิ่งได้รายงานพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ บนแผ่นดินจีนเพิ่มขึ้นอีก 1 ราย ถือเป็นรายที่ 6 ของประเทศ เป็นชายวัย 69 ปี  หลังจากกลับถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง ด้วยเที่ยวบิน เอ 4031 จากโตรอนโต ประเทศแคนาดา

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.thairath.co.th/content/special/7897

———————————————–

Update (22 พฤษภาคม 2552)

 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เม็กซิโกได้ลดระดับการเตือนภัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นระดับสีเขียวซึ่งเป็นระดับต่ำสุด เพื่อส่งสัญญาณว่าโรงเรียน สถานประกอบธุรกิจและการขนส่งสามารถให้บริการตามปกติได้แล้ว หลังจากเชื่อมั่นว่า สามารถควบคุมโรคได้โดยสิ้นเชิง 

 ส่วนที่ฟิลิปปินส์ยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายแรกภายในประเทศ เป็นเด็กหญิงวัย 10 ปี ที่เพิ่งเดินทางกลับจากสหรัฐและแคนาดาเมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยผู้ป่วยมีไข้สูง ไอ และเจ็บคอ ซึ่งผลการตรวจยืนยันว่าเธอติดเชื้อไวรัส เอช1เอ็น1 เมื่อวันที่ 20 พ.ค. โดยแพทย์ให้ยาต้านไวรัสทามิฟูล แก่คนไข้แล้วและอาการดีขึ้นต่อเนื่อง

 ส่วนที่ไต้หวันโฆษกศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยืนยันว่าพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นรายที่สอง เป็นนักศึกษาหญิงวัย 22 ปี ที่เดินทางมาจากนครนิวยอร์กผ่านฮ่องกงมายังกรุงไทเป หลังจากไต้หวันพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 20 พ.ค.

 ขณะที่ รัฐมนตรีสาธารณสุข ของมาเลเซีย ระบุว่า นักศึกษาชาวมาเลเซียที่ไปศึกษายังต่างประเทศควรชะลอการเดินทางกลับช่วงปิดภาคฤดูร้อนออกไปก่อนหากรู้สึกตัวว่า มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางกลับ ทางการมาเลเซียก็เตรียมมาตรการป้องกันเอาไว้แล้ว

 ด้านองค์การอนามัยโลกระบุว่า พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเกือบ 800 คน และเสียชีวิตเพิ่มอีก 5 คนทั่วโลกจนถึงเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรวม 11,034 คน และเสียชีวิตรวม 85 คน ใน 41 ประเทศ 

สำหรับผู้ป่วยต่างชาติอยู่ในข่ายเฝ้าระวังหวัดสายพันธุ์ใหม่ 3 ราย ประกอบด้วย ชาวสวีเดน 2 ราย และมาจากฮ่องกง 1 ราย โดยชาวสวีเดนอาศัยอยู่ในเมืองไทย ไปอินโดฯ 14 วัน และไปที่มาเลย์ก่อนเข้าไทย

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าววันนี้ (22 พ.ค.) ภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเช้าว่า วันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายการเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 22 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องดีต่อระบบการเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แสดงว่าประชาชนรู้ข้อมูลและให้ความร่วมมือปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น โดยหลังจากกลับจากต่างประเทศที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เมื่อมีไข้ก็เดินทางมาพบแพทย์ทันที การที่มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจำนวนมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยมีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดในพื้นที่แต่อย่างใด

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ป่วยต่างชาติอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 3 ราย ประกอบด้วย ชาวสวีเดน 2 ราย และมาจากฮ่องกง 1 ราย โดยชาวสวีเดนอาศัยอยู่ในเมืองไทย เดินทางไปที่อินโดนีเซีย 14 วัน และไปที่มาเลเซียด้วยก่อนเข้าประเทศไทย เมื่อวิเคราะห์ประวัติและเส้นทางเดินทางของชาวสวีเดนรายนี้ไม่น่าห่วง อย่างไรก็ตาม กำลังตรวจสอบตัวอย่างที่ส่งมาจากโรงพยาบาลสมุทรปราการ ว่าติดเชื้อใช่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ส่วนรายฮ่องกงนั้นจัดเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระบบตามปกติ ไม่น่ากังวลแต่อย่างใด

ส่วนความคืบหน้าการตรวจผลชิ้นเนื้อปอดของหญิงชาวเยอรมันที่เสียชีวิตเมื่อ 18 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ประสานเป็นการภายในกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และนายแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างใกล้ชิด และจะหารือกันเร็วๆ นี้ หากผลการตรวจทราบผลชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ต้องขอเวลาสักระยะ เนื่องจากในเบื้องต้นพบว่า ผู้เสียชีวิตรายนี้มีประวัติค่อนข้างสลับซับซ้อน ทั้งในเรื่องน่าจะมีภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เชื้อที่เกิดขึ้นอาจเป็นเชื้อที่ไม่ปกติ และยังมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจด้วย ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างการพิสูจน์

ข้อมูลอ้าอิง

http://www.thairath.co.th/content/special/7798

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1242954684&grpid=03&catid=06

————————-

Update (19 พฤษภาคม 2552)

7086สำนักข่าวต่างประเทศรายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไข้หวัดใหญ่ เอ/เอช1เอ็น1ว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (ซีดีซี) และรัฐบาลประเทศต่างๆ ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 80 รายใน 4 ประเทศ โดยอยู่ในเม็กซิโกมากที่สุด 72 ราย ในสหรัฐฯ 6 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริกา 1 ราย ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นอีก 1,001 รายภายใน 24 ชม. รวมเป็น 9,830 รายใน 41 ประเทศ โดยสหรัฐฯ พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 5,123 รายใน 48 รัฐจากทั้งหมด 50 รัฐรวมทั้งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ขณะท่ีกรีซพบผู้ป่วยเป็นประเทศล่าสุด

ประเทศที่สถานการณ์แพร่ระบาดรวดเร็วน่าเป็นห่วงที่สุดคือญี่ปุ่น ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นเป็น 173 รายภายในเวลาเพียง 4 วัน ซึ่งมากเป็นอันดับ 4 รองจากสหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดา ผู้ติดเชื้อทั้งหมดอยู่ในจังหวัดโอซากาและเมืองโกเบในจังหวัดเฮียวโกะ ทางการต้องสั่งปิดโรงเรียนมัธยม ประถม อนุบาล มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ใน 2 จังหวัดนี้อย่างน้อย 4,043 แห่งจนถึงสุดสัปดาห์ ส่วนจังหวัดเกียวโตที่อยู่ใกล้เคียงก็ปิดโรงเรียน 8 แห่งโดยสมัครใจ เหล่าผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า ไข้หวัดใหญ่ 2009 อาจแพร่ระบาดไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งกรุงโตเกียวเมืองหลวงซึ่งเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดใน โลกเกือบ 36 ล้านคนและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผู้ติดเชื้อจริงๆ ในญี่ปุ่นอาจมีหลายร้อยคน

นายยูคิฮิโร นิชิยามะ นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนาโงยาชี้ว่า การระบาดในกรุงโตเกียวเป็นเรื่องเกือบแน่นอน และไม่น่าประหลาดใจถ้ามันระบาดเข้าไปถึงแล้วโดยที่เจ้าหน้าที่ยังตรวจไม่พบ ถึงแม้ไม่มีความจำเป็นต้องตื่นตระหนกเกินเหตุ แต่เจ้าหน้าที่และประชาชนในกรุงโตเกียวต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ดี รัฐบาลญี่ปุ่นขอร้องให้ผู้เดินทางไปสถานที่สาธารณะ ตั้งแต่ห้องแสดงผลงานศิลปะของรัฐสภาไปจนถึงสนามแข่งกีฬาซูโมแห่งชาติในกรุง โตเกียวล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและสวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าไป อีกทั้งสั่งงดงานเทศกาลต่างๆ ในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาลดความเข้มงวดการตรวจเช็คและกักตัวผู้ต้องสงสัยติดเชื้อตามสนามบินลง หันมาเน้นยับยั้งการระบาดภายในประเทศแทน ที่จีนแผ่นดินใหญ่ ทางการแถลงยืนยันว่าพบผู้ติดเชื้อเป็นรายที่ 4 เป็นชายวัย 59 ปีท่ีเดินทางด้วยรถไฟจากฮ่องกงจะกลับมณฑลกวางตุ้ง หลังเดินทางมาจากแคนาดาและสหรัฐฯ ผ่านเกาหลีใต้ นอกจากนี้ จีนยังพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้ออีก 1 ราย เป็นสตรีชาวอิตาเลียนวัย 42 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยว 24 คนท่ีเดินทางไปเยือนทิเบต ถ้าผลการตรวจยืนยันจะเป็นผู้ติดเชื้อรายที่ 5 ขณะท่ีทางการของฮ่องกงซึ่งพบผู้ติดเชื้อแล้ว 3 รายประกาศเตือนภัยรอบใหม่หลังรู้ว่าผู้ติดเชื้อรายที่ 4 ในจีนเคยพักอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งในย่านมงก๊ก แหล่งช็อปปิ้งชื่อดังของฮ่องกงถึง 2 คืน

124

ในประเทศไทย สำหรับกรณีนางแบร์แบล วิลเฮลไมเน่ นักท่องเที่ยวหญิงชาวเยอรมัน อายุ 65 ปี ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ และเสียชีวิตเมื่อคืนวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า ได้รับรายงานว่า นักท่องเที่ยวหญิงรายดังกล่าว เดินทางมาจากประเทศเยอรมัน พร้อมกับสามี และลูก มาถึงไทยเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา และได้เดินทางไปเที่ยวที่หัวหิน จ.เพชรบุรี และเริ่มมีอาการป่วย เมื่อวันที่ 16 พ.ค. แต่มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเซ็นต์เปาโล หัวหิน เมื่อวันที่ 18 พ.ค.  โดยมีอาการเจ็บคอ รับประทานอาหารได้น้อยลง แต่ไม่มีอาการไข้ ไอ   แพทย์ตรวจพบมีการติดเชื้อที่ปอด เริ่มมีอาการเขียวที่ปลายมือปลายเท้า จึงใส่เครื่องช่วยหายใจ และส่งมารักษาต่อที่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กทม. ระหว่างเดินทาง ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำลงเรื่อยๆ และหยุดหายใจ  จึงต้องส่งตัวเข้ารักษาด่วนที่ โรงพยาบาลมหาชัย สมุทรสาคร  และผู้ป่วยเสียชีวิตลงในเวลา 21.00 น. วันที่ 18 พ.ค. เบื้องต้นได้ส่งตัวอย่างเชื้อส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สมุทรสงครามแล้ว

ข้อมูลอ้าอิง

 http://www.thairath.co.th/content/oversea/7086

 http://www.matichon.co.th/khaosod/view_newsonline.php?newsid=TVRJME1qY3hPRGMzTlE9PQ==

————————————————-

Update (16 พฤษภาคม 2552)

12423927831242401289lผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค.52 ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ ห้องปฏิบัติการทรานสเจนิก เทคโนโลยีในพืชและไบโอเซ็นเตอร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตามที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 นั้น ทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนาน้ำยาสำเร็จรูปตรวจไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. จนเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งน้ำยาสำเร็จรูปนี้จะสามารถตรวจยืนยันว่า เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ผลเร็วไม่เกิน 1 ชั่วโมง ที่สำคัญมีราคาถูก คือ ค่าน้ำยาสำเร็จรูปต่อการตรวจ 1 ตัวอย่าง ราคาเพียง 150 บาท บวกกับค่าสกัดอาร์เอ็นเอของไวรัส 200 บาท รวมค่าใช้จ่ายในการตรวจยืนยันผู้ป่วย 1 ราย ตกประมาณ 350 บาทเท่านั้น

ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการพัฒนาน้ำยาตรวจสำเร็จรูปนั้น เริ่มจากที่มีข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทางนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้อาศัยฐานข้อมูลจากต่างประเทศ โดยไม่ได้รอตัวอย่างเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย ทำการสังเคราะห์ดีเอ็นเอไวรัสทางเคมีขึ้นมาเอง โดยมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนมั่นใจว่า ได้น้ำยาที่มีความไว และมีความแม่นยำสูง

“การใช้นำยาสำเร็จรูปตรวจยืนยันนั้น จะเริ่มจากนำตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วย เช่น มีการสวอปจมูก ก็นำตัวอย่างมาสกัดอาร์เอ็นเอของไวรัส จากนั้นนำไปใส่ในหลอดน้ำยาสำเร็จรูป นำไปบ่มด้วยการแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียส หรือใช้เครื่องบ่มที่ควบคุมอุณหภูมิก็ได้ เพื่อเพิ่มปริมาณ นำปฏิกิริยาที่ได้ส่วนหนึ่งไปผสมกับตัวจับจำเพาะกับดีเอ็นเอ หรือ DNA Binders ในอีกหลอดทดลอง จากนั้นอ่านผล ถ้าเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะปรากฏเรืองแสงเป็นสีเขียวหรือฟ้า ตามสีของ DNA Binders ที่ใช้ โดยขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง”

จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตในแต่ละประเทศ

16-may

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (เอช 1 เอ็น 1) ยังคงน่าเป็นห่วง โดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (ฮู) เตือนล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ว่า เป็นไปได้สูงมาก ที่เชื้อไข้หวัดใหญ่ระบาดมากขึ้น ซึ่งเห็น ได้จากการที่ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยล่าสุดที่สหรัฐ อเมริกามีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 2 คน เป็น 5 คน ส่วนยอดผู้ติดเชื้อยังอยู่ที่ 7,520 คน ใน 34 ประเทศ

เอเอฟพีรายงานว่า ทางการญี่ปุ่นยืนยันว่าพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 กับนักเรียนญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายแรกที่ติดเชื้อคนต่อคนในญี่ปุ่น เป็นนักเรียนชายที่เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดโกเบ ทางตะวันตกของประเทศ ขณะนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ในโรงพยาบาล ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อ 3 คน โดยคนหนึ่งเป็นครูและอีก 2 คน เป็นนักเรียนที่เดินทางกลับจากสหรัฐ รอยเตอร์รายงานโดยเจ้าหน้าที่จากสำนัก งานควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐว่า เป็นไปได้ที่ชาวอเมริกันติดเชื้อมากถึง 100,000 คน

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ที่มาเลเซียพบผู้ติดเชื้อคนที่ 2 เป็นนักเรียนหญิงที่โดยสารมาในเครื่องบินลำเดียวกับผู้ติดเชื้อคนแรก ขณะนี้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในรัฐปีนังและอาการปลอดภัย ส่วนที่อียิปต์พบเชื้อในเด็กอายุ 3 ขวบ เป็นคนที่ 71 ที่ประเทศ เอกวาเดอร์พบเชื้อรายแรก เป็นเด็กชายอายุ 11 ขวบ ที่เพิ่งมาจากเมืองไมอามีในสหรัฐ ที่นิวยอร์กมีการสั่งปิดโรงเรียน 3 แห่งเพื่อควบคุมการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ที่กำลังระบาด ก่อนหน้านั้นปิดไปแล้วโรงเรียน 3 แห่ง

นายจอห์น วอล์เกอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษกล่าวว่า เป็นไปได้ที่ผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบินลดลงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ หากเกิดการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ในทวีปอเมริกาเหนือช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ วันเดียวกัน นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขว่า องค์การอนามัยโลกได้รับรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 จาก 34 ประเทศ รวม 7,520 ราย เสียชีวิต 65 ราย คือ เม็กซิโก 60 ราย สหรัฐอเมริกา 3 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริกา 1 ราย ประเทศใหม่ที่มีรายงานผู้ป่วยวันนี้ คือ เบลเยียม 1 ราย ส่วนประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยันเท่าเดิม จำนวน 2 ราย และมีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 12 ราย

ล่าสุดมีอีก 2 ประเทศที่ยืนยันว่าพบผู้ป่วยรายแรกแล้ว คืออินเดีย และตรุกี โดยทางการอินเดียยืนยันพบผู้ป่วยรายแรก ในชายซึ่งไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆ ซึ่งเดินทางจากดูไบ มายังเมืองไฮเดอราบัด ขณะนี้ผู้ป่วยถูกกักบริเวณไว้หลังตรวจพบที่สนามบิน ส่วนที่ตรุกีกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าผู้ป่วยเป็นชาวสหรัฐซึ่งเดินทางมาจากสหรัฐผ่านเมืองอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ โดยตรวจพบเชื้อหลังเดินทางถึงสนามบินที่นครอิสตันบูลโดยมีอาการไข้สูง

นายวิทยากล่าวว่า จากการติดตามการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และศึกษาองค์ความรู้ทางวิชาการของเชื้อนี้อย่างต่อเนื่อง พบว่าโรคนี้มีลักษณะการแพร่ระบาดใกล้เคียงกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ที่พบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งไทย และความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มไม่สูงเหมือนช่วงแรกของการระบาด

“จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อนี้ มีอัตราป่วยตายโดยเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 1 ส่วนอัตรา ป่วยตายในประเทศอื่นๆ ยกเว้นเม็กซิโก จะต่ำกว่านี้ เชื้อนี้เป็นเชื้อใหม่ ประชาชนทุกประเทศในโลกไม่มีภูมิต้านทาน จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้น การให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด”

นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัด สธ. กล่าวว่า หากประชาชนปฏิบัติตัวเหมือนกับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไปอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้เช่นเดียวกัน โดยการดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง รักษาร่างกายให้อบอุ่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลทำความสะอาดมือ เมื่อมีอาการป่วย คาดหน้ากากอนามัย และไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1242474401&grpid=00&catid=06

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=199193&NewsType=1&Template=1

———————————————————-

Update (15 พฤษภาคม 2552)

5945นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยการตรวจเชื้อของผู้ป่วยเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เมื่อค่ำวันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ตรวจอาการเนื่องจากมีไข้สูง เจ็บคอ หลังเดินทางกลับจากประเทศยุโรปซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งผลการตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันเมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 14 พฤษภาคม ว่า เป็นเพียงเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด B ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบผู้เฝ้าระวังติดไข้หวัดใหญ่ 2009 รายที่ 2 ของจังหวัด เป็นชายอายุประมาณ 45-50 ปี เข้าพบแพทย์ตามระบบคัดกรองโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 พร้อมแจ้งว่าเดินทางไปต่างประเทศและกลับถึงเมืองไทยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเที่ยวบินสุดท้ายขึ้นจากประเทศมาเลเซียและโดยสารร่วมกับนักท่องเที่ยวชาวยุโรปจำนวนมาก เมื่อกลับถึงบ้านพักที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มมีอาการไข้สูง กลัวว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งแพทย์ตรวจสอบอาการเบื้องต้นพบว่ามีอาการคล้ายไข้หวัด แต่อุณหภูมิในร่างกายไม่สูงมาก จึงเก็บตัวอย่างเสมหะเพื่อส่งตรวจเชื้อและให้กลับไปเฝ้าระวังที่บ้านพักเป็นเวลา 7 วัน

5992

นายทองพูล แต้สมบัติ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า พบผู้ป่วยเข้าข่ายต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อีก 1 คน เป็นเด็กชายมีอาการไข้ขึ้นสูง และเพิ่งเดินทางกลับมาจากเรียนในโครงการแลกเปลี่ยนที่ประเทศเสี่ยง ขณะนี้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยแยกให้อยู่ในห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก รวมทั้งส่งเสมหะไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 9 พิษณุโลกแล้ว พร้อมกับขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป

องค์การอนามัยโลก รายงานล่าสุดว่า มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 33 ประเทศ รวม 5,728 ราย เสียชีวิต 61 ราย ประเทศที่รายงานผู้ป่วยในวันเดียวกันนี้คือ คิวบา ฟินแลนด์ และไทย ซึ่งไทยถูกจัดอันดับประเทศพบยืนยันติดเชื้ออันดับที่ 33 มี 8 ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่ม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สหราชอาณาจักร จีน โคลอมเบีย กัวเตมาลา ปานามา และมี 7 ประเทศที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในรอบ 7 วัน ได้แก่ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก เกาหลีใต้ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส โปแลนด์ ส่วนไทย คงมีผู้ป่วยยืนยัน 2 รายเท่าเดิม และวันนี้มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวัง 13 ราย เป็นชาวไทยเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีโรคระบาด

ข้อมูลอ้างอิง :

http://www.thairath.co.th/content/special/5992

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1242310891&grpid=01&catid=04

———————————————-

Update (14 พฤษภาคม 2552)

11-05-2009

วันนี้ 14 พ.ค เวลา 08.40 น. นพ.วีระพล ธีระพันธ์เจริญ ผอ.โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาเปิดเผยว่าเมื่อช่วงเวลา20.40น.ของวันที่ 13 พ.ค. แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ช่วยกันนำชายวัย 68 ปี อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา เข้ารักษาตัวในห้องพิเศษของโรงพยาบาล หลังพบว่าชายคนดังกล่าวมีอาการไข้ขึ้นสูงผิดปกติ หลังกลับจากการท่องเที่ยวในประเทศแถบยุโรป จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มีอาการปวดตามตัว ไอ ท้องเสีย และไม่มีแรง เบื้องต้น คาดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่ยังระบุไม่ได้ว่าเป็นสายพันธุ์ชนิดใด จะต้องให้คนไข้คนดังกล่าวพักฟื้นที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาสักระยะ โดยแยกไปยังห้องคัดกรองแยกโรคผู้ป่วยพิเศษ เพื่อตรวจสอบอาการอย่างละเอียด ทั้งนี้จะต้องมีการเจาะเลือดของคนไข้ไปเพาะเชื้อและส่งตรวจพิสูจน์ให้แน่ชัดอีกครั้ง

นพ.สุทธิชัย รุ่งอินทร์ รอง ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา บอกว่า ขณะนี้อาการของคนไข้เริ่มดีขึ้นแล้ว ลุกเหินเดินได้หลังจากทางคณะแพทย์ได้ใช้ยารักษาเฉพาะทางคือยารักษาโรคไข้หวัดใหญ่และยารักษาโรคสายพันธุ์ใหม่และได้เจาะเลือดส่งไปตรวจที่ห้องแล็บของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจะทราบผล เวลา 18.00 น. วันนี้ ว่าจะเป็นสายพันธ์ เอช 1 เอ็น 1 หรือไม่ ส่วนคนไข้จะเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่หรือไม่นั้นต้องส่งเลือดไปตรวจที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในเบื้องต้นคาดว่าคนไข้เป็นไข้หวัดใหญ่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นเป็นคนไข้ต้องสงสัยโรคพันธุ์ใหม่

จากการซักประวัติผู้ป่วยคนดังกล่าว พบว่า เดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศกับกรุ๊ปทัวร์ จำนวน 25 คน โดยออกเดินทางจากประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ไปเที่ยวประเทศในแถบยุโรป ประกอบด้วย เบลเยี่ยม อิตาลี ฝรั่งเศส นอร์เวย์ เนเธอแลนด์ และอียิปต์ โดยกรุ๊ปทัวร์ดังกล่าวกลับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่ชายคนดังกล่าวกลับมีไข้ขึ้นสูงผิดปกติได้มารักษา

pvayuนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว และอยู่ระหว่างประสานกับ นพ.วีระพล ธีระพันธ์เจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ในเรื่องของการติดตามอาการของคนไข้ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังขอให้โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จัดทีมแพทย์และพยาบาล ติดตามอาการของคนในครอบครัวชายคนดังกล่าว และตรวจสอบร่างกายเป็นระยะ เบื้องต้นยังไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกมากนัก

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.thairath.co.th/content/special/5821

——————————————————–

Update (13 พฤษภาคม 2552)

ไทยเป็นประเทศที่ 31 ที่มีผู้ติดเชื้อ

ด้าน พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า องค์ การอนามัยโลกได้รับข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จาก สธ.ไทย 2 คน อย่างทันท่วงทีตามหลักเกณฑ์อนามัยโลก โดยได้รับแจ้งข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมว่า ได้จัดให้ไทยเป็นที่มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นประเทศที่ 31 โดยผู้ป่วยรับได้เชื้อจากการเดินทาง

“การที่ผู้ป่วยในไทยซึ่งติดเชื้อจากการเดินทาง นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์การอนามัยโลกจะนำไปพิจารณายกระดับความรุนแรงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จากระดับ 5 เป็นระดับ 6 เพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบผู้ป่วย” พญ.มัวรีนกล่าว

ด้านสำนักข่าวเอพีให้ภาพรวมการแพร่ระบาดตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาจนถึงขณะนี้ว่า มีผู้ติดเชื้อได้รับการยืนยันแล้ว ทั่วโลก 5,251 ราย ใน 33 ประเทศ รวมทั้งฟินแลนด์และไทย ซึ่งได้รับการยืนยันการติดเชื้อประเทศละ 2 ราย โดยจำนวนมากที่สุดยังเป็นในสหรัฐอเมริกา 2,618 ราย ต่อด้วยเม็กซิโก 2,059 ราย และ 330 รายในแคนาดา มีผู้เสียชีวิตรวม 61 รายทั่วโลก แยกเม็กซิโกเป็น 56 ราย เป็นสหรัฐอเมริกา 3 ราย แคนาดาและคอสตาริกาประเทศละ 1 ราย ส่วนที่คิวบาพบนักศึกษาเม็กซิกันรายหนึ่งซึ่งเดินทางมาศึกษาในคิวบาล้มป่วยลง ขณะที่จีนยังคงตาม ล่าหาตัวผู้โดยสารรวม 150 คนที่เดินทาง ร่วมเที่ยวบินมากับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน เป็นรายแรกของประเทศเพื่อมาตรวจสอบและป้องกันการแพร่เชื้อ

นพ.เคอิจิ ฟูกูดะ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวถึงการประกาศให้ทุกประเทศเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดในระดับ 5 ว่า การประกาศดังกล่าวมีความเหมาะสม เพราะความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกยังคงมีสูงมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ขณะนี้ยังไม่พบการแพร่ระบาดจากคนสู่คนในพื้นที่ทวีปอื่น นอกเหนือจากทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น แต่สถาน การณ์ยังผันแปรเปลี่ยนแปลงได้ ทางองค์การอนามัยโลกยังคงติดตามประเมินรูปแบบการแพร่ระบาดและความรุนแรงของอาการ ในลักษณะเชิงพันธุกรรมของไวรัสอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินสถานการณ์ให้ดีที่สุด

ข้อมูลอ้างอิง http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0103130552&sectionid=0101&day=2009-05-13

————————————————–

(Update 12 พฤษภาคม 2552)

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยเมื่อวันที่ 10 พ.ค.ว่า พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แล้ว 4,379 ราย ใน 29 ประเทศ เม็กซิโก มีรายงานผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน 1,626 ราย และเสียชีวิต 45 ราย สหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อ 2,254 ราย เสียชีวิต 2 ราย และ คอสตาริก้า มีผู้ติดเชื้อ 280 ราย เสียชีวิต 1 ราย และคอสตาริกา มีผู้ติดเชื้อ 8 ราย และเสียชีวิต 1 ราย

ส่วนประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อแต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ได้แก่ อาร์เจนติน่า 1 ราย ออสเตรเลีย 1 ราย ออสเตรีย 1 ราย บราซิล 6 ราย ฮ่องกง 1 ราย โคลอมเบีย 1 ราย เดนมาร์ก 1 ราย เอซัลวาดอร์ 2 ราย ฝรั่งเศส 12 ราย เยอรมนี 11 ราย กัวเตมาลา 1 ราย ไอร์แลนด์ 1 ราย อิสราเอล 7 ราย อิตาลี 9 ราย ญี่ปุ่น 4 ราย เนเธอร์แลนด์ 3 ราย นิวซีแลนด์ 7 ราย ปานามา 3 ราย โปแลนด์ 1 ราย โปรตุเกส 1 ราย เกาหลีใต้ 3 ราย สเปน 93 ราย สวีเดน 1 ราย สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย และ สหราชอาณาจักร 39 ราย

เอพี เอเอฟพี รอยเตอร์ ไปจนถึงเว็บไซต์บีบีซีและซีเอ็นเอ็น ยังเกาะติดสถานการณ์แพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อย่างใกล้ชิด เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ตามข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) แห่งสหรัฐฯ และรัฐบาลของประเทศต่างๆ มียอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ได้รับการยืนยันทั่วโลกพุ่งขึ้นเป็น 53 รายใน 4 ประเทศ คือ เม็กซิโก พบผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย เป็น 48 ราย สหรัฐฯ พบผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย เป็น 3 ราย แคนาดา 1 ราย และพบผู้เสียชีวิตในคอสตาริกาเป็นครั้งแรก 1 ราย นับเป็นผู้เสียชีวิตรายแรกในภูมิภาคอเมริกากลางด้วย

ผู้เชี่ยวชาญหวั่นเชื้อกลายพันธุ์

ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันหวั่นเกรงว่า การระบาดของเชื้อไวรัสอันตรายนี้จะเริ่มแพร่ลงทางใต้ ซึ่งกำลังย่างเข้าสู่ฤดูกาลไข้หวัดใหญ่ในขณะที่ซีกโลกทางเหนือฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ธรรมดากำลังสิ้นสุดลง และในระหว่างนั้นอาจกลายพันธุ์หรือผสมกับเชื้อหวัดอื่น รวมทั้งหวัดนก หรือไวรัส เอช5เอ็น1 และอาจทวีความร้ายแรงมากขึ้นได้ในอนาคต ทั้งนี้ นายเคอิจิ ฟุกุดะ หัวหน้าส่วนไข้หวัดใหญ่ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ ยังถือว่าเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า จะมีการแพร่ระบาดทั่วโลกหรือไม่ และร้ายแรงขนาดไหน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกประเมินว่า หากมีการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกจริง จะมีผู้ติดเชื้อและล้มป่วยมากถึง 2,000 ล้านคน

ด้านเอเอฟพีรายงานจากกรุงลอนดอน ระบุว่า ทางการอังกฤษยืนยันการติดเชื้อใหม่ในผู้ป่วยจำนวน 9 รายเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ ทำให้ยอดรวมผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วในอังกฤษมีทั้งสิ้น 48 ราย แต่ทั้งหมดมีอาการป่วยไม่มากนัก เพราะสามารถตรวจพบอย่างรวดเร็วและได้รับการเยียวยาในช่วงแรกๆ ของการติดเชื้อ ทั้งนี้ มีประเทศที่ยืนยันการแพร่ระบาดใหม่อีก 2 ประเทศคือ นอรเวย์ ซึ่งเพิ่งยืนยันผู้ติดเชื้อ 2 รายแรกที่เป็นนักศึกษาชาย-หญิงวัย 20 เศษ ที่ศึกษาอยู่ในเม็กซิโกและเพิ่งเดินทางกลับประเทศ กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งยืนยันพบผู้ติดเชื้อ 1 ราย แต่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้วในเวลานี้ ในขณะที่ นิวซีแลนด์ รายงานการพบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วเพิ่มอีก 2 รายรวมเป็น 7 รายแล้ว

ญี่ปุ่น ป่วยมากที่สุดในเอเชีย

สำหรับผู้เสียชีวิตในคอสตาริกา นั้นถือเป็นผู้เสียชีวิตรายแรกที่เกิดขึ้นนอกทวีปอเมริกาเหนือ ที่น่าสนใจก็คือผู้ป่วยรายนี้เป็นเพียง 1 ในจำนวนผู้ป่วย 8 ราย ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อหวัด 2009 ก่อนเสียชีวิตมีอาการแสดงออกหลายอย่างปนกัน ทั้งท้องร่วงรุนแรง และอาการติดเชื้อในปอด ซึ่งเป็นลักษณะอาการแบบเดียวกับผู้ป่วยส่วนใหญ่ในเม็กซิโก แต่เจ้าหน้าที่คอสตาริกายืนยันว่าชายผู้นี้ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศในช่วงหลังนี้และไม่สามารถบอกได้ว่าติดเชื้อมาได้อย่างไร

สำหรับในเอเชีย ประเทศที่พบผู้ป่วยมากที่สุดเป็นญี่ปุ่น เมื่อมีการพบผู้ติดเชื้อที่สนามบินนาริตะเพิ่มอีก 4 รายขณะเดินทางกลับจากแคนาดา ในขณะที่ฮ่องกงพบนักท่องเที่ยวชาวเม็กซิกันผู้หนึ่งติดเชื้อไวรัสนี้ แต่ได้รับปล่อยตัวเป็นอิสระจากการกักกันในโรงพยาบาลแล้ว ส่วนที่จีน สำนักข่าวซินหัวระบุว่า ทางการจีนควบคุมตัวนักเดินทาง 7 คนไว้ในส่วนกักกันโรคเพื่อรอตรวจสอบให้แน่ใจอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1241955339&grpid=00&catid=06

————————————————

Update(11 พฤษภาคม 2552)

WHO คาด อาจมีประชากรโลกมากถึง 2 พันล้านคน ที่จะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009

h1n1_11_may

นายเคอิจิ ฟูกูดะ รักษาการณ์ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ WHO เตือนเมื่อวันพฤหัสบดีว่า อาจมีประชากรโลกมากถึง 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากการระบาดที่ดำเนินอยู่ใน 24 ประเทศในปัจจุบัน พัฒนาไปเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกที่จะใช้เวลานาน 2 ปีกว่าจะยุติ เพราะเคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการระบาดของไข้หวัดในลักษณะนี้ แต่เขาก็กล่าวด้วยว่าโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว จึงไม่อาจคาดเดาได้ว่า ผลกระทบของการระบาดในปัจจุบันจะรุนแรงน้อยกว่า หรือมากกว่าในอดีต ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอิสระต่างเห็นพ้องว่าการคาดการณ์ของเขามีโอกาสเป็นไปได้ แต่ก็เสริมว่าผู้ติดเชื้อครึ่งหนึ่งอาจไม่แสดงอาการด้วยซ้ำ

ถ้อยแถลงของนายฟูคูดะมีขึ้น ท่ามกลางความวิตกที่เพิ่มขึ้นว่าความเคลื่อนไวของ WHOที่ผ่านมาซึ่งรวมทั้งการยกระดับการเตือนภัยจากโรคเป็นระดับ 5 จากทั้งหมด 6 ระดับเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้หลายประเทศเดินหน้าตามแผนการเตรียมตัวรับมือกับการระบาดไปทั่วโลก อาจถูกมองว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ เพราะดูเหมือนผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง ขณะที่นายฟูคูดะย้ำว่า สถานการณ์เกี่ยวกับโรคนี้ยังไม่หยุดนิ่ง ยังพัฒนาไปเรื่อยๆ ไวรัสยังสามารถกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายถึงตายมากกว่าเดิมได้ รวมทั้งการที่ซีกโลกใต้กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว เพราะซีกโลกใต้มีประเทศกำลังพัฒนามากกว่าซีกโลกเหนือ ประชากรจึงมีความเสี่ยงจากการระบาดของโรคสูงกว่า

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.komchadluek.net/detail/20090508/12154/WHOคาดอาจมีคน2พันล้านติดหวัด2009.html

—————————————————–

Update (9 พฤษภาคม 2552)

9may

พบผู้เสียชีวิตรายแรกจาก H1N1 ในประเทศแคนาดา ปานามาพบผู้ติดเชื้อรายแรก ญี่ปุ่นพบ 3 ราย (9พ.ค.) ทวีปอเมริกา ได้กลับมาเป็นศูนย์กลางของความวิตกเรื่องการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 เมื่อแคนาดา ประกาศว่าพบผู้เสียชีวิตจากโรคนี้คนแรก ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ2 เท่า และพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในละตินอเมริกา ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐ เตือนว่า สหรัฐยังไม่พ้นช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนทางเหนือของประเทศ หลังจากนายอังเดร คอร์ริโว หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ในจังหวัดอัลเบอร์ต้า ของแคนาดา ประกาศว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตเพราะไวรัส H1N1 และเป็นคนแรกของแคนาดาที่เสียชีวิตเพราะไวรัสสายพันธุ์นี้
โดยแคนาดาเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อไวรัส H1N1 สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 คือ 224 คน แต่สหรัฐได้แซงหน้าเม็กซิโกไปแล้ว เมื่อมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้มากที่สุด คือ 1,639 คน ใน 43 รัฐ ส่วนผู้เสียชีวิตมีเพียง 2 คน ในขณะที่เม็กซิโก ซึ่งเป็นศูนย์การการแพร่ระบาดของโลกนี้ไปทั่วโลก ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตว่าอยู่ที่ 45 คน ยืนยันตัวเลขผู้ติดเชื้อว่าอยู่ที่ 1,319 คน และมากกว่าครึ่ง เป็นผู้ที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี
ด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของปานามา ได้ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่ 2009 รายแรก เป็นชายหนุ่มที่เพิ่งกลับมาจากสหรัฐอเมริกา นางโรซาริโอ เทอร์เนอร์ รัฐมนตรีสาธารณสุข ได้เรียกร้องให้ประชาชนอยู่ในความสงบ เนื่องจากชายผู้นี้ ได้ถูกกักตัวไว้เพื่อดูอาการแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียดว่าเขาเป็นใครและเดินทางมาถึงปานามาเมื่อใด เพียงแต่ระบุว่า เขาได้รับการรักษาแล้ว และอาการทรงตัว ขณะที่ครอบครัวของเขาและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ได้มีการติดต่อสัมผัสกับชายผู้นี้ ก็ต้องเข้ารับการดูแลทางการแพทย์แล้วเช่นกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก
เนื่องจากรัฐบาลได้มีการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ทำนองนี้เอาไว้แล้ว รวมถึงการออกมาตรการคุมเข้มเป็น 2 เท่าบริเวณสนามบิน และจุดผ่านแดนทุกแห่งด้วย ทั้งยังได้รับอุปกรณ์ทดสอบที่สามารถรองรับประชาชนได้ถึง 1 พันคน และสามารถให้ผลได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องส่งตัวอย่างไปทดสอบที่สหรัฐ
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่น รายงานว่า ผู้ชายชาวญี่ปุ่น 3 คน ที่เพิ่งจะเดินทางกลับมาจากสหรัฐ ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัส H1N1 โดยทั้งหมดเป็นชาวโอซาก้า และเดินทางจากเมืองดีทรอยต์ ของสหรัฐ ถึงสนามบินนานาชาตินาริตะ เมื่อวันศุกร์ โดยเป็นครูโรงเรียนไฮสกูล ที่อยู่ในวัย 40 กว่า 1 คน และเป็นนักเรียนวัยรุ่นอีก 2 คน พวกเขาทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อ H1N1 กลุ่มแรกที่พบในญี่ปุ่น ด้านองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า มีประชาชน 2,500 คน ใน 26 ประเทศ ที่ติดเชื้อไวรัสH1N1

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.komchadluek.net/detail/20090509/12202/พบตายรายแรกจากหวัด2009ในแคนาดา.html

————————————-

Update (7 พฤษภาคม 2552)

4304

องค์การอนามัยโลก เปิดเผย ตัวเลขผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ล่าสุด เพิ่มเป็น 1,893 รายแล้ว ขณะที่เม็กซิโก ติดเชื้อ 942 ราย เสียชีวิต 29 ราย สหรัฐฯ ติดเชื้อ 642 ราย …

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2552 ตามเวลาท้องถิ่น ถึงสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ขณะนี้พบการระบาดอย่างเป็นทางการใน 23 ประเทศ และพบผู้ติดเชื้อแล้ว 1,893 ราย ประเทศเม็กซิโก พบผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว 942 ราย และมีผู้เสียชีวิต 29 ราย สหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อ 642 ราย เสียชีวิตเพิ่มเป็น 2 ราย

ขณะประเทศที่ได้รับการยืนยันผู้ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ ออสเตรีย 1 ราย แคนาดา 165 ราย จีน 1 ราย โคลอมเบีย 1 ราย คอสตาริกา 1 ราย เดนมาร์ก 1 ราย เอลซัลวาดอร์ 2 ราย ฝรั่งเศส 5 ราย เยอรมนี 9 ราย กัวเตมาลา 1 ราย? ไอร์แลนด์ 1 ราย อิสราเอล 4 อิตาลี 5 ราย เนเธอร์แลนด์ 1 ราย นิวซีแลนด์ 5 ราย โปรตุเกส 1 เกาหลีใต้ 2 ราย สเปน 73 ราย สวีเดน 1 ราย สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย และ สหราชอาณาจักร 28 ราย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานอีกว่า องค์การอนามัยโลก เตรียมเรียกประชุมบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ถึงการผลิตวัคซีน สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยการประชุมดังกล่าว จะเป็นการประชุมแบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ ในวันที่ 14 พ.ค.

นางมารี -พอล เคียนนี ผู้อำนวยการ ด้านการวิจัยวัคซีน ของ WHO เปิดเผยเมื่อวันพุธ ตามเวลาท้องถิ่นว่า การประชุมแบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ ในวันดังกล่าว จะหารือถึงการผลิตยาเพื่อรองรับการผลิตวัคซีนจำนวนมาก ทั้งนี้ ที่ประชุมยังจะเสนอแนะกลุ่มผู้ผลิตยา ในการหยุดผลิตวัคซีน เพื่อใช้สำหรับไข้หวัดตามฤดูกาล เพื่อนำไปสู่การผลิตวัคซีนที่สำคัญกว่า ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ? WHO แล้ว ยังรวมถึงกลุ่มผู้ผลิตยา เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเมือง และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไข้หวัด รวมถึงคณะกรรมการที่ปรึกษาของ WHO

ข้อมูลอ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/special/4304

—————————————-

Update (4 พฤษภาคม 2552 )

องค์การอนามัยโลกมีการยืนยันทั่วโลกติดเชื้อ 898 ราย artmasks
ในจำนวน 18 ประเทศ ในเม็กซิโก 506
สหรัฐอเมริกา 226 ราย ใน 30 รัฐ. แคนาดา 70 สหราชอาณาจักร 15 สเปน 13
เยอรมนี 6 นิวซีแลนด์ 4 อิสราเอล 3 ฝรั่งเศส 2
ออสเตรีย จีน เกาหลีใต้ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ คอสตาริกา ไอร์แลนด์ ประเทศละ 1 ราย

ข้อมูลอ้างอิง http://edition.cnn.com/2009/HEALTH/05/03/swine.flu/index.html

———————————–

Update ( 3 พฤษภาคม 2552)

สำนักข่าว cnn รายงานว่า ข้อมูลยืนยันจาก WHO จำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก มีจำนวน 659 ราย ใน 16 ประเทศ นอกจากเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาที่ WHO ยืนยัน ใน 14 ประเทศ มี แคนาดา 51; สหราชอาณาจักร 15; สเปน 13; เยอรมัน 6; นิวซีแลนด์ 4; อิสราเอล 3; ฝรั่งเศส, 2; และออสเตรีย, จีน, เกาหลีใต้, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์และคอสตาริกา ประเทศละ 1 ราย

at_hongkong สถานการณ์ในเอเชีย ทางการจีนได้กักกันแขกของโรงแรมที่พบผู้ติดเชื้อเกือบ 200 โรงแรมและพนักงาน 100 คนอยู่ภายใต้การควบคุมที่ โรงแรมเมโทร ปาร์คในฮ่องกงเป็นเวลาเจ็ดวันเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส สำหรับเกาหลีใต้เจ้าหน้าที่ยืนยันในกรณี แม่ชีวัย51 ปีชี ผู้ทำงานด้านอาสาสมัครงานในเม็กซิโก ว่าได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 2009

ข้อมูลอ้างอิง: http://edition.cnn.com/2009/HEALTH/05/02/swine.flu/index.html

——————————————————–

Update (2 พฤษภาคม 2552)

ไข้หวัดใหญ่2009 ลามเข้า”เอเชีย”แล้ว ฮ่องกงยันพบผู้ติดเชื้อแล้ว ถือเป็นประเทศแรกในเอเชีย โดยสำนักข่าว เอพีรายงานเมื่อ 1 พ.ค. ว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก แพร่ระบาดไป 3 ทวีปแล้ว หลังผลการตรวจเชื้อยืนยันผู้ติดเชื้อรายแรกในฮ่องกง เป็นชายชาวเม็กซิกันที่เดินทางมาถึงฮ่องกงในวันที่ 30 เม.ย. โดยแวะที่นครเซี่ยงไฮ้ในแผ่นดินใหญ่ ทางฮ่องกงดูแลรักษาอยู่โดยกักแยกบริเวณไว้แล้ว ส่วนแขกที่พักในโรงแรมเดียวกับชายคนนี้ 300 คนถูกกักไว้ดูอาการ ด้านเกาหลีใต้ ยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายแรกของประเทศ เป็นแม่ชีวัย 51 ปีที่เดินทางกลับจากเม็กซิโก

สำนักข่าว cnn รายงานว่า องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าวันศุกร์ที่ผ่านมามีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันทั่วโลก 367 ราย รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา 141 ราย ในเม็กซิโก 156 ราย และใน 13 ประเทศ ดังนี้

แคนาดา 34
สเปน 13
สหราชอาณาจักร 8
นิวซีแลนด์ 4
เยอรมัน 4
อิสราเอล 2
ออสเตรีย 1,
จีน(ฮ่องกง) 1
เดนมาร์ก 1
เนเธอร์แลนด์ 1
สวิตเซอร์แลนด์ 1

yong4 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ได้พัฒนาออกแบบวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมของยีนส์ในเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 2009 แบบเรียลไทม์ (Real time PCR) ซึ่งตรวจวิเคราะห์ผลภายใน 4-6 ชั่วโมง สามารถทราบผลการตรวจทันทีว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 2009 หรือไม่ ต่างจากวิธีเดิม ที่ใช้การตรวจหาพันธุกรรม(PCR) ที่ใช้กับผู้ป่วยวัย 42 ปี ที่เดินทางกลับจากเม็กซิโก แล้วมีไข้ ซึ่งใช้เวลาถึง 18 ชั่วโมง

“หากมีการระบาดในไทยก็ไม่ต้องตกใจ ในช่วงนี้ขอให้มีการเตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็สามารถป้องกันโรคได้ หรือช่วยให้ความรุนแรงของโรคน้อยลงได้ ซึ่งหากมีอาการไม่สบายด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเวลาไอ หรือจามความใช้หน้ากากอนามัยป้องกัน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค เนื่องจากการไอ หรือจามครั้งหนึ่งนั้น จะทำให้เชื้อโรคแพร่ได้ไกล 5 เมตร รวมถึงให้หมั่นล้างมือบ่อยๆ หากไม่มีน้ำล้างมือก็ใช้แอลกอฮอล์เหลวล้างมือได้”

—————————————-

ข้อมูลอ้าอิง: http://edition.cnn.com/2009/HEALTH/05/01/swine.flu.outbreak/index.html

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_newsonline.php?newsid=TVRJME1EYzBNakkwT1E9PQ==

———————————–

Update (1 พฤษภาคม 2552)

WHOเลิกเรียก”ไข้หวัดหมู”เปลี่ยนชื่อเป็น”ไข้หวัดใหญ่เอ”
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO โดย โฆษกของWHO แถลงว่า นับจากนี้ จะเลิกใช้คำเรียกว่า “ไข้หวัดหมู” หรือ Swine Flu (สไวน์ ฟลู) และหันไปเรียกชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า” ไข้หวัดใหญ่เอ(เอช 1 เอ็น 1) หรือ Influenza A (H1N1) แทน หลังจากได้รับการร้องเรียนจากอุตสาหกรรมหมู พร้อมยืนยันว่า การรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกไม่เป็นอันตราย
drkeifi

ขณะที่นายเคนจิ ฟูคูดะ รักษาการณ์ผู้ช่วยผู้อำนวยการของ WHO ยืนยันว่ายังไม่พบหลักฐานที่จะทำให้ต้องเพิ่มระดับการเตือนภัยจากโรคนี้จากระดับ 5 เป็นระดับสูงสุดคือระดับ 6 ในขณะนี้
(สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น) – รายงานพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 257 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในเเม็กซิโก และสงสัยสาเหตุการตายมากกว่า 150 รายมาจากเชื้อไข้หวัดชนิดนี้ แต่มีกรณีที่ยืนยันแน่นอน จำนวน 26 ราย ส่วนรายงานการต้องสงสัยติดเชื้อจากประเทศต่างมีดังนี้

ออสเตรีย (1),
แคนาดา (19),
เยอรมัน (3),
อิสราเอล (2),
เนเธอร์แลนด์ (1),
นิวซีแลนด์ (3)
สเปน ( 13),
สวิตเซอร์แลนด์ (1)
และสหราชอาณาจักร (8).

สถานการณ์ในเอเซีย

ที่เกาหลีใต้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลีใต้ (เคซีดีซี) แถลงว่าพบผู้ต้องสงสัยเข้าข่ายป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก 1 คน เป็นหญิงอายุ 51 ปีที่เพิ่งบินกลับจากเม็กซิโก ผลตรวจเชื้อเบื้องต้นชี้ว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด “เอ” คล้ายไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก แต่ต้องรอผลพิสูจน์อย่างชัดเจนจากห้องทดลองในสหรัฐเสียก่อนจึงจะสรุปได้ว่าป่วยจริงหรือไม่ คาดว่ารู้ผลใน 1 สัปดาห์ แต่รัฐบาลเกาหลีใต้ก็ไม่ประมาทสั่งปรับระดับเตือนภัยสุขภาพจากระดับ 1 เป็น 2 จากทั้งหมด 4 ระดับเรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลอ้าอิง: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1241143565&grpid=03&catid=06

http://edition.cnn.com/2009/HEALTH/04/30/swine.flu.outbreak/index.html

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNVEF4TURVMU1nPT0=
&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB3TVE9PQ
==

———————————————–

Update (30 เมษายน 2552)

วันที่ 29 เมษายน 2552 คณะแพทย์ร.พ.จุฬาฯ แถลงข่าวอาการผู้ป่วยที่เฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เม็ก ซิโก ที่ห้องประชุม ตึกสก. ว่า ผู้ป่วยหญิงที่เฝ้าระวัง แค่เป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดาเท่านั้น

ปัจจุบันพบว่ามีผู้เสียชีวิตในเม็กซิโกเพิ่มเป็น 152 คน ในระยะหลังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเพียง 3 คนเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเม็กซิโกสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง และพบผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐเพิ่มอีก 4 รัฐ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 65 คน เป็น 91 คนแล้ว มีผู้เสียชีวิต 1 คน

swine-flu-map

สรุปยอดรวมสำหรับยอดผู้สงสัยติดเชื้อไข้หวัดเม็กซิโกของประเทศต่าง ๆ มีดังนี้
แคนาดา ติดเชื้อ 13 ราย
อังกฤษ ติดเชื้อ 5 ราย
สเปน ติดเชื้อ 10 ราย
เยอรมนี ติดเชื้อ 3 ราย
นิวซีแลนด์ ติดเชื้อ 3 ราย
อิสราเอล ติดเชื้อ 2 ราย
ออสเตรีย ติดเชื้อ 1 ราย

who-logo องค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่มระดับเตือนภัยการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก จากระดับ 4 เป็นระดับ 5 ซึ่งเป็นขั้นที่ตรวจพบว่า มีการแพร่เชื้อจากมนุษย์สู่มนุษย์ในอย่างน้อย 2 ประเทศ สำหรับการเพิ่มระดับเตือนภัยในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเด็กชายวัย 23 เดือนชาวเม็กซิกันเสียชีวิตที่รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายแรกที่เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นอกประเทศเม็กซิโก ส่วนที่ประเทศสเปน เจ้าหน้าที่ยืนยันพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่รายแรกซึ่งไม่ได้เดินทางมาจากเม็กซิโก รายงานแจ้งว่า เด็กชายผู้นี้ล้มป่วยในระหว่างที่ไปเยี่ยมญาติที่รัฐเทกซัสเมื่อต้นเดือนนี้ เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลที่นครฮิวส์ตัน และเสียชีวิตเมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา

ข้อมูลอ้างอิง: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?
newsid=1241008728&grpid=00&catid=06

http://edition.cnn.com/2009/HEALTH/04/29/swine.flu/index.html

————————————————————-

flu_und_legende_color_c ไข้หวัดเม็กซิโก เป็นไข้หวัด ที่พบการเริ่มระบาดในประเทศเม็กซิโก เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ เกิดจากเกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ชนิด เอ สายพันธุ์ย่อย เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) โดยเชื้อชนิดนี้เป็นไข้หวัดสายพันธุ์ของคนแต่มีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในหมูผสมอยู่ด้วยจึงเรียกในตอนแรกว่าไข้หวัดใหญ่หมู (Swine Flu) ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2552, เกิดการระบาดในประเทศเม็กซิโก มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 68 คน และติดเชื้อมากกว่า 1,000 คน

อาการผู้ป่วย โรคไข้หวัดเม็กซิโก
มีไข้แบบฉับพลัน และมีอุณหภูมิของร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส รวมทั้งมีอาการไอ ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ คัดจมูก และอ่อนเพลีย

การวินิจฉัยโรค

ต้องนำสารคัดหลั่งทั้งจากจมูกและปากของผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส โรคไข้หวัดหมู ไปตรวจสอบภายในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรก นับจากที่บุคคลผู้นั้นเริ่มแสดงอาการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในคู่มือ รวมทั้งต้องมีการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อค้นหาเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ ด้วยเช่นกัน

การแพร่เชื้อ 373px-antigenicshift_hires2

เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป คือเชื้อ นั้นจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา

การป้องกัน

มีคำแนะนำหลายๆ อย่าง เช่น การสวมหน้ากาก, การไม่ทักทายผู้อื่นด้วยการจูบหรือสัมผัสมือ, การไม่รับประทานอาหารร่วมช้อน-ภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น
112 นอกจากนั้น ยังมีการทำให้บ้านและที่ทำงานมีการถ่ายเทของอากาศได้โดยสะดวก และการรักษาความสะอาดของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์ เป็นต้น

วิธีการรักษา

ในรายที่ยืนยันว่า ติดเชื้อไวรัส โรคไข้หวัดเม็กซิโก ทางการจะใช้ยา “โอเซลตามิเวียร์” (ชื่อสามัญของยา “ทามิฟลู”) หรือยา “ซานามิเวียร์” (ชื่อสามัญของยา “รีเลนซา”) ภายใต้การควบคุมจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด และจะมีการเตือนถึงผลข้างเคียงด้วย หากมีการใช้ยาดังกล่าวไม่ถูกต้อง

มาตราการเฝ้าระวัง thermoscan
ทางการไทยดำเนินการเฝ้าระวังกับผู้ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย โดยมีเครื่องเทอร์โมสแกนเนอร์ทั้งหมด 5 เครื่อง นำไปติดตั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ 3 เครื่อง ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ 1 เครื่อง และท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต 1 เครื่อง
ทางกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมในส่วนของบริการต่างๆ เอาไว้ แต่ลักษณะการเฝ้าระวังจะใช้รูปแบบคล้ายๆ กับช่วงที่เกิดไข้หวัดนก โดยจะมีคณะกรรมการ กระทรวงวิทยศาสตร์เข้ามาดู และพยายามประสานงานกับทาง WHO เพื่อให้มาตรการต่างๆ เริ่มมาตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งจะง่ายกว่า

สถานะการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศไทย

มีผู้ต้องสงสัยที่ควรระวัง 1 ราย เป็นนักวิชาการหญิงไปปฏิบัติราชการที่ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน ในวันที่ 23 เมษายน มีไข้สูง แต่ก็ลดลงและเริ่มมีไข้สูงอีกในวันที่ 26 เมษายน ก่อนจะเข้ารับการรักษาอาการที่โรงพยาบาลจุฬาฯ

การลดผลกระทบ

สหรัฐได้เปลี่ยนชื่อไข้หวัดหมู (swine flu) เป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 เพื่อแก้ความเข้าใจผิดว่าโรคนี้เกิดจากหมู จนหลายประเทศเลิกนำเข้าเนื้อหมู
ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังเรียกโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เอช1 เอ็น1 (H1N1) ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ว่า “โรคไข้หวัดหมู” (Swine Flu) และยังไม่ตั้งชื่อโรคอย่างเป็นทางการ
สำหรับประเทศไทยเพื่อป้องกันความสับสนว่าอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัสในหมูติดสู่คน และกระทบกับการปศุสัตว์ได้ จึงขอให้เรียกชื่อโรคนี้ตามหลักวิชาการคือ ไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโก พร้อมทั้งได้ส่งหนังสือถึง WHO ขอให้ทบทวนการตั้งชื่อโรคดังกล่าวใหม่ เข้าใจว่าขณะนี้มีหลายประเทศเรียกร้องให้เปลี่ยนชื่อโรคเช่นเดียวกับประเทศไทย

ข้อมูลอ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/Influenza_A_virus_subtype_H1N1
http://guru.sanook.com/pedia/topic/ไข้หวัดเม็กซิโก/

————————————————————

ข้อมูลอ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/special/8110

————————————————————

ข้อมูลอ้างอิง  http://www.thairath.co.th/content/special/9689

 

 

 

คิดเป็น (Khit – pen)

metallic_blue


อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ

17 พฤษภาคม 2552

ความนำ
แนวความคิดเรื่อง “คิดเป็น” ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักวิชาการศึกษามาไม่น้อยกว่า 20 ปี แล้ว โดย ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้ประยุกต์แนวความคิดในเรื่อง “คิดเป็น” และนำมาเป็นเป้าหมายสำคัญในการให้บริการการศึกษาผู้ใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา เช่น การจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ เป็นต้น การจัดกิจกรรมเน้นในเรื่องการเรียนรู้ด้วยแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และจากนั้นเป็นต้นมา การศึกษานอกระบบก็ได้ยึดปรัชญา “คิดเป็น” มาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมมาโดยตลอด

         ปรัชญา “คิดเป็น” อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจุดรวมของความต้องการที่เหมือนกัน คือ ทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อเราและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันได้ โดยการปรับปรุงตัวเราให้เข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือโดยการปรับปรุงสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเรา หรือปรับปรุงทั้งตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมให้ประสมกลมกลืนกัน หรือเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับตน คนที่สามารถทำได้เช่นนี้ เพื่อให้ตนเองมีความสุขนั้น จำเป็นต้องเป็นผู้มีความคิดสามารถคิดแก้ปัญหา รู้จักตนเองและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จึงจะเรียกได้ว่าผู้นั้นเป็นคนคิดเป็น หรืออีกนัยหนึ่งปรัชญา “คิดเป็น” มาจากความเชื่อพื้นฐานตามแนวพุทธศาสนา ที่สอนให้บุคคลสามารถพ้นทุกข์ และพบความสุขได้ด้วยการค้นหาสาเหตุของปัญหา สาเหตุของทุกข์ ซึ่งส่งผลให้บุคคลผู้นั้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 ความหมายของ “คิดเป็น”

         โกวิท วรพิพัฒน์ ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ คิดเป็น ว่า “บุคคลที่คิดเป็นจะสามารถเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีระบบ บุคคลผู้นี้จะสามารถพินิจพิจารณาสาเหตุของปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ และสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับทางเลือก เขาจะพิจารณาข้อดีข้อเสียของแต่ละเรื่อง โดยใช้ความสามารถเฉพาะตัวค่านิยมของตนเอง และสถานการณ์ที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่ ประกอบการพิจารณา”

         การ “คิดเป็น” เป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา คือ มีจุดเริ่มต้นที่ปัญหาแล้วพิจารณาย้อนไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประเภท คือ ข้อมูลด้วยตนเองชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ ต่อจากนั้นก็ลงมือกระทำถ้าหากสามารถทำให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง แต่หากบุคคลยังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ บุคคลก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง และกระบวนการนี้ยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุข

 

สรุป ความหมายของ “คิดเป็น”

• การวิเคราะห์ปัญหาและแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาและดับทุกข์
• การคิดอย่างรอบคอบเพื่อการแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ

เป้าหมายของ “คิดเป็น”

         เป้าหมายสุดท้ายของการเป็นคน “คิดเป็น” คือความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันอย่างราบรื่นทั้งทางด้านวัตถุ กายและใจ

 แนวคิดหลักของ “คิดเป็น”

• มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความสุข
• ความสุขที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวของแต่ละคนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามวิธีการของตนเอง
• การตัดสินใจเป็นการคิดวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือด้านตนเอง ด้านสังคม และด้านวิชาการ
• ทุกคนคิดเป็น เท่าที่การคิดและตัดสินใจทำให้เราเป็นสุขไม่ทำให้ใครหรือสังคมเดือดร้อน

 

คิดอย่างไรเรียกว่า “คิดเป็น”

          “คิดเป็น” เป็นการคิดแบบพอเพียง พอประมาณ ไม่มาก ไม่น้อยเป็นทางสายกลาง สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล พร้อมที่จะรับผลกระทบที่เกิดโดยมีความรอบรู้ในวิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างรู้จริง สามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ มีคุณภาพใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง เป็นการบูรณาการเอาการคิด การกระทำ การแก้ปัญหา ความเหมาะสมและความพอดี มารวมไว้ในคำว่า “คิดเป็น” คือ การคิดเป็นทำเป็นอย่างเหมาะสมตนเกิดความพอดี และแก้ปัญหาได้ด้วย

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เป็นคน “คิดเป็น”

         กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” นี้ ผู้เรียนสำคัญที่สุดผู้สอนจะเป็นเพียงผู้จัดโอกาส จัดกระบวนการ จัดระบบข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมในการเรียนรู้อาจมีแนวปฏิบัติดังนี้

1. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์จากปัญหาและความต้องการของตนเอง
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
3. เรียนรู้จากการอภิปรายถกเถียงในประเด็นที่เป็นปัญหา
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม มีการใช้ข้อมูลหลาย ๆ ด้าน
5. เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง จากการทำงาน
6. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการทำโครงงาน
7. เรียนรู้จากการศึกษา กรณีตัวอย่างเพื่อการแก้ปัญหาชุมชน
8. ผู้เรียนต้องรู้จักใช้ข้อมูลที่ลึกซึ่ง ฝึกตัดสินใจด้วยระบบข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้
9. นำเวทีชาวบ้านมาเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการคิดแก้ปัญหา
10. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูลตนเอง ชุมชนสิ่งแวดล้อม และวิชาการ

 

ตัวอย่าง

        ปราชญ์ชาวบ้าน คุณลุงประยงค์ รณรงค์ แห่งชุมชนบ้านไม่เรียงจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตัวอย่างของบุคคลที่เป็นรูปแบบของความหมาย “คิดเป็น” ได้อย่างดี ลุงประยงค์ จะมีความคิดที่เชื่อมโยง คิดแยกแยะ ชัดเจน เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำไปปฏิบัติ และต้องทดลองความรู้ที่หามาได้ก่อนการยืนยันเสมอ แนวคิดเช่นนี้ทำให้ลุงประยงค์เป็นแกนนำสำคัญที่ทำให้ชุมชนไม่เรียง เป็นชุมชนตัวอย่างหนึ่งที่เข้มแข็งมานาน พึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสมพอดีกับบริบทของตนเอง

 

สรุป

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ “คิดเป็น” นั้นคือ
• สำรวจปัญหาลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องแก้ไขก่อนหลัง
• แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการรวบรวมข้อมูล
• วิเคราะห์ข้อมูล
• สรุปตัดสินใจเลือกวิธีการที่ดีที่เหมาะสมที่สุด
• นำไปปฏิบัติและตรวจสอบ

         อาจกล่าวได้ว่าการกระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ส่งผลให้แนวคิดในเรื่อง “คิดเป็น” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างสังคมชุมชนให้เข้มแข็ง หากประชาชนในชุมชนมีความสามารถ วิเคราะห์แยกแยะปัญหาความต้องการของคนได้ถูกต้อง และสามารถพัฒนาชุมชนหรือแก้ปัญญาได้ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ก็จะช่วยให้ชุมชนนั้น ๆ สามารถพัฒนาได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืนถาวร ผู้ที่มีหน้าที่จัดการศึกษาจึงควรให้ความสำคัญในแนวคิดนี้ และหาแนวทางที่จะนำแนวคิดลงสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด

  

เอกสารและแหล่งอ้างอิง

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2538. สารานุกรมการศึกษาตลอดชีวิต เล่ม 1 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. 2550. “คิดเป็นคือคิดพอเพียง” วารสาร กศน. เพื่อนเรียนรู้ มีนาคม 2550, หน้า 9-11.

ชุมพล หนูสง และคนอื่นๆ. 2544. ปรัชญาคิดเป็น. (หนังสือรวบรวม คำบรรยายและบทสัมภาษณ์ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์. 2544. ในโอกาสต่างๆ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย.

ทองอยู่ แก้วไทรฮะ. “คิดเป็น : เพื่อนเรียนรู้สู่อนาคต” วารสาร กศน.พื่อนเรียนรู้. มีนาคม 2550, หน้า 12-16.

อุ่นตา นพคุณ. 2528. แนวคิดทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการพัฒนาชุมชนเรื่อง คิดเป็น. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.

***************************

การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-formal Education)

kumpee1อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
17 พฤษภาคม 2552

ความนำ
ในปัจจุบันวิถีการเรียนรู้ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอันเป็นผลสืบเนื่องมา จากความก้าวหน้าขององค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสังคมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ตลอดจนพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based Economy) ทำให้เกิดความต้องการการเรียนรู้อย่างกว้างขวางในแทบทุกกิจกรรมของสังคมวิถีการเรียนรู้ของคนจึงขยายขอบเขตจากการศึกษาในระบบ ไปสู่การเรียนรู้จากการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยทำให้เกิดกิจกรรมการศึกษาและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การศึกษานอกระบบจึงมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์

ความหมาย
         การศึกษานอกระบบหรือ Non-formal Education (NFE)ได้เกิดขึ้นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1967 ในการประชุมของ UNESCO เรื่องThe World Educational Crisis ซึ่งได้นิยามการศึกษานอกระบบ หมายถึง “การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก” โดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สมรรถนะที่เกิดจากการศึกษานอกระบบมีตั้งแต่ทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไข ความขัดแย้งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้นำ การแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบและความมีวินัย การศึกษานอกระบบยุคใหม่จึงเน้นการเรียนรู้และสมรรถนะ (Learning and Competency) (จรวยพร  ธรณินทร์, 2550)

         การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non – Formal Education) เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการศึกษาซึ่งเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนตามปกติ ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเอง ให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะอ่อนตัวให้ผู้เรียนมีความสะดวกเลือกเรียนได้หลายวิธีจึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนและสังคมเป็นอย่างยิ่ง การศึกษานอกโรงเรียนมีความหมายครอบคลุมถึงมวลประสบการณ์การเรียนรู้ทุกชนิดที่บุคคลได้รับจากการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติการเรียนรู้จากสังคม และการเรียนรู้ที่ได้รับจากโปรแกรมการศึกษาที่จัดขึ้นนอกเหนือไปจากการศึกษาในโรงเรียนตามปกติ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มิได้อยู่ในระบบโรงเรียนปกติ ได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ ทักษะ ทัศนคติ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ฝึกฝนอาชีพ หรือการพัฒนาความรู้เฉพาะเรื่องตามที่ตนสนใจ (อาชัญญา รัตนอุบล 2542 : 1)

         การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาที่มุ่งจัดให้กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาชีวิตและสังคม โดยมีหลักการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด้อยโอกาสพลาดหรือขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ ฝึกทักษะ ปลูกฝังเจตคติที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และการประกอบสัมมาชีพ อีกทั้งสามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของวิทยาการต่าง ๆ ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุขตามควร แก่อัตภาพ (กรมการศึกษานอกโรงเรียน, 2538 อ้างถึงในอาชัญญา รัตนอุบล, 2542 : 3) งานด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียนหมายถึง การจัดกิจกรรมการศึกษาที่จัดขึ้นนอกระบบโรงเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ชัดเจน กิจกรรมการศึกษาดังกล่าว มีทั้งที่จัดกิจกรรมโดยเอกเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมอื่น หน่วยงานที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนนั้น เป็นทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยตรง และหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนที่อาศัย การศึกษาเป็นเครื่องมือนำไปสู่วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม ในทางทฤษฎีจึงได้นับเนื่องเอาการศึกษานอกโรงเรียนเป็นระบบหนึ่งของการศึกษาตลอดชีวิต ที่มีส่วนเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นและต่อเนื่องกับการศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ทำให้การศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นความหวังของวงการศึกษา และเป็นกลไกที่สำคัญของรัฐในการพัฒนาคุณภาพของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้ (รณรงค์ เมฆานุวัฒน์, 2543 : 6 – 7) การศึกษานอกระบบโรงเรียนจึงถือเป็นกระบวนการของการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งมีภารกิจสำคัญที่จะต้องให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตตามมาตรฐานของสังคมที่เป็นสิทธิที่คนทุกคนพึงได้รับการศึกษา นอกจากนั้นยังจะต้องได้รับการศึกษาที่ต่อเนื่องจากการศึกษาขั้นพื้นฐานของชีวิต เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพของตน (กองส่งเสริมปฏิบัติการ , 2541 : 1 )

         ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15  การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรงชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน

         มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ระบุว่าการศึกษานอกระบบ หมายถึงกิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้

         ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การศึกษานอกระบบหมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มหรือพัฒนาศักยภาพให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านความรู้ ความชำนาญ หรืองานอดิเรกต่างๆ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาอาจได้รับหรือไม่ได้รับเกียรติบัตรก็ได้ ซึ่งเกียรติบัตรนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับเทียบเงินเดือนหรือศึกษาต่อ ยกเว้นการศึกษาสายสามัญของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีการมอบวุฒิบัตรที่สามารถปรับเทียบเงินเดือนหรือศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้

         การศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุและสถานที่โดยมุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนา คุณภาพมนุษย์ มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน สื่อ การวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทความรู้พื้นฐานสายสามัญประเภทความรู้และทักษะอาชีพ และประเภทข้อมูลความรู้ ทั่วไป

หลักการของการศึกษานอกระบบ

         1. เน้นความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมและทั่วถึง
         2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความยืดหยุ่นในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ
         3. จัดการศึกษาให้สนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้เรียนรู้ในสิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิต
         4. จัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนมิได้จำกัดเฉพาะครู อาจจะเป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานหรือจากท้องถิ่น

สรุป

          การศึกษานอกระบบ เป็นกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้พลาดโอกาสเรียนจากระบบการศึกษาปกติ หรือผู้ต้องการพัฒนาตนเอง ได้รับการเรียนรู้ โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนพึงได้รับดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตได้อย่างแท้จริง เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่กว้างขวางและเป็นไปในอัตราที่รวดเร็ว อันจะส่งผลให้ประเทศมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะเป็นการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโดยมุ่งเน้นให้คนมีคุณธรรมนำความรู้ อันจะเป็นสะพานทอดนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาต่อไป

เอกสารและแหล่งอ้างอิง

http://dit.dru.ac.th/home/005/Exellent/Thawatchai-2.doc
http://esan.nfe.go.th/nernec/news1_old.php?page=87
http://asdf.dek-d.com/board/view.php?id=893698
http://cmi.nfe.go.th/nfe/reform.doc

http://www.northnfe.net/download/nfe51_paper2.pdf
http://www.moe.go.th/webpr/wichit/news/m091150/edu1.html

********************************