เอกสารสอบ กศน. ปี 2566

  1. จุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
  2. แบบรวบรวมข้อมูลประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ 2563
  3. การดำเนินงานจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  4. การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
  5. แบบฟอร์มที่ใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
  6. การวัดและประเมินผล
  7. การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
  8. แนวทางการเทียบโอนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
  9. การเรียนรู้แบบโครงงาน
  10. มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561
  11. กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
  12. าตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2562
  13. แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561)
  14. แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงาน กศน.( พ.ศ. 2560 – 2579)
  15. มาตรฐาน กศน.ตำบล ปี พ.ศ 2565
  16. คู่มือปฏิบัติงานการพัสดุ สังกัด กศน. (ก.ย.2561)
  17. แนวทางการเทียบโอน ปวช. กศน.
  18. แนวทางการดำเนินงานอาสาสมัคร กศน. (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)
  19. แนวทางการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ กศน. ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
  20. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงาน กศน. (เพิ่มเติม)
  21. แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ. 2562 
  22. แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ. 2562 
  23. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2562 
  24. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565)
  25. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  26. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
  27. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
  28. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
  29. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
  30. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
  31. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
  32. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
  33. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
  34. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
  35. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. 2547
  36. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
  37. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2547
  38. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551
  39. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539
  40. พระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
  41. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔o
  42. พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551
  43. พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551
  44. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
  45. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
  46. ข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 68) พุทธศักราช 2550
  47. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
  48. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552
  49. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
  50. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
  51. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
  52. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
  53. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
  54. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
  55. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
  56. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
  57. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
  58. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  59. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
  60. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
  61. หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ.  2563 
  62. รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับคุรุสภา  ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ  (ฉบับที่ 4)  พ.ศ. 2562
  63. แนวทางการดำเนินงานเทียบระดับการศึกษา
  64. แผนกการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
  65. หลักเกณฑ์และวิธีการขอความเห็นชอบในการแสดงธงชาติโดยเอกชน พ.ศ. 2563 
  66. คู่มือการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  67. พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร
  68. แนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาของ สำนักงาน กศน.ประจำปี พ.ศ. 2565
  69. แผนปฏิบัติราชการ สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
  70. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)
  71. หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  72. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564
  73. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  74. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

  75. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561

  76. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565
  77. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
  78. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
  79. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2564

  80. พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566

เอกสารเตรียมสอบครูผู้ช่วย กศน.ปี 2558 เรื่อง วิธีสอน

ความนำ

การสอน(Teaching) มีความหมายหลายประการ ดังนี้

การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความสามารถ เจตคติ ค่านิยมและคุณธรรม

การสอน หมายถึง  การชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง

การสอน  หมายถึง การให้ ให้ความรู้ ความรัก ความอบอุ่น ให้คำปรึกษา

การสอน  หมายถึง กระบวนการที่มีระบบระเบียบ ที่ครูและผู้เรียนร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด ความสามารถ เจตคติ ค่านิยมและคุณธรรม ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

การสอนตามความหมายดังที่กล่าวมาแล้ว จะพบว่าการให้ความหมายของการสอนขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของครูและนักการศึกษาที่มุ่งหวังจะใช้กระบวนการทางการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้และมีทักษะ สามารถนำสิ่งที่ได้จากการสอนของครูไปใช้ในชีวิตประจำวันและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ก่อนที่ครูจะสอนทุกครั้งครูควรตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ก่อน คือสอนอะไร สอนใคร สอนทำไม สอนอย่างไร สอนที่ไหน และจะวัดผลด้วยวิธีใด

สอนอะไร คือ เนื้อหาวิชาหรือหลักสูตรที่จัดให้ผู้เรียนมีขอบข่ายแค่ไหน ไม่ยากหรือง่ายเกินไป เนื้อหาต้องท้าทายความสามารถของผู้เรียน ครูไม่ควรยึดเนื้อหาในหนังสือเรียนหรือแบบเรียนเล่มใดเล่มหนึ่งเป็นหลักตายตัว และประการสำคัญเนื้อหาที่จะสอนต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

สอนใคร ผู้สอนจะต้องทราบว่า ผู้เรียนเป็นใครมีเพศ วัย ฐานะทางเศรษฐกิจ ครอบครัว อาชีพ ประสบการณ์เดิม และมีความสนใจอะไร เพื่อจะได้ทราบถึงสภาพความพร้อม การจัดเตรียมเนื้อหาและกิจกรรมการสอนให้เหมาะสม

สอนทำไม คือการกำหนดจุดประสงค์ในการสอน ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะผู้สอนจะต้องนำพาผู้เรียนไปสู่จุดใด จึงจะบรรลุตามจุดประสงค์หรือเจตนาของหลักสูตร

ดังนั้นการกำหนดจุดประสงค์ในการสอนจึงเป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ คือเกิดความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของแต่ละรายวิชา การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้จะต้องให้ครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ

  1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive) คือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เน้นความสามารถด้านสมอง คือความจำ ความเข้าใจ หรือความรู้ในด้านหลักการ ทฤษฎี วิธีการ
  2. ด้านทักษะพิสัย (Skill) คือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง
  3. ด้านจิตพิสัย (Affective) คือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เน้นด้านทัศคติ เจตคติ ความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องนั้น ๆ เช่นความสำคัญ คุณค่า ประโยชน์

สอนอย่างไร  คำตอบนี้เป็นหัวใจของการสอน ซึ่งเป็นการนำเอาเทคนิควิธีการสอน สื่อการเรียนต่าง ๆ ที่ได้เลือกสรรไว้มาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา ผู้สอนพึงตระหนักไว้เสมอว่าไม่มีเทคนิคการสอนใดและรูปแบบการสอนใดที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับผู้เรียนทุกกลุ่ม การสอนควรแปรเปลี่ยนไปตามกลุ่มผู้เรียน

สอนที่ไหน  หมายถึงสถานที่จัดการเรียนการสอน สอนในห้องเรียน  ถ้าสอนในห้องเรียนต้องทราบถึงขนาดของห้องว่าห้องเล็ก ใหญ่แค่ไหน มีแสงสว่างเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์เหมาะสมหรือไม่

  วัดผลด้วยวิธีใด ในการสอนทุกครั้ง ครูควรเตรียมวิธีการวัดผลและประเมินผลไว้ล่วงหน้า อาจเป็นแบบทดสอบ วิธีการสังเกต สัมภาษณ์หรือตรวจผลงาน เพื่อตรวจสอบดูว่าสิ่งที่สอนไปนั้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่เพียงใด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป

วิธีสอน

วิธีสอนมีหลายวิธีด้วยกัน วิธีสอนแต่ละวิธีนั้นจะเหมาะสมกับเนื้อหาที่ใช้สอนต่างกัน เนื้อหาหนึ่งอาจเหมาะสมกับวิธีสอนหนึ่ง ครูผู้สอนจะต้องใช้วิจารณญาณเพื่อพิจารณาอย่างรอบคอบว่าแต่ละเนื้อหาจะใช้วิธีสอนวิธีใด และต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของวิธีสอนกับวัยของผู้เรียน จึงจะทำให้การเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีสอนแบบต่าง ๆ ที่นิยมใช้มีอยู่ทั่วไปมีดังนี้

1.วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method )

วิธีสอนแบบบรรยาย คือวิธีสอนที่ครูเป็นผู้บรรยาย ครูจะต้องเตรียมความรู้ที่จะสอนเป็นอย่างดี ให้เข้าใจเนื้อหาที่จะบรรยายจนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้อย่างคล่องแคล่ว เสียงดังฟังชัด มีระดับเสียงสูง ต่ำ เบาอย่างเหมาะสม ครูอาจบรรยายประกอบ เช่น PowerPoint , Video ,ภาพประกอบ, แผนภูมิ เอกสารประกอบคำบรรยาย  และเมื่อจบการบรรยายครูจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย

ขั้นตอนวิธีสอนแบบบรรยาย

ขั้นที่ 1     ขั้นเตรียม ครูค้นคว้า รวบรวมความรู้ที่จะนำมาสอนเป็นอย่างดี ลำดับการสอนเป็นหมวดหมู่และตามความยากง่ายของเนื้อหา จัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมนำมาจัดไว้ให้พร้อมและเตรียมว่าอุปกรณ์สำหรับใช้ในแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสม

ขั้นที่ 2    ขั้นสอน ครูนำเข้าสู่บทเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน แล้วครูก็อธิบายช้า ๆ อย่างชัดเจน อาจอธิบายประกอบรูปภาพ แผนภูมิ หรือยกตัวอย่างประกอบ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย

ขั้นที่ 3   ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุป เพื่อทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดและให้ผู้เรียนจดบันทึกไว้

ขั้นที่ 4   ขั้นวัดผล ครูสังเกตความสนใจ ความเข้าใจของผู้เรียน โดยวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมเช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบ การทำแบบฝึกหัด การตรวจผลงาน เป็นต้น

ข้อดีของวิธีสอนแบบบรรยาย

  1. ครูได้อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากหนังสือหรือแบบเรียนมากขึ้น
  2. ผู้เรียนเกิดทักษะในการฟังและการเขียน
  3.   ผู้เรียนมีอิสระในการเขียนหรือตอบคำถาม

ข้อเสียวิธีสอนแบบบรรยาย

  1. ผู้เรียนไม่ได้ค้นคว้าและอภิปรายด้วยตนเอง
  2. ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเพราะต้องฟังเป็นส่วนใหญ่
  3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย
  4. ผู้เรียนที่มีพื้นฐานการเรียนอ่อนหรือปานกลางจะเรียนไม่ค่อยทัน

 2.วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)

วิธีสอนแบบอภิปราย เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น  ฝึกให้ผู้เรียนเป็นประชาธิปไตย รวมทั้งฝึกการฟัง การพูดและการเขียนเป็นอย่างดี ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นนักอ่านและนักค้นคว้าที่ดี เพราะวิธีสอนแบบอภิปรายจะท้าทายให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

ความมุ่งหมายวิธีสอนแบบอภิปราย

  1. เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน
  2. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
  3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการทำงานแบบประชาธิปไตย

การสอนแบบอภิปราย

      โดยปกติแล้วการสอนแบบอภิปรายครูจะกำหนดหัวข้ออภิปราย ผู้เรียนอภิปราย ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น

 วิธีที่มีผู้มาอภิปรายประมาณ 2-6 คน มาอภิปรายหน้าชั้นเรียน มีผู้ดำเนินการอภิปราย 1 คน ผู้เรียนที่เหลือจะเป็นผู้อภิปราย โดยอภิปรายตามหัวข้อย่อยที่ได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาค้นคว้ามา ผู้ดำเนินการอภิปรายจะเป็นผู้สรุปการอภิปรายของสมาชิกทุกคนที่อภิปรายเสร็จแล้ว โดยจะสรุปเมื่อสมาชิกอภิปรายจบทีละคน ครูจะทำหน้าที่คอยช่วยเหลือแนะนำตลอดการอภิปราย

  1. วิธีอภิปรายแบบที่ผู้เรียนทุกคน อภิปรายปัญหาเดียวกัน ทุกคนจะช่วยกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องนั้นอย่างกว้างขวาง ภายใต้การแนะนำของครู วิธีการอภิปรายแบบนี้นำมาใช้กับการอภิปรายเพื่อมุ่งแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งของส่วนรวม
  2. วิธีอภิปรายแบบแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นตัวแทนของผู้ฟัง อีกกลุ่มหนึ่งเป็นวิทยากร ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายและจะตอบข้อซักถามต่าง จากตัวแทนกลุ่มผู้ฟัง การอภิปรายแบบนี้เหมาะสมกับนำไปใช้ในการประชุม หรืออบรม
  3. วิธีอภิปรายร่วมกัน คือการอภิปรายปัญหาเดียวกัน มีครูหรือวิทยากรเป็นที่ปรึกษาและแนะนำ ผู้อภิปรายจะเลือกผู้ทำหน้าที่ประธาน เลขา และผู้ช่วยเลขา และร่วมกันอภิปรายปัญหานั้นอย่างกว้างขวาง ประธานจะเป็นผู้สรุปสุดท้าย เลขา ผู้ช่วยเลขา จะเป็นผู้จดบันทึก

วิธีสอนแบบอภิปราย เป็นวิธีสอนที่จะช่วยแก้ปัญหาผู้เรียนที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ซึ่ง

จะทำให้ผู้เรียนสนใจฟังผู้อื่น กล้าแสดงความคิดเห็น รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนมีเหตุมีผล และจะกลายเป็นนักประชาธิปไตยที่ดี

เมื่อการอภิปรายจบลงแล้ว ผู้ดำเนินการอภิปรายจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่นั่งฟังการอภิปรายซักถาม

แสดงความคิดเห็นทั้งในด้านเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หรือการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย

ข้อดีการสอนแบบอภิปราย

ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น

  1. พัฒนาสติปัญญาของผู้เรียนด้านความคิด
  2. ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนเพื่อนำมาใช้ในการอภิปราย
  3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนการเคารพในเหตุผลของผู้อื่น

ข้อจำกัดสอนแบบอภิปราย

  1. ในบางหัวข้อสิ้นเปลืองเวลาในการอภิปรายมาก หากประธานคุมสถานการณ์ได้ไม่ดี
  2. การตั้งหัวข้อไม่ดีจะทำให้การอภิปรายไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย

3.วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือวิทยาศาสตร์

                                  (Problem – Solving or Scientific Method)

         วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ของคนที่ว่า “คนจะเกิดการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อเกิดปัญหา” เมื่อเกิดปัญหาหรือมีปัญหาเกิดขึ้น คนก็ต้องการรู้ว่าจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ทำอย่างไรปัญหานั้นจึงจะหมดไป ดังนั้นวิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือแบบวิทยาศาสตร์ จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นก็ต่อเมื่อมีปัญหา ถ้าไม่มีปัญหาก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ การสอนแบบแก้ปัญหาหรือวิทยาศาสตร์  มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1. ศึกษาปัญหา

ครูและผู้เรียนจะต้องช่วยกันตั้งปัญหาขึ้น ปัญหาที่ได้ควรเป็นปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ เมื่อได้ปัญหาแล้วก็กำหนดขอบเขตของปัญหาว่าศึกษาอะไรบ้าง

หน้าที่ของครู

  1. ช่วยแนะแนวทางให้ผู้เรียนมองเห็นปัญหา
  2. จัดสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนได้เข้าใจปัญหา โดยใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อการสอน

3 ช่วยผู้เรียนในการกำหนดจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา และสร้างความเข้าใจแก่ ผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียน

ขั้นที่ 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน

           ขั้นนี้ผู้เรียนระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา แล้วรวบรวมแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นไปได้

หน้าของครู

2.1 ช่วยผู้เรียนวางแผนการว่า จะแก้ปัญหาด้วยวิธีใด

2.2 แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ให้ทำงานตามความสามารถและสนใจ

2.3 แนะนำผู้เรียนแต่ละกลุ่มให้รู้จักแหล่งความรู้เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 3. ขั้นทดลองปฏิบัติตามสมมติฐาน

เป็นขั้นการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการลงมือปฏิบัติจริง จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

หน้าที่ของครู

  1. ช่วยผู้เรียนให้เข้าใจปัญหาและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
  2. แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักวิธีแก้ปัญหาและแหล่งความรู้สำหรับแก้ปัญหา
  3. ช่วยแนะนำให้ผู้เรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ

ขั้นที่ 4. ขั้นวิเคราะห์ผลการปฏิบัติการทดลอง

ขั้นนี้ครูและผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการปฏิบัติการทดลองหรือจากการแก้ปัญหา ว่าได้ผลอย่างไร มีปัญหาแทรกซ้อนอะไรบ้างที่จะต้องแก้ไข

หน้าที่ของครู

1 ครูช่วยแนะนำให้เมื่อจำเป็นจริงๆ

  1. ให้คำแนะนำในการแสดงผลงาน

3 . ให้คำแนะนำในการจัดทำรายงานหรืออภิปราย

4.ให้คำแนะนำในการ แสดงวิธีการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 5. ขั้นสรุปผลและการนำไปใช้

เมื่อจบบทเรียนครูและผู้เรียนจะต้องสรุปเรียบเรียงให้มีระเบียบ บันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อวัดผลงานบทเรียนที่เรียนไปแล้วได้ผลดีและผลเสียอย่างไร

หน้าที่ของครู

  1. ครูควรสังเกตการทำงานของผู้เรียนทุกระยะว่าตั้งใจทำและหาความรู้ได้จริงหรือไม่
  2. จัดให้ผู้เรียนทุกกลุ่มได้อภิปรายเกี่ยวกับผลงานที่ได้กระทำไป
  3. จัดให้ผู้เรียนทุกกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานซึ่งกันและกัน เพื่อจะได้นำความรู้และประสบการณ์เหล่านั้น ไปประยุกต์ใช้ต่อไป
  4. เมื่อจบบทเรียนจัดให้มีการทดสอบ ความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียน

ข้อดีวิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือวิทยาศาสตร์

  1. ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
  2. ส่งเสริมผู้เรียนได้มีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
  3. ส่งเสริมผู้เรียนมีความเป็นประชาธิปไตย
  4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ
  5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดหาเหตุผล

       

 

  1. วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)

วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ โดยจัดให้ผู้เรียนเรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลได้เป็นผู้วางโครงการหรือวางแผนในการทำกิจกรรมเองและดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงการนั้น โดยครูเป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น

ความมุ่งหมาย

  1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกที่จะรับผิดชอบในการทำงานต่างๆ
  2. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิด
  3. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกดำเนินงานตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

ขั้นตอนในการสอน

ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย ขั้นนี้ครูจะเป็นผู้ชี้แนะให้ผู้เรียนตั้งความมุ่งหมายของการเรียนว่าจะเรียนเพื่ออะไร

ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ ผู้เรียนจะช่วยกันวางแผนว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ จะใช้วิธีการใดในการทำกิจกรรม

ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการ เป็นขั้นที่ผู้เรียนลงมือกระทำกิจกรรมหรือลงมือแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ ครูคอยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้กระทำ ได้คิดและตัดสินใจด้วยตนเองให้มากที่สุดและควรชี้แนะให้ผู้เรียนรู้จักวัดผลการทำงานเป็นระยะๆ

ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินผลว่ากิจกรรมหรือโครงการที่ทำนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร และควรแก้ไขอย่างไร

ข้อดีวิธีสอนแบบโครงการ

  1. ผู้เรียนมีความสนใจเพราะได้ลงมือปฏิบัติจริง
  2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานอย่างมีแผน และให้รู้จักประเมินผลงานของตนเอง
  3. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และให้มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  4. การสอนแบบโครงงาน (Project Design)

โครงงาน(Project) หมายถึง การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำ ปรึกษาและดูแลของครู อาจใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการศึกษา เพื่อให้การศึกษา ค้นคว้า นั้นบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ การสอนแบบโครงงานมีประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนมาก คือทำให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสร้างเสริมเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ กระตือรือร้นในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประโยชน์ของการสอนแบบโครงงาน

  1. ผู้เรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง
  2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม
  3. ผู้เรียนมีวางแผนการทำงานเป็นระบบ
  4. ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

5.ผู้เรียนได้ ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทำงาน

  1. การที่ผู้เรียนได้แสดงการทำงานตามให้เพื่อน ๆ ครู และผู้เกี่ยวข้องได้เห็น จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง

         โครงงาน หมายถึง การกำหนดรูปแบบในการทางานอย่างเป็นระเบียบ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงาน / ผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนำไปใช้ประโยชน์กับชีวิตจริง

ประเภทของโครงงาน แบ่งงออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. ประเภทสำรวจ (Survey research project) เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีอยู่ แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ
  2. ประเภทการทดลอง (Experimental research project) เป็นการศึกษาหาคำตอบตัวแปรต้นที่กำหนด มีผลต่อตัวแปรตามหรือไม่ อย่างไร โดยการควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรต้น
  3. ประเภทพัฒนาหรือประดิษฐ์คิดค้น (Developmental research project or invention) เป็นการนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหรือประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในงานหรือแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
  4. ประเภทการสร้างหรืออธิบายทฤษฎี (Theoritical research project) เป็นการศึกษา ค้นคว้า แนวคิด ทฤษฎีใหม่ ๆ หรืออธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีหลักการ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน

ขั้นตอนการสอนแบบโครงงาน

ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกปัญหาที่จะศึกษา

ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กำหนดปัญหา แนวคิดและวิธีการที่จะใช้แก้ปัญหาตามความสนใจต้องการรู้ของตนเอง  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของเรื่องที่จะศึกษา เวลา ความรู้ความสามารถ และแหล่งข้อมูลที่จะศึกษา

ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน

ผู้เรียนจะต้องวางแผนการทำงานในทุกขั้นตอนอย่างละเอียดเพื่อป้องกันความผิดพลาดและสับสนในการดำเนินการทำโครงงาน ขั้นตอนดังกล่าวประกอบด้วย

  1. การกำหนดปัญหาและขอบเขตของการศึกษา
  2. การกำหนดวัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา สมมติฐาน และนิยามเชิงปฏิบัติการ
  3. การวางแผนรวบรวมข้อมูล และการค้นคว้าเพิ่มเติม
  4. กำหนดวิธีดำเนินงาน ได้แก่แนวทางการศึกษา ค้นคว้า วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ การออกแบบการทดลอง การควบคุมตัวแปร การสำรวจและรวบรวมข้อมูล การประดิษฐ์คิดค้น การวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอน

ขั้นที่ 3 ลงมือทำโครงงาน

ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 2 และถ้ามีปัญหาให้ขอแนะนำ ปรึกษาครูหรือที่ปรึกษา

ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน

ผู้เรียนจะต้องเสนอผลงานการศึกษา ค้นคว้า เป็นเอกสารอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ และทราบถึงปัญหา วิธีการ และผลสรุปที่ได้จากการศึกษา พร้อมทั้งอภิปรายผลและให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป

บทบาทของครู

  1. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการทำโครงงาน
  2. แนะแนวให้ผู้เรียนรู้หลักการและวิธีการในการทำโครงงาน
  3. จัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
  4. แนะแนวทางแก่ผู้เรียนในการเลือกปัญหาที่จะศึกษา
  5. ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในการวางแผนดำเนินงานโครงงาน
  6. อำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนในการทำโครงงาน
  7. ติดตามการทำโครงงานของผู้เรียนทุกระยะ และให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
  8. ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในการเขียนรายงานโครงงาน
  9. ให้โอกาสผู้เรียนแสดงผลงานของตนให้โอกาสและรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
  10. ประเมินผลการทำโครงงานของผู้เรียนเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำโครงงานของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
  1.  วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)

วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน คือ การที่ครูมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ช่วยกันค้นคว้าแก้ปัญหา หรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ตามความถนัด หรือตามความสนใจ เป็นการฝึกให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันตามวิธีแบบประชาธิปไตย ทุกคนจะต้องดำเนินการตามที่มอบหมายให้ เป็นวิธีที่จะช่วยฝึกฝนผู้เรียนให้ได้รับประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้เพื่อนร่วมงาน แต่ต้องดำเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์ ครูจะต้องวางแผนให้ผู้เรียนทุกคนในแต่ละกลุ่มปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ความมุ่งหมายสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน

  1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานอย่างมีระบบและระเบียบวินัย รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ทุกคนต้องทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มจะต้องคอยประสานงานระหว่างสมาชิกในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มกับครู หน้าที่นี้ควรจะหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันตามโอกาส เพื่อฝึกการเป็นผู้นำของทุกคน
  2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำงานเฉพาะอย่าง ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
  3. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเลือกทำงานตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถ

ขั้นตอนในการสอน

ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย เป็นขั้นที่ตั้งความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด ถ้าเป็นครั้งแรกครูควรดูแลอย่างใกล้ชิด

ขั้นที่ 2 ขั้นเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ เป็นขั้นที่ครูผู้สอนบอกรายละเอียดของหนังสือสำหรับค้นคว้า

ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผน เป็นขั้นที่ผู้เรียนวางแผนทำงานร่วมกัน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ครูสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการร่วมมือกันทำงาน

ข้อดีวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน

  1. ผู้เรียนสามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเต็มที่

2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจ

           7.วิธีการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leaning )วิธีการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน หมายถึง การจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือกันในชั้นเรียน ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์การยอมรับซึ่งกันและกันสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เรียนทุกคนนอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย เพราะในชั้นเรียนที่มีความร่วมมือ ผู้เรียนจะได้ฟัง เขียน อ่าน ทวนความ อธิบาย และปฏิสัมพันธ์ ผู้เรียนจะเรียนด้วยการลงมือกระทำ ผู้เรียนที่มีจุดบกพร่องจะได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม

   ความมุ่งหมายของการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน คือ การให้ผู้เรียนทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม โดยยังคงรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อสมาชิกกลุ่ม ในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมนั้น จุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้สำเร็จเท่านั้น

ขั้นตอนการสอนมี 5 ชั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นแนะนำ ด้วยการบอกว่าชั้นเรียนแบ่งเป็นกี่กลุ่ม กลุ่มละกี่คน สมาชิกแต่ละคนต้องรับผิดชอบที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่กลุ่มได้รับให้ได้มากที่สุดแต่ละกลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น มีหน้าที่จะสอนกลุ่มอื่น ๆ ด้วย ทุกคนจะได้รับผลการเรียน(เกรด)เป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่ม

ขั้นที่ 2 ขั้นแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนคละกัน แล้วให้กลุ่มตั้งชื่อกลุ่ม เขียนชื่อกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มบนป้ายนิเทศ ผู้สอนแจ้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติระหว่างการประชุมกลุ่ม ดังนี้

1. ห้ามผู้เรียนคนใดออกจากกลุ่มก่อนที่งานกลุ่มจะเสร็จ

2. ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบที่จะให้สมาชิกทุกคนเข้าใจและทำงานให้เสร็จสมบูรณ์

3. ถ้าผู้เรียนคนใดไม่เข้าใจเรื่องใด ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มก่อนที่จะถามผู้สอน

ขั้นที่ 3  สร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้สอนแจกเอกสารหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งภายในบรรจุด้วย

เนื้อหา ถ้ามีกลุ่ม 6 กลุ่ม ผู้สอนต้องเตรียมเอกสาร 6 ชุด ผู้เรียนที่ได้รับหัวข้อเดียวกันจะศึกษาเรื่องนั้นด้วยกัน เมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว ก็เตรียมตัววางแผนกการสอนเพื่อกลับไปสอนสมาชิกในกลุ่มเดิมของตน

ขั้นที่ 4 ขั้นผู้เชี่ยวชาญสอนเพื่อนในกลุ่มทุกคนจะผลัดกันสอนเรื่องที่ไปศึกษามาตรวจสอบความเข้าใจ และช่วยเพื่อนสมาชิกในการเรียน

ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและให้คะแนนแต่ผู้เรียนละคน ผู้สอนทำการทดสอบเพื่อดูว่าต้องสอนเพิ่มเติมหรือไม่ และให้เกรด และคิดคะแนนกลุ่ม

                            8. วิธีการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method )

 วิธีสอนแบบอุปนัยหมายถึงการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้ผู้เรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป

            ความมุ่งหมายวิธีสอนแบบอุปนัย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิด ต่างๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย

ขั้นที่ 1  ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวผู้เรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม กำหนดจุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

ขั้นที่ 2 ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้พิจารณา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่าง ควรเสนอหลายๆ ตัวอย่างให้มากพอที่จะสรุปกฎเกณฑ์ได้ ไม่ควรเสนอเพียงตัวอย่างเดียว

ขั้นที่ 3. ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การที่ผู้เรียนได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ไม่ควรรีบร้อนหรือเร่งเร้าผู้เรียนเกินไป

ขั้นที่ 4  ขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่าง ๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นิยามหลักการ หรือสูตร ด้วยตัวผู้เรียนเอง

ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาอื่น ๆ ได้หรือไม่

ข้อดีวิธีการสอนแบบอุปนัย 

1. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน

2. ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์

3. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้อง

 

ข้อจำกัดวิธีการสอนแบบอุปนัย 

1. วิธีการสอนแบบอุปนัย  ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ

2. ใช้เวลามาก อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย

3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป

4. ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะทำให้บรรลุจุดมุ่งหมาย

                                9. วิธีสอนแบบนิรนัย ( Deductive Method )

วิธีสอนแบบนิรนัย  หมายถึง การสอนที่เริ่มจากฎ หรือ หลักการต่าง ๆแล้วให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักใช้กฎ สูตร และหลักเกณฑ์

ต่าง ๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา ไม่ตัดสินใจทำงานอย่างง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน

ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย

ขั้นที่ 1 ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ   เช่นเราจะหาพื้นที่ของวงกลมอย่างไร  ปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริงของชีวิต และเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน

ขั้นที่ 2  ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยามมากกว่า 1 อย่างมาอธิบาย เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 3  ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยาม ที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 4  ขั้นพิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นที่สรุปกฎ หรือ นิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่าง ๆ และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง

ข้อดีวิธีการสอนแบบนิรนัย 

1. วิธีสอนแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่าย ๆ หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ จะสามารถอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ดี และเป็นวิธีสอนที่ง่ายกว่าสอนแบบอุปนัย

2. ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง

ข้อจำกัดวิธีการสอนแบบนิรนัย 

1. วิธีสอนแบบนิรนัยที่จะใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหาซึ่งไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้และคุณค่าทางอารมณ์

2. เป็นการสอนที่ผู้เรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเองเพราะครูกำหนดความคิดรวบยอดให้

                                10. วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming ) 

          การระดมสมองหมายถึง วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันที ไม่มีใครกระตุ้นกลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสั้นโดยในขณะนั้นจะไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไร

           ลักษณะสำคัญวิธีสอนแบบระดมพลังสมอง คือ แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้ ให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทางเลือก

ขั้นตอนวิธีสอนแบบระดมพลังสมอง 

ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหา

ขั้นที่2 ขั้น แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปรายและบันทึกผลการระดมสมอง

ขั้นที่3 ขั้นสมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้

ขั้นที่ 4 ขั้นคัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด

ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงาน แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน

ขั้นที่ 6 อภิปรายและสรุปผล

ข้อดีวิธีสอนแบบระดมพลังสมอง 

1. ฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

2. ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักยอมรับความเห็นที่แตกต่างกัน

3. ฝึกให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือทางเลือกได้มาก ภายในระยะเวลาอันสั้น

4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการร่วมมือกัน

ข้อจำกัดวิธีสอนแบบระดมพลังสมอง 

1. ประเมินผลผู้เรียนแต่ละคนได้ยาก

2. อาจมีผู้เรียนเพียงไม่กี่คนที่อภิปรายเป็นส่วนใหญ่

3. เกิดเสียงดังรบกวนห้องเรียนข้างเคียง

4. ถ้าผู้ทำหน้าจดบันทึกจดไม่ทันจะทำให้การระดมพลังสมองต้องใช้เวลามากขึ้น

5. หัวข้อจะต้องชัดเจน รัดกุม และมีประธานที่มีความสามารถในการดำเนินการ

และสรุปการอภิปราย

                              11. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice )

วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ หมายถึงวิธีสอนที่ให้ประสบการณ์ตรงกับผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

             ลักษณะสำคัญวิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ  คือ การลงมือปฏิบัติที่ดำเนินการภายหลังการสาธิต การทดลองหรือการบรรยาย เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ

ขั้นตอนการสอน

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม ผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติ รายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน เตรียมสื่อต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือใบงานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน

ขั้นที่ 2  ขั้นดำเนินการ ผู้สอนให้ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ มอบหมายงานที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล กำหนดหัวข้อการรายงาน หรือการบันทึกผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ผู้สอนและผู้เรียน ช่วยกันสรุปกิจกรรมการปฏิบัติงาน

ขั้นที่ 4. ขั้นประเมินผล สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เช่น ความสนใจ ความร่วมมือความเป็นระเบียบ การประหยัด การใช้และการเก็บรักษาเครื่องมือ และการตรวจผลงาน เช่นคุณภาพของงาน ความริเริ่มสร้างสรรค์ ความประณีตสวยงาม

                           12. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation )

วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึง วิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ในชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือจริงที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ ด้วยกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหาจะต้องมีการตัดสินใจและใช้ไหวพริบ วัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์จนเกิดความเข้าใจ

ลักษณะสำคัญวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  คือ สถานการณ์ที่จำลองขึ้นต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริง ผู้เรียนได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์ ทำการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจจะส่งผลถึงผู้เรียนในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง

ขั้นตอนการสอน

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม ผู้สอนจัดเตรียมสถานการณ์โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนแล้วเลือกรูปแบบและขั้นตอนที่เหมาะสม เขียนเนื้อหารายละเอียดและอุปกรณ์ที่ต้องใช้

ขั้นที่ 2  ขั้นดำเนินการ ผู้สอนอธิบายบทบาทหรือกติกา วิธีการเล่น วิธีการให้คะแนนและทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมที่กำหนด โดยมีผู้สอนให้คำแนะนำและดูแล ผู้สอนทำการสังเกต จดบันทึก และให้คะแนนผู้เรียนเป็นรายบุคคล

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ผู้สอนจะช่วยสรุปด้วยการวิเคราะห์กระบวนการ เปรียบเทียบบทเรียนจากสถานการณ์จำลองกับความเป็นจริงหรือเชื่อมโยงกิจกรรมที่ปฏิบัติไปแล้วกับเนื้อหาวิชาที่เรียน

 

 

 

ข้อควรคำนึงวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง 

1. ถ้าผู้สอนขาดความรู้ในการสร้างสถานการณ์จำลอง อาจสร้างผิดไปจากจุดมุ่งหมายได้

2. สถานการณ์จำลองที่ยากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ

3. เป็นการยากที่จะประเมินผู้เรียนแต่ละคน

                              13. วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )

วิธีสอนแบบสาธิต หมายถึงวิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง

              ความมุ่งหมายวิธีสอนแบบสาธิต 

1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียนยิ่งขึ้น

2. เพื่อช่วยในการอธิบายเนื้อหาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก ให้เข้าใจง่ายขึ้น และประหยัดเวลา บางเนื้อหาอาจจะอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจได้ยาก การสาธิตจะทำให้ผู้เรียนได้เห็นขั้นตอนและเกิดความเข้าใจง่าย

3. เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตและการสรุปทำความเข้าใจในการสอนโดยใช้วิธีสาธิต ผู้เรียนจะฟังคำอธิบายควบคู่ไปด้วย และต้องสังเกตขั้นตอนต่าง ๆ ตลอดจนผลที่ได้จากการสาธิตแล้วจึงสรุปผลของการสาธิต

4. เพื่อแสดงวิธีการหรือกลวิธีในการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เช่น การทำกิจกรรมในวิชคหกรรม วิชาศิลปะ ฯลฯ

5. เพื่อสรุปประเมินผลความเข้าใจในบทเรียน

6. เพื่อใช้ทบทวนผลความเข้าใจในบทเรียน

ขั้นตอนในการสอน

ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดจุดมุ่งหมายของการสาธิตให้ชัดเจน และต้องสาธิตให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง

ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมอุปกรณ์ในการสาธิตให้พร้อม และตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์

ขั้นที่ 3 ขั้นเตรียมกระบวนการสาธิต เช่น กำหนดเวลาและขั้นตอน จะเริ่มต้นดำเนินการและจบลงอย่างไร ผู้สาธิตต้องเข้าใจในขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้อย่างละเอียด ชัดเจน

ขั้นที่ 4 ขั้นทดลองสาธิตก่อนสอน ควรทดลองสาธิตเพื่อตรวจสอบความพร้อมตลอดจนผลที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในเวลาสอน

ขั้นที่ 5  ขั้นจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิต เพื่อที่ผู้เรียนใช้ประกอบในขณะที่มีการสาธิต

ขั้นที่ 6 ขั้นสาธิตซ้ำ  เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นแล้วควรให้ผู้เรียนได้ทำการสาธิตซ้ำอีก เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 7 ขั้น จัดเตรียมกิจกรรมหลังจากการสาธิตเพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าหรือประโยชน์

ของการสาธิตนั้นๆ

ขั้นที่ 8 ขั้นประเมินผลการสาธิต โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของผู้เรียนและผลของการเรียนรู้ การประเมินผลควรมีกิจกรรมหรือเครื่องมือ เช่น การทดสอบ การให้แสดงความคิดเห็นหรือการอภิปรายประกอบ

14. วิธีสอนโดยการศึกษานอกสถานที่(Frield-Trip)

วิธีสอนโดยการศึกษานอกสถานที่ เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศจากการเรียนที่จำเจในห้องเรียน เป็นการออกไปศึกษาจากของจริงที่จะช่วยให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่เรียน ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง ได้ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดเจตคติที่ดีทั้งต่อสถานที่และต่อการเรียนรู้  ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย

วิธีการสอนการศึกษานอกสถานที่

1.             การวางแผน ครูกับผู้เรียนวางแผนร่วมกันในเรื่องวัตถุประสงค์ เรื่องที่จะไปศึกษา  สถานที่ที่จะไปศึกษา  วิธีการศึกษา ค่าใช้จ่าย กำหนดการ และหน้าที่ความรับผิดชอบ การขออนุญาตไปการศึกษานอกสถานที่ให้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้

2.             ครูและผู้เรียนไปยังสถานที่ที่กำหนดไว้

3.             ผู้เรียนศึกษาเรื่องต่างๆ ในสถานที่นั้นตามกระบวนการและวิธีศึกษาที่ได้วางแผนไว้

4.             ครูและผู้เรียนสรุปผลการเรียนรู้และเดินทางกลับ

ข้อเสนอแนะในการจัดการสอนการศึกษานอกสถานที่

1.             การวางแผน ครูและผู้เรียนควรมีการวางแผนร่วมกันก่อนจะเดินทางไปศึกษานอกสถานที่ ครูควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนในชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการไปศึกษา การเลือกสถานที่ที่จะไป ทำความตกลงเรื่องต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่นการเดินทาง เรื่องที่จะศึกษา วิธีการที่จะศึกษา กำหนดการ ค่าใช้จ่าย และหน้าที่ความรับผิดชอบ

2.             การเดินทางไปศึกษานอกสถานที่ ครูควรดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความปลอดภัย สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน และให้คำปรึกษาแนะนำตามความเหมาะสม

3.             เมื่อไปถึงสถานที่ศึกษา ครูควรประชุมผู้เรียนทั้งหมดก่อนให้ผู้เรียนไปศึกษาตามแผนที่กำหนดไว้โดยเน้นย้ำถึงเรื่องต่อไปนี้

1)            วัตถุประสงค์ของการมาศึกษา

2)            การเคารพต่อสถานที่ ไม่ทำสิ่งใดอันเป็นการทำลายหรือทำความเสียหายต่อสถานที่

3)            ความปลอดภัย

4)            ศึกษาตามวิธีการที่กำหนดไว้

5)            การนัดหมายและการตรงต่อเวลา

4.             การสรุปผลจากการศึกษา หลังจากที่ชมและศึกษาแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนมักไม่มีเวลาสรุปการเรียนรู้ในทันที เพราะต้องรีบเดินทางกลับ  แต่หากไม่รีบเดินทางกลับ และสามารถจัดสรรเวลาได้เพื่อสรุปและประเมินผลการเรียนรู้ในทันทีจะให้ผลดีมาก เนื่องจากผู้เรียนยังจำความรู้และประสบการณ์ที่ศึกษาได้ แต่ถ้าไม่มีเวลาเมื่อกลับไปยังสถานศึกษาแล้วควรจัดให้มีการสรุปและประเมินผลการเรียนรู้ในทันที

5.             การสรุปผลการเรียนรู้ การสรุปผลการเรียนรู้ควรครอบคลุมใน 3 ด้าน คือ

1)            ด้านความรู้ในเรื่องที่ศึกษา

2)            ด้านเจตคติ

3)            ด้านกระบวนการ เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น

วิธีการสรุปผลการเรียนรู้มีหลายวิธี เช่น การให้ผู้เรียนแต่ละคนนำเสนอประสบการณ์และข้อมูลที่ตนศึกษาและอภิปรายร่วมกัน หรือการเขียนรายงาน จัดนิทรรศการ การประชุม

15. การจัดกิจกรรมแนะแนว

1.ความหมายของการแนะแนว

การแนะแนว ( Guidance) หมายถึง กระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม สามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

2. ปรัชญาของการแนะแนว

การแนะแนวยึดหลักปรัชญาต่อไปนี้

1.1      บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา ความสนใจ ความสามารถ ความถนัดและเจตคติ

1.2      บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่ในตน ควรพัฒนาให้เจริญขึ้นทุกด้าน

1.3      บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยและสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ

1.4      พฤติกรรมทุกอย่างของบุคคลย่อมมีสาเหตุ การที่บุคคลแสดงออกอย่างใดหรือเป็นเช่นไร ย่อมเกิดจากตนเองหรือสิ่งแวดล้อมเหตุ

1.5      บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและต้องการยอมรับซึ่งกันและกัน

1.6      ธรรมชาติของคนอยู่รวมกันเป็นสังคม จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

3.ความจำเป็นของการแนะแนว

3.1การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและสิ่งแวดล้อม ทำให้สังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ยากต่อการเข้าใจ ทำให้ผู้เรียนมีความสับสนในการปรับตัว ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างเหมาะสม

3.2   ปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป   มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การแนะแนวจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความพร้อมของตนเองได้อย่างเหมาะสม

3.3   ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การแนะแนวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนและสามารถปรับตัวได้

3.4 ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้บุคคลมีปัญหาต่าง ๆกัน การปรับตัวจึงต้องมีการให้คำปรึกษาและการแนะแนวแก่ผู้เรียน

4. หลักของการแนะแนว

4.1 การแนะแนวต้องจัดเพื่อผู้เรียนทุกคน

4.2 การแนะแนวควรเป็นการช่วยให้ผู้เรียนนำตนเองได้

4.3 การแนะแนวจะต้องมีข้อมูลของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ตรงตามข้อเท็จจริง และเป็นปัจจุบัน

4.4 การแนะแนวจะต้องจัดอย่างต่อเนื่อง

4.5 การจัดการแนะแนวจะต้องมีการประสานงาน และร่วมมือระหว่างบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน     และภายนอกสถานศึกษา

4.6 การแนะแนวจะต้องทำควบคู่ไปกับการเรียนการสอน

4.7 การแนะแนวควรจัดบริการด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคม

5. เป้าหมายของการแนะแนว

การแนะแนวเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัวผู้เรียน โดยมีเป้าหมายดังนี้

5.1 การป้องกันปัญหา

5.2 การแก้ปัญหา

5.3 การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน

6. ขอบข่ายของบริการแนะแนว

6. 1 บริการศึกษาและรวบรวมข้อผู้เรียนมูลรายบุคคล (Individual Inventory Service) เป็นงานรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวผู้เรียน ในเรื่องความสนใจ ความสามารถ ความถนัด เจตคติ ลักษณะนิสัย อารมณ์ ฯลฯ พร้อมทั้งสิ่งแวดล้อมของผู้เรียน เช่น สภาพความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในบ้าน อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ครูรู้จักผู้เรียนและผู้เรียนรู้จักตนเองมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อนำเอาข้อมูลรายละเอียดดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการแนะแนว

6. 2 บริการสนเทศ (Information Service) เป็นงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความรู้ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านสังคมอย่างกว้างขวาง สามารถนำความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปพิจารณาและตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษา การประกอบอาชีพ และปรับปรุงบุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสม

6. 3 บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นการพูดคุยที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การป้องกันปัญหา ตัดสินใจแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ตนเองปรารถนาอย่างเหมาะสม โดยที่ผู้เรียนซึ่งได้รับบริการคำปรึกษาพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของตน

6.4 บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service) เป็นงานที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การฝึกฝน หรือการสงเคราะห์ช่วยเหลือตามแต่กรณี ขณะที่อยู่ในสถานศึกษาและจบการศึกษาจากสถานศึกษาไปแล้ว

6.5 บริการติดตามผลและประเมินผล (Follow-up and Evaluation Service) เป็นงานติดตามผลการดำเนินงานบริการด้านต่าง ๆ ที่จัดให้แก่นักเรียน บริการติดตามผลและประเมินผลมี 2 งาน คือ งานติดตามผลและงานประเมินผล

งานติดตามผล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการช่วยผู้เรียนแต่ละคนให้สามารถแก้ปัญหาและปรับปรุงตนเองในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประเมินผลการดำเนินงานแนะแนวและงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา

งานประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาผลที่ได้จากการดำเนินโครงการแนะแนวว่ามีคุณค่ามากน้อยเพียงใด

การดำเนินงานแนะแนวทั้ง 5 บริการดังกล่าวจะต้องครอบคลุมการแนะแนวทั้ง 3 ด้าน คือด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคม

7. ประเภทของการแนะแนว มี 3 ประเภท ดังนี้

1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)

การแนะแนวการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาตามความสนใจ ความถนัด และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน รูปแบบวิธีการและกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงมีหลากหลายทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

จากความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยดังกล่าว จำเป็นจะต้องมีกระบวนการแนะแนวเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนและประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รู้จักตนเองอย่างท่องแท้ รู้จักชุมชนแวดล้อมอย่างลึกซึ้ง และมีข้อมูลข่าวสาร เพียงพอที่จะวิเคราะห์ และตัดสินใจกำหนดทางเลือกในการศึกษา การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม เจริญก้าวหน้า และสามารถพึ่งพาตนเองได้

ความหมาย

การแนะแนวการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง กระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้รับบริการ รู้ถึงความสามารถ ความสนใจของตนเอง เข้าใจสิ่งแวดล้อม สามารถเลือกและตัดสินใจได้ว่าตนเองควรจะศึกษาด้านใด ประกอบอาชีพอะไร หรือควรดำเนินชีวิตอย่างไรได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีความสำเร็จในชีวิต

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

1) เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคล (Preventive Approach)

2) ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (Curative Approach)

3) ส่งเสริมและพัฒนาบุคคล (Developmental Approach)

หลักการแนะแนว

1) การแนะแนวต้องจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษา หรือการให้บริการโดยสอดแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอน หรือการให้บริการทุกกิจกรรม

2) การแนะแนวเป็นหน้าที่ของผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน หรือผู้ให้บริการทุกคนที่จะต้องดำเนินการร่วมกัน และมีการประสานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาทุกคน โดยเฉพาะชุมชน

3) การแนะแนวจะต้องจัดสำหรับผู้เรียนและผู้รับบริการทุกคนไม่ใช่จัดให้เฉพาะผู้เรียนหรือผู้รับบริการที่มีปัญหาเท่านั้น และต้องจัดให้คลอบคลุมทั้งด้านการศึกษา อาชีพ และบุคลิกภาพ

4) การแนะแนวต้องจัดอย่างต่อเนื่อง ควรมีแผนปฏิบัติการแนะแนวที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับปัญหา ความต้องการในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

5) การแนะแนวควรมีข้อมูลและสารสนเทศ ที่ใช้ในการแนะแนวทุกด้านตรงตามความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้สามารถช่วยเหลือผู้เรียนหรือผู้รับบริการได้ตรงความต้องการ

6) การแนะแนวจะต้องสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนหรือผู้รับบริการนำตนเองและพึ่งตนเองได้

ขอบข่ายของการแนะแนวการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

1)            ประเภทของ การแนะแนว แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1) แนะแนวทางการศึกษา (Education Guidance) การแนะแนวทางการศึกษา เป็นกระบวนการของการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทางด้านการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้รับบริการทราบถึงแนวทางการเข้ารับการศึกษา แนวโน้มของการศึกษา โอกาสของการศึกษาในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้รับบริการ สามารถเลือกแนวทางการศึกษา ได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถทางสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกประกอบอาชีพในอนาคต

1.2) แนะแนวทางอาชีพ (Vocational Guidance) การแนะแนวทางอาชีพ เป็นกระบวนการของการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของงานอาชีพ แนวทางและโอกาสของการประกอบอาชีพแต่ละอาชีพ การแนะแนวทางอาชีพ จะช่วยให้ผู้เรียน ผู้รับบริการรู้จักศึกษาโลกของงานอาชีพ รู้จักเตรียมตัวทางด้านอาชีพ และช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้รับบริการเลือกงานอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง สามารถวางแผนการประกอบอาชีพได้ ซึ่งจะทำให้ทำงานอาชีพได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และมีความสุขกับการทำงาน

1.3) การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว (Personal Social Guidance) การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว เป็นกระบวนการของการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนหรือผู้รับบริการ ให้รู้จักปฏิบัติตนที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น

2) บริการแนะแนว 5 บริการ

2.1) บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล (Individual Inventory Service) หมายถึง การศึกษาสำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนทางด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดระบบแล้วจะทำให้ผู้แนะแนวได้รู้จักผู้เรียน และสามารถให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาได้อย่างถูกต้อง สามารถช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้รับบริการเข้าใจตนเอง และยอมรับตนเอง

2.2) บริการสนเทศ (Information Service) หมายถึง การให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ตรงกับความต้องการ ในการส่งเสริม พัฒนา ตลอดจนแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม

2.3) บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ความมั่นใจ สติปัญญา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจ และเลือกได้อย่างฉลาด ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น ซึ่งการให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ลึกซึ้งอย่างเพียงพอ

2.4) บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service) หมายถึง บริการที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำเนินการตามที่ตัดสินใจเลือกไว้ เช่น ได้เรียนในวิชาหรือประกอบอาชีพที่เลือกไว้ เป็นต้น

2.5) บริการติดตามและประเมินผล (Follow – up Service) จัดทำขึ้นเพื่อดำเนินการติดตามผลผู้เรียนภายหลังจากที่ได้รับบริการแนะแนวไปแล้วว่าได้ประโยชน์มากน้อยเพียงไร นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้จัดบริการแนะแนวได้ทราบว่าบริการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นนั้น ได้ผลมากน้อยเพียงใด มีจุดเด่นอะไรบ้าง และมีจุดอ่อนที่จะต้องรีบปรับปรุงแก้ไขอย่างไร

3) รูปแบบการให้บริการแนะแนว

3.1) การให้บริการทางโทรศัพท์

3.2) การให้บริการทางเครือข่าย Internet

3.3) การให้บริการโดยสื่อเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์

3.4) การให้บริการโดยสื่อประชาสัมพันธ์

3.5) การให้บริการเป็นรายกลุ่ม-รายบุคคล

3.5.1) ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ (Guidance Center)

3.5.2) หน่วยงานแนะแนวเคลื่อนที่


เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมณี.(2550). ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด

วิชาการ,กรม.กระทรวงศึกษาธิการ.(2544). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการ

เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

หลักสูตรและการสอน,ภาควิชา.วิทยาลัยครูจันทรเกษม.(2529). หลักการสอนและการเตรียม

ประสบการณ์วิชาชีพภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : อำนวยการพิมพ์