การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน(1)

                   

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 
21 ธันวาคม 2553

1.พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551

1.1 ความหมาย ของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมาย การศึกษานอกระบบและการศึกตามอัธยาศัยในมาตรา 4 ไว้ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ.2551:3-4)

           การศึกนอกระบบ หมายความว่ากิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและมีวิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษาหรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้

          การศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิติประจำวันของบุคคล ซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่าต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

1.2 หลักการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

         หลักการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ยึด หลัก ดังต่อไปนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ.2551:8-9)

        1) การศึกษานอกระบบ

1.1) ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั่วถึงเป็นธรรม และมีคุณภาพ เหมาะสมกับสภาพชีวิตของประชาชน
1.2) การกระจายอำนาจแก่สถานศึกษาและการให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเรียนรู้

    2) การศึกษาตามอัธยาศัย

2.1) การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลายทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่วนที่นำ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา
2.3) การจัดกรอบหรือแนวทางการเรียนรู้ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้เรียน

1.3 เป้าหมายของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

       เป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังต่อไปนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ.2551:10 -11)

1) การศึกษานอกระบบ

1.1) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ตามแนวทางการพัฒนาประเทศ
1.2) ภาคีเครือข่ายเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษา

2) การศึกษาตามอัธยาศัย

2.1) ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.2) ผู้เรียนได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
2.3) ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์และเทียบโอนผลการเรียนกับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ

1.4 อำนาจหน้าที่ของ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

             พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ในมาตรา 14 ให้มีสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน กศน.” โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(กระทรวงศึกษาธิการ.2551: 22-25)

1) เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
2) จัดทำข้อเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อคณะกรรมการ
3) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ การวิจัย การพัฒนา หลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากรและระบบข้อมูลข่าวสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา
5) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่นรวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
6) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุชุมชน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องของประชาชน
7) ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
8) ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

1.5 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด

             มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 กำหนดให้มี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน กศน. จังหวัด”ทุกจังหวัด จำนวน 75 แห่ง และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า”สำนักงาน กศน.กทม.” 1 แห่ง เป็นหน่วยงานการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน.  ทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาการนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และได้กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ.2551:31-37)

             มาตรา 18 ให้สถานศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่ายการดำเนินงานของสถานศึกษา อาจจัดให้มีศูนย์การเรียนชุมชนเป็นหน่วยจัดกิจกรรมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนก็ได้ การจัดตั้ง ยุบ เลิก รวม การกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

             มาตรา 19 ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคณะกรรมการสถานศึกษา

             มาตรา 20 ให้สำนักงาน จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบซึ่งเป็นระบบประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายใน โดยได้รับความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุน จากภาคีเครือข่าย และสำนักงาน ระบบหลักเกณฑ์และวิธีประกันคุณภาพภายในให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2.สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 2.1  สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีจำนวน 964 แห่ง มี ดัง นี้ (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.2551:1-34)

1) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต (กศน. เขต) จำนวน 50 แห่ง
2) สถานศึกษาสังกัดสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ (กศน.อำเภอ) จำนวน 877 แห่ง
3) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 37 แห่ง มีดังนี้  

(1) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) 
(2) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
(3) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจำนวน 7 แห่ง
(4) ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดกาญจนบุรี”สามสงฆ์ทรงพระคุณ” 
(5) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จำนวน 12 แห่ง
(6) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (เอกมัย)
(7) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
(8) ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
(9) อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(10) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
(11) สถาบันการศึกษาทางไกล
(12) สถาบันการศึกษาต่อเนื่องสิรินธร
(13) สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
(14) สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค
(15) สถาบันส่งเสริมและ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

2.2 อำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อไปนี้(ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.2551:2-37)    

 

1) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต มี อำนาจหน้าที่ ดัง ต่อไปนี้(ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.2551:2-37)

(1) จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(2) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย เพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย
(3) ดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
(4) จัด ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดการศึกษาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่
(5) จัด ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
(6) วิจัยและพัฒนาคุณภาพหลักสูตร สื่อ กระบวนการเรียนรู้ และมาตรฐานการศึกษานอกระบบ
(7) ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้แลประสบการณ์
(8) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(9) พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(10) ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(11) ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
(12) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 

 

 

 

2) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก(วิทยาลัยในวัง) เรียกโดยย่อว่า ศกภ.

          มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

         (1) ฝึกอบรมศิลปะไทยโบราณช่างสิบหมู่ และศิลปวัฒนธรรมไทยแก่ประชาชนทั่วไป
         (2) จัดนิทรรศการงานศิลปะไทยโบราณ ในรูปแบบนิทรรศการถาวร และนิทรรศการเคลื่อนที่เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
         (3) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน การจัดฝึกอบรมวิชาชีพศิลปะไทยโบราณ ช่างสิบหมู่ และศิลปวัฒนธรรมไทยกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
         (4) พัฒนาหลักสูตร สื่อ กระบวนการเรียนรู้ บุคลากรด้านวิชาชีพ ศิลปะไทยโบราณ และศิลปวัฒนธรรมไทย
         (5) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา เผยแพร่ เพื่ออนุรักษ์ศิลปะไทยโบราณ และศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
         (6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกโดยย่อว่า ศฝก.

         มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) จัดการศึกษา ฝึกอบรมและสาธิตด้านเกษตรกรรมธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกษตรธรรมชาติ แนวทางอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับนิเวศเขตร้อน ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เทคโนโลยีการเกษตร สมุนไพร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรธรรมชาติ
(2) เป็นศูนย์การเรียนรู้และเผยแพร่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะด้านเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) วิจัย ทดลอง เผยแพร่เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรธรรมชาติ
(4) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานกับชุมชน หน่วยงานเครือข่าย ทั้งภาครัฐภาคเอกชนเพื่อแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน โดยเน้นองค์ความรู้เกี่ยวข้องกับเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(5) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

4) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน เรียกโดยย่อว่า ศฝช.

         มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

           (1) จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาชีพ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความจำเป็น ความต้องการ ของประชาชนบริเวณชายแดน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและการเมือง
           (2) เป็นศูนย์สาธิต ทดลอง วิจัย และเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาการศึกษาด้านอาชีพและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนบริเวณชายแดน
           (3) พัฒนาบุคลากร พัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบการเรียนการสอนด้านอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
           (4) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาด้านอาชีพร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่บริเวณชายแดน ที่รับผิดชอบ และเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
          (5) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย          

ที่ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน                         พื้นที่บริการ
1 เชียงราย เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และพะเยา
2 ชุมพร ชุมพร ระนอง และประจวบคีรีขันธ์
3 ปัตตานี ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล
4 สระแก้ว สระแก้ว จันทบุรี และตราด
5 อุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ น่าน ตาก เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก
6 มุกดาหาร มุกดาหาร อุบลราชธานี นครพนม เลย หนองคาย และอำนาจเจริญ
7 สุรินทร์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ

 

 

 

 

 

 

 

 

5 ) ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดกาญจนบุรี”สามสงฆ์ทรงพระคุณ”เรียกโดยย่อว่า ศฝส.                      

   มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

            (1)  จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาชีพ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความจำเป็น ความต้องการของประชาชนบริเวณชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี โดยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและการเมือง
            (2) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาด้านอาชีพร่วมกับภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ในโครงการพระราชดำริ ในพื้นที่บริเวณชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี
            (3) เป็นศูนย์สาธิต ทดลอง วิจัย และเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาการศึกษาด้านอาชีพและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนบริเวณชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี
            (4) พัฒนาบุคลากร พัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบการเรียนการสอนด้านอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
            (5) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

6) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เรียกโดยย่อว่า ศว.

              มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

              (1)จัดและบริการการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนและประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
              (2) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนารูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อาทิ ดาราศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา เทคโนโลยีที่เหมาะสม
              (3) เผยแพร่และบริการรูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
              (4) พัฒนาครู อาจารย์ วิทยากร และบุคลากรทางการศึกษา ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
             (5) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
            (6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา                            พื้นที่บริการ
1 กาญจนบุรี สุพรรณ นครปฐม ราชบุรี และกาญจนบุรี
2 ขอนแก่น สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี และขอนแก่น
3 ตรัง ภูเก็ต พังงา  ระนอง กระบี่ และตรัง
4 นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา
5 นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช
6 นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์
7 พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา
8 ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล และยะลา
9 ลำปาง เชียงราย  เชียงใหม่  พะเยา แพร่  น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน และลำปาง
10 สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสาคร
11 สระแก้ว สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว
12 อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ  และอุบลราชธานี

 

7) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเพื่อการศึกษารังสิต เรียกโดยย่อว่า ศว. รังสิต

              มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

(1) จัดและบริการการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนและประชาชนทั่วประเทศ
 (2) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนารูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อาทิ ดาราศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา เทคโนโลยีที่เหมาะสม
 (3) เผยแพร่และบริการรูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
 (4) พัฒนาครู อาจารย์ วิทยากร บุคาคลากรทางการศึกษา ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
 (5) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
 (6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

8) ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด เรียกโดยย่อว่า ศว.ร้อยเอ็ด

      มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเน้นการจัดสภาพแหล่งเรียนรู้ด้วยสื่อเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมสมัยใหม่และวัฒนธรรมภาคอีสาน
(2) จัดกิจกรรมการศึกษาบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม สนับสนุนการเรียนรู้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็ก เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
 (3) เป็นแหล่งกลางในการ ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สาธิต ส่งเสริมและเผยแพร่การประดิษฐ์ คิดค้นที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม รวมทั้งให้รู้จักใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
(4) ฝึกอบรมปฏิบัติการให้ความรู้แก่ ครู อาจารย์ เพื่อเพิ่มทักษะ เทคนิคการใช้ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ นวัตกรรมการศึกษาประกอบการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และด้านวัฒนธรรม
 (5) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานกับหน่วยงานเครือข่าย ในการจัดและให้บริการการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแก่กลุ่มเป้าหมาย
 (6) เผยแพร่และให้บริการ ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แก่หน่วยงานเครือข่ายและบุคคลทั่วไป
 (7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

9) สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร เรียกโดยย่อว่า สธ.

  มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

(1) จัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
(2) ฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับบุคลากรภาครัฐ เอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(3) วิจัย พัฒนารูปแบบ กระบวนการจัดการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคลากร
(4) ส่งเสริมให้บริการข่าวสารข้อมูลแก่ประชาชนด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
(5) ส่งเสริม ประสานงาน การทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย
(6) รวบรวม เผยแพร่พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ด้านการศึกษา ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
(7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

10) สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร

  มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

(1) จัดการศึกษานอกระบบประเภทการศึกษาต่อเนื่องที่ต้องใช้ทักษะ เทคนิค ความชำนาญการเป็นพิเศษ
(2) จัดการศึกษานอกระบบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
(3) จัดการศึกษานอกระบบสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษที่มีวิธีการจัดการศึกษาเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กด้อยโอกาส สตรีกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น
(4) วิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่รับผิดชอบ
(5) ศึกษารูปแบบ ทดลอง นำร่องการจัดการเรียนการสอนสำหรับชุมชนเมือง
(6) เป็นศูนย์ประเมินความรู้ ประสบการณ์และเทียบระดับการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ
(7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

11) สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค มี 5 ภาค ภาคละ 1 แห่ง

สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค แต่ละแห่งรับผิดชอบพื้นที่บริการ ดังนี้

ที่ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค                 พื้นที่บริการ
1 สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคกลาง พื้นที่บริการ 16 จังหวัด คือ จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง
2 สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออก พื้นที่บริการ 9 จังหวัด คือ จังหวัดจันทบุรี เชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ และจังหวัดสระแก้ว
3 สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่บริการ 19 จังหวัด คือ จังหวัดเลย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี
4 สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ พื้นที่บริการ 17 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี
5 สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ พื้นที่บริการ 14 จังหวัด คือ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง  นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา  พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และจังหวัดสุราษฏร์ธานี

 

12) สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เรียกโดยย่อว่า สพร.

    มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

(1) จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการและรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่นโปรแกรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต โปรแกรมการทัศนศึกษาเพื่อการเรียนรู้  การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อ รูปแบบต่าง ๆ และการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
(2) บริการรับรองความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการเรียนรู้
(3)ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
(4) ถ่ายทอดและฝึกอบรมแนวทางจัดการเรียนรู้
(5) วิจัยและพัฒนากระบวนการ รูปแบบ และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
(6) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้
(7) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อจัดการเรียนรู้
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

13) อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียกโดยย่อว่า อวท.

          มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

(1) ปลูกฝังความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และความภาคภูมิใจในพระอัจฉริยะภาพแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย ที่ได้ทรงบุกเบิกงานด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไทย
(2) จัดและบริการการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนและประชาชนทั่วประเทศ
(3) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนารูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อาทิวิทยาศาสตร์ทางทะเล ดาราศาสตร์ เทคโนโลยีที่เหมาะสม
(4) เผยแพร่และบริการรูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
 (5) พัฒนาครู อาจารย์ วิทยากร และบุคลากรทางการศึกษา ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
(6) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
(7) ส่งเสริมและพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
(8) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3.กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

            กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จัดในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้(สำนักงาน กศน.2553: 10 – 18)

1) กิจกรรมการศึกษานอกระบบ

1.1) การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับ ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1.2) การส่งเสริมการรู้หนังสือ
1.3) การศึกษาต่อเนื่อง

1.3.1) การศึกษาเพื่อพัฒนาการงานและอาชีพ
1.3.2 )การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
1.3.3) การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

 2) กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย 

            2.1) การส่งเสริมการอ่าน
            2.2) ห้องสมุดประชาชน
            2.3) วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

4.กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังนี้ (สำนักงาน กศน. 2553:3)

1) กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

1.1)  ผู้ด้อยโอกาส
1.2)  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ
1.3)  ผู้สูงอายุ
1.4)  ชนต่างวัฒนธรรม
1.5)  ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจใฝ่เรียนรู้

2) กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาความสามารถในเชิงการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

  2.1) ผู้อยู่ในวัยแรงงานที่อยู่นอกระบบ
  2.2) ผู้อยู่ในวัยแรงงานที่อยู่ในระบบ

 

 อ้างอิงบทความนี้ อัญชลี ธรรมะวิธีกุล: การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน(1) https://panchalee.wordpress.com/2010/12/21/nfe_ac1/

***********************************

12 Replies to “การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน(1)”

    1. สวัสดีค่ะคุณน้ำหวาน
      ข้อมูลเกี่ยวกับ กศน.มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าอ่านตอนไหนไม่เข้าใจ ถามได้นะคะ
      อาจารย์ขิง

ใส่ความเห็น