รายงานผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน

เรื่อง รายงานผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การทำขนมจีนหล่มเก่าจังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

หน่วยงาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบูรณ์

ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2551

ผู้ศึกษา วันธนา ศิริโสภณ

บทคัดย่อ

           รายงานผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การทำขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ปีการศึกษา 2551 มีวัตถุประสงค์

             (1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การทำขนมจีนหล่มเก่าจังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

             (2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนของนักศึกษา กศน. ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การทำขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

              (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา กศน. เกี่ยวกับความเหมาะสมของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การทำขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ระดับมัธยมศึกษาตอนตัน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่

            1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่องการทำขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ การจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จำนวน 5 หน่วยการเรียน ประกอบด้วย
                           (1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย
                           (2) ประวัติความเป็นมาของขนมจีนหล่มเก่า
                           (3) การทำขนมจีนหล่มเก่า
                           (4) คุณค่าทางโภชนาการของขนมจีนหล่มเก่า
                           (5) แนวทางในการประกอบอาชีพการทำขนมจีนหล่มเก่า

             2) แบบทดสอบวัดผลสัมรฤธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

             3)แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของเอกสารประกอบการเรียนเรื่องการทำขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ

ผลการพัฒนาสรุปได้ดังนี้

              1.ประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน เรื่องการทำขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่จัดทำขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.73/ 86.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80

             2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเรื่องขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่านักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น

               3. ความคิดเห็นนักศึกษาเกี่ยวกับความเหมาะสมของเอกสารประกอบการเรียน เรื่องการทำขนมจีนหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีความเหมาะสมโดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก ดังนี้คือ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้ นำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ อ่านและจับประเด็นเนื้อหาสาระได้ รวบรวมความรู้ที่ศึกษาไปเผยแพร่ได้ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ภาพประกอบเหมาะสมกับเนื้อหา และขนาดรูปเล่มมีความเหมาะ สวยงาม

*******************************

รายงานผลการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้

ชื่อเรื่อง     รายงานผลการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้: ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ

ผู้รายงาน   นริสา ณ นคร 

ปีที่ศึกษา    ปี 2552

           รายงานผลการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่ศึกษาคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ ในด้านกายภาพของคู่มือ ด้านเนื้อหาของคู่มือ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดประชาชนจังหวัด ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” และห้องสมุดประชาชนอำเภอทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,081 คน และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random Sampling) จากทุกจังหวัด ๆ ละ 4 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 300 คน
              เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการศึกษาคู่มือที่เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ศึกษาคู่มือ และแบบสอบถามที่เป็นแบบสอบถามตรวจสอบรายการ และแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อศึกษา   ความคิดเห็นที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ
              การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งจดหมายขอความร่วมมือจากบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคู่มือ ในการทำแบบทดสอบก่อนและหลังศึกษาคู่มือ ตลอดจนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อคู่มือดังกล่าว มีกลุ่มตัวอย่างตอบกลับคืนมา จำนวน 243 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.00 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด     การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ค่าสถิติที (t-test)

สรุปผลการศึกษา

           1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่ใช้คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้   วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการศึกษาคู่มือ   การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม  กระทรวงศึกษาธิการ มีคะแนนเฉลี่ยหลังการศึกษาสูงกว่าคะแนนก่อนการศึกษาคู่มือ  โดยคะแนนก่อนการศึกษาคู่มือเท่ากับ 13.53 และคะแนนเฉลี่ยหลังการศึกษาคู่มือเท่ากับ 17.57 และเมื่อทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ปรากฏว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งหมายความว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สูงมากขึ้นจากเดิม

           2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ศึกษาเอกสารคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม  กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้: ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.09) และมีความเหมาะสมในระดับมากในทุกด้าน ทั้งด้านกายภาพของคู่มือ   ด้านเนื้อหาของคู่มือ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
               2.1 ด้านกายภาพของคู่มือ  ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.94) และในรายข้อพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสม  การจัดลำดับเนื้อหามีความเหมาะสม  ภาษาที่ใช้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย         โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.64 – 4.24
               2.2 ด้านเนื้อหาของคู่มือ ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15) และในรายข้อพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากทุกข้อเช่นกัน ได้แก่  เนื้อหาอ่านเข้าใจได้ง่าย  เนื้อหามีความครบถ้วนสมบูรณ์ เนื้อหามีเพียงพอต่อการนำไปใช้เป็นแนวทาง  การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุดประชาชน และนำไปอ้างอิงได้ โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.10 – 4.25  
                2.3 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์  ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.21) และในรายข้อพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุดได้ ส่งเสริมให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นนักจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยได้ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยตามพระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ ตลอดจนผู้ใช้บริการห้องสมุดได้เรียนรู้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.98 – 4.35 

           3. ข้อคิดเห็น ข้อเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม  กระทรวงศึกษาธิการ บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จำนวน 243 คน มีข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับคู่มือ         การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
                 3.1 ด้านกายภาพของคู่มือ  มีความสวยงาม เรียบง่าย พกพาสะดวกและเหมาะสมกับผู้อ่าน ปก และเนื้อหาภายในควรมีสีสันให้สวยงามกว่านี้ ตัวหนังสืออ่านง่ายตลอดจนมีภาพประกอบที่เหมาะสม
                  3.2 ด้านเนื้อหาของคู่มือ  มีเนื้อหาชัดเจน เหมาะสม อ่านเข้าใจง่าย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ และเป็นตัวอย่างในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการอ่านในห้องสมุดได้อย่างเป็นรูปธรรม มีกระบวนการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถใช้เป็นแนวทาง     ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
                  3.3 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า ได้รับประโยชน์มาก คือสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี นำไปใช้ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถนำไปเป็นแนวทางปรับปรุงการปฏิบัติงานในห้องสมุด ให้ดียิ่งขึ้น และเป็นคู่มือที่ มีตัวอย่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้

********************************