รายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่องการอ่านจับใจความ

book-iconบทคัดย่อ  

 เรื่อง   รายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ชื่อผู้วิจัย  นางอรนุช   คงฉิม

สถานศึกษา   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา                                              

ปีการศึกษา    2550

               

จุดมุ่งหมายในการวิจัย
          1. เพื่อพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย  เรื่องการอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   
           2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง   หมวดวิชาภาษาไทย  เรื่องการอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
           3.  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย  เรื่องการอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

กลุ่มตัวอย่าง
             กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ที่เรียนหมวดวิชาภาษาไทย  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  จำนวน 40 คน  โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบด้วย 
               1. ชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  
               2. แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านจับใจความภาษาไทย 
               3. แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านจับใจความรายหน่วย 
               4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

การวิเคราะห์ข้อมูล
            การหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนด้วยตนเอง ใช้สูตร  E1/E2 การเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านจับใจความภาษาไทย  โดยใช้สถิติ t-test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test  for  dependent  sample) และการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย  เรื่องการอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

ผลการวิจัย

                1.  ชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย  เรื่องการอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.30/ 82.70  สูงกว่าเกณฑ์  มาตรฐาน  80/80  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

                2. ความสามารถทางการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักศึกษาหลังจากใช้ ชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย  เรื่อง  การอ่านจับใจความ  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                3.  นักศึกษามีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนด้วยตนเอง  หมวดวิชาภาษาไทย  เรื่อง  การอ่านจับใจความสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

**********************

รายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องยากับชีวิตประจำวัน

book-iconบทคัดย่อ

เรื่อง  รายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องยากับชีวิตประจำวัน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ชื่อผู้วิจัย  นางชะตา  วรรณโฆสิต

ปีที่ทำการวิจัย  2550 

 

 

 วัตถุประสงค์         

         การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  
               1. สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องยากับชีวิตประจำวันสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 /80   
               2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองหมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องยากับชีวิตประจำวัน ระหว่างก่อนและหลังเรียน
               3. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองหมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องยากับชีวิตประจำวัน

 

กลุ่มตัวอย่าง
            
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ที่ลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 ในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2550  ที่ได้รับการสุ่มมาแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  จำนวน 40  คน 

 

ผลการศึกษา
           ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
             1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องยากับชีวิตประจำวัน มีค่าเท่ากับ 82.91/83.16
             2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนจากชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องยากับชีวิตประจำวัน พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
             3. ผลการศึกษาความพึงพอใจในชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องยากับชีวิตประจำวัน  พบว่าโดยภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

*************************

รายงานการประเมินผลการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน

book-iconบทคัดย่อ  

เรื่อง  รายงานการประเมินผลการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน

ชื่อผู้วิจัย  นางวิมลมาศ  ทิพย์ประเสริฐสิน

สถานศึกษา  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ปีการศึกษา   2551

 

 

จุดมุ่งหมายในการวิจัย 
         1. เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับประกอบการเรียนรู้ของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 
         2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนและหลังการเรียนของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนรู้จากคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
         นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออุทัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling)

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบด้วย 
                 1. คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 
                 2. กิจกรรมท้ายบทเรียน และแบบประเมินผลหลังเรียนของคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 
                 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                 4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

การวิเคราะห์ข้อมูล
           การหาประสิทธิภาพของคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ใช้สูตร E1/ E2   การเปรียบเทียบการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนสอบก่อนการเรียน และคะแนนสอบหลังการเรียน โดยใช้  t- test  และการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา ใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

ผลการวิจัย

  1. คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.53/ 87.67  สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
  2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต  สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. นักศึกษามีความเห็นต่อคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

**************************

 

 

รายงานผลการติดตามการใช้คู่มือการใช้งานเว็บบล็อก

book-iconบทคัดย่อ

เรื่อง รายงานผลการติดตามการใช้คู่มือการใช้งานเว็บบล็อก

ผู้ศึกษา  นายรัฐเขต  เชื้อมหาวัน

ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2551

 

 

 

วัตถุประสงค์

         1. เพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน เกี่ยวกับประสิทธิภาพของคู่มือการใช้งานเว็บบล็อก
         2. เพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ศึกษาผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้คู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน
         3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้คู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้

 

กลุ่มตัวอย่าง
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้ในระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึง ปี พ.ศ.2551 จำนวน 5 รุ่น ที่สมัครใจเข้ารับการอบรม ตามโครงการอบรมผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หลักสูตร ICT สำหรับผู้บริหารเพื่อการจัดการความรู้ (Weblog) และผู้เข้ารับการอบรมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาก่อนดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 รุ่น ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 97 คน

 

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
          เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ คู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 11 หน่วย แบบทดสอบ ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ของภาพรวมทั้ง 11 หน่วย รวม 20 ข้อ ใบงานท้ายหน่วย ทั้ง 11 หน่วย จำนวน 11 ใบงาน และแบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร เกี่ยวกับความเหมาะสมของคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน

 

ผลการศึกษา

        การใช้คู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน สามารถสรุปได้ดังนี้

        1. ประสิทธิภาพของคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ได้ผลออกมาคือ คู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ทั้ง 11 หน่วย มีประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 82.22/84.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 รวมถึงพบว่า ดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษา นอกโรงเรียน มีค่าเท่ากับ 0.62 ซึ่งหมายความว่า คู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ส่งผลให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องเว็บบล็อกเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.00

        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้บริหารและวิทยากรแกนนำการจัดการความรู้ ที่เรียนรู้ด้วยคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ได้ผลออกมาคือ ก่อนเรียนรู้ ผู้บริหาร ที่เรียนรู้ด้วยคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ทั้ง 11 หน่วย ได้คะแนนเฉลี่ย 10.01 คิดเป็นร้อยละ 50.05 และหลังการเรียนรู้ จากคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ทั้ง 11 หน่วย ผู้บริหาร ได้คะแนนเฉลี่ย 16.69 คิดเป็นร้อยละ 83.45   การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้บริหาร ที่เรียนรู้ด้วยคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ก่อนและหลังการใช้คู่มือพบว่า หลังการเรียนรู้ด้วยคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน ผู้บริหาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

        3. ความเหมาะสมของคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนมีการแบ่งความเหมาะสมของคู่มือเป็น 3 ด้านคือ ด้านกายภาพของเอกสาร ด้านการนำไปใช้ประโยชน์และด้านเนื้อหาและความเข้าใจ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารที่เรียนรู้ จากคู่มือ มีความคิดเห็นต่อคู่มือ สรุปโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.83 โดยเรียงลำดับ ดังนี้

3.1 ด้านกายภาพของเอกสาร โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย 3.95 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความคิดเห็นเหมาะสมมากที่สุด 2 ข้อ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ภาพประกอบเหมาะสมกับเนื้อหา (x = 4.55) ขนาดรูปเล่มมีความเหมาะสม (x = 4.06) และมีความคิดเห็นเหมาะสมมาก 2 ข้อคือ รูปแบบการพิมพ์ถูกต้องชัดเจน (x = 3.69) ตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย (x = 3.52)

3.2 ด้านเนื้อหาและความเข้าใจของเอกสาร โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากค่าเฉลี่ย 3.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับความคิดเห็นเหมาะสมมากคือ ความเหมาะสมของการเรียงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา (x = 3.85) ความสมบูรณ์ครบถ้วนของเนื้อหา (x = 3.64) สำนวนภาษาอ่านเข้าใจง่าย (x = 3.49) และเนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชาการ (x = 3.46)

3.3 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ของเอกสาร โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย 3.92 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความคิดเห็นเหมาะสมมากที่สุด 2 ข้อ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ( x= 4.35) ใช้ประโยชน์ในการทบทวนการใช้งานเว็บบล็อก (x = 4.25) และมีความคิดเห็นเหมาะสมมาก 2 ข้อคือ สามารถนำไปค้นคว้าอ้างอิงได้ (x = 3.54) ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพิ่มความรู้ได้ (x = 3.52)

หมายเหตุ  x= ค่าเฉลี่ย

Download  เอกสารคู่มือการใช้งานเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้ 

 

***************************