ตัวอย่างการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น

อัญชลี  ธรรมะวิถีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
6   ตุลาคม  2552

หลักสูตร การทำขนมจีน น้ำยา หล่มเก่า

 kanomjean

 

ความสำคัญ

            ขนมจีน เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากจะทำรับประทานในครอบครัวแล้วยังสามารถทำขายเป็นอาชีพได้ ขนมจีนอำเภอหล่มเก่าเป็นอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกว่าขนมจีนที่อื่น คือ เส้นขนมจีนจะทำขึ้นมาใหม่ ๆ เส้นจะเหนียว ขาว นุ่ม มีเส้นเล็ก สีของเส้นขนมจีนนอกจากจะเป็นเส้นสีขาวธรรมดาแล้ว ยังมีเส้นทีใช้สีจากสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่นเส้นสีเหลืองจากฟักทอง เส้นสีม่วงจากดอกอัญชัน เส้นสีเขียวจากใบเตย เส้นสีส้มจากแครอท เป็นต้นด้วยลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์นี้จึงทำให้ขนมจีนหล่มเก่าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และเรียกกันติดปากว่า “ขนมจีนหล่มเก่า”

 

จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและ มีทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

 

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการและขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้จักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า

 

เนื้อหาหลักสูตร  

ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของขนมจีน
2. วิธีการทำขนมจีนหล่ม
3. การบรรจุภัณฑ์
4. การบริหารจัดการและการตลาด
5. การให้บริการ

 

เวลาเรียน

หลักสูตรการทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 50 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี 18 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ 32 ชั่วโมง

 

แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน

1. ใบความรู้เนื้อหาวิชาการทำขนมจีน ประกอบด้วย 5 เรื่อง
2. แหล่งเรียนรู้ ร้านบุญมีขนมจีน อำเภอหล่มเก่า

 

กิจกรรมการเรียนรู้

1. ศึกษาความรู้ด้านทฤษฎี
2. ฝึกปฏิบัติ
3. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้

 

การวัดผลประเมินผล

1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้/การมีส่วนร่วม
2. การประเมินผลงาน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า
2. ผู้เรียนสามารถทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า ได้
3. ผู้เรียนมีความตระหนักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการประกอบอาชีพได้

 

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร

เรื่องที่ 1 ประวัติความเป็นมาของขนมจีน จำนวน 3 ชั่วโมง
1.1 ประวัติขนมจีนทั่วไป
1.2 ประวัติขนมจีนหล่มเก่า

เรื่องที่ 2 วิธีการทำขนมจีนหล่มเก่า จำนวน 27 ชั่วโมง
2.1 วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีนหล่มเก่า
2.2 วิธีการ และขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2.3 การทำน้ำยา
2.4 การทำเครื่องเคียง

เรื่องที่ 3 การบรรจุภัณฑ์ จำนวน 9 ชั่วโมง

3.1 การออกแบบและบรรจุภัณฑ์

เรื่องที่ 4 การบริหารจัดการและการตลาด จำนวน 3 ชั่วโมง

4.1 วางแผน
4.2 เทคนิคการขาย
4.3 การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

เรื่องที่ 5 การให้บริการ จำนวน 8 ชั่วโมง

5.1 ความหมาย ความสำคัญของการให้บริการ
5.2 เทคนิคการการบริการสำหรับผู้ประกอบการ
5.3 การปฏิบัติตนในการให้บริการลูกค้า

รูปภาพจาก http://www.ezytrip.com/webboard/images/10000/01700/01606_9551.jpg

——————————-

 

 

หลักสูตรการทำข้าวหลาม  น้ำหนาว

ความสำคัญ

 k6                                                                                 ปัจจุบันประชาชนอำเภอน้ำหนาว มีการประกอบอาชีพเสริม ด้วยการทำข้าวหลาม  โดยนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือไม้ไผ่ และข้าวไร่ (พันธ์พญาลืมแกง) มาทำเป็นข้าวหลาม เพื่อรับประทานและทำจำหน่าย เป็นสินค้าประจำท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมประเพณีเผาข้าวหลามประจำปีของอำเภอน้ำหนาว ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปีอีกด้วย

 

 

จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอาชีพเสริม
2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว และสามารถทำข้าวหลามได้
3. เพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ประเพณีเผาข้าวหลาม ประจำปีของอำเภอน้ำหนาว

 

วัตถุประสงค์

        1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว
        2. เพื่อให้มีทักษะในการทำข้าวหลาม
        3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

 

เนื้อหาของหลักสูตร

ประกอบด้วยเนื้อหา 2 เรื่อง ดังนี้
1. วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำข้าวหลาม
2. ขั้นตอนในการทำข้าวหลาม ไส้ต่าง ๆ

 

เวลาเรียน                                                                               

        ภาคทฤษฎี 3  ชั่วโมง
        ภาคปฏิบัติ  15 ชั่วโมง

 

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

         1. ใบความรู้เรื่องการทำข้าวหลามน้ำหนาว
         2. แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำข้าวหลามน้ำหนาว

 

กิจกรรมการเรียนรู้

           1. การเรียนรู้ทฤษฎี
           2. การฝึกปฏิบัติ
           3. ศึกษาดูงานแหล่งการเรียนรู้

 

การวัดและประเมินผล

             วิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย
             1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม
             2. การประเมินชิ้นงาน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว
2. ผู้เรียนสามารถทำข้าวหลามน้ำหนาวได้
3. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

 

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร

            เรื่องที่ 1. วัสดุอุปกรณ์ในการทำข้าวหลาม  จำนวน 5 ชั่วโมง วัสดุอุปกรณ์ในการทำข้าวหลาม ได้แก่ ไม้ไผ่ ข้าวเหนียว น้ำกะทิ เกลือป่น น้ำตาลทราย และเผือก/ถั่ว

            เรื่องที่ 2  ขั้นตอนการทำข้าวหลาม   จำนวน 13  ชั่วโมง
                                – การคัดเลือกชนิดไม้ไผ่
                                – การแช่ข้าวเหนียว
                                – การผสม น้ำกะทิ น้ำตาลทราย เกลือป่น เข้าด้วยกัน
                                – การนำข้าวเหนียว มาคลุกเคล้ากับส่วนผสม และใส่ไส้ชนิดต่าง ๆ
                                – การกรอกส่วนผสมใส่กระบอก
                                – การเผาข้าวหลาม

รูปภาพจาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/329/23329/images/k6.jpg

——————————-

 

 

หลักสูตร การทอผ้ามุก บ้านติ้ว

 ความสำคัญ

banอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร เช่นการทำนา ทำไร่ยาสูบ ปลูกผัก หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร มีการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ให้กับคนในชุมชน และตำบลบ้านติ้ว เป็นอีกหนึ่งตำบลในเขตพื้นที่อำเภอหล่มสักที่ประชาชนใช้เวลาว่างหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเสริม การทอผ้ามุก   ผ้ามุกเป็นผ้าทอพื้นเมืองที่มีกรรมวิธีการผลิตจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ของตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก และเป็นผ้าประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผ้าทอมือ ที่ผลิตจากฝ้าย ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ผ้ามุกที่ผลิตขึ้นนิยมนำมาใช้ในการแต่งกายและตกแต่งในงานพิธีต่าง ๆ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างดี

 

จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความรักความสามัคคี ให้คนในชุมชน
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้ามุกอำเภอหล่มสัก

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้การทอผ้ามุกไปใช้ในการประกอบเป็นอาชีพได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้ามุกของตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก

 

เนื้อหาของหลักสูตร

ประกอบด้วยเนื้อหา  4 เรื่อง

1. ประวัติความเป็นมาของการทอผ้ามุกบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก
2. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
3. ขั้นตอนและวิธีการทอผ้ามุก
4. การจัดการและการตลาด

 

เวลาเรียน

         หลักสูตรวิชาชีพ การทอผ้ามุกบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก ใช้เวลาเรียนทั้งหมด  100 ชั่วโมง

ภาคทฤษฎี  10 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ  90 ชั่วโมง

  

แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน

1. ใบความรู้เรื่องการทอผ้ามุก ประกอบด้วย 4  เรื่อง
2. ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้   

 

กิจกรรมการเรียนรู้

1. เรียนรู้ทฤษฎี
2. ฝึกปฏิบัติจริง จากผู้มีประสบการณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น             

 

การวัดผลประเมินผลการเรียน

วิธีการวัดและประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย

1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และ การมีส่วนร่วม
2. การสังเกตการปฏิบัติจริงในการทอผ้ามุก
3. ประเมินชิ้นงาน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทอผ้ามุกและสามารถทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้อย่างมีคุณภาพ
2. ผู้เรียนมีการพัฒนาการทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้อย่างเหมาะสม
3. ผู้เรียนนำความรู้การทอผ้ามุกมาใช้ประกอบเป็นอาชีพได้
4. ผู้เรียนอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้ามุกของตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก

 

โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร

ประกอบด้วยเนื้อหา    4    เรื่อง   ดังนี้

เรื่องที่ 1  ประวัติความเป็นมาของการทอผ้ามุกหล่มสัก    จำนวน   2   ชั่วโมง

เรื่องที่ 2  การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ จำนวน  4   ชั่วโมง

2.1  การเลือกใช้วัตถุดิบและชนิดของด้าย
2.2  อุปกรณ์การทอผ้ามุก

 เรื่องที่ 3  ขั้นตอนและวิธีการทอผ้ามุก  จำนวน  90   ชั่วโมง

3.1 การกรอหลอดด้าย
3.2 การเดินด้าย
3.3 การร้อยด้าย
3.4 การคำนวณหน้าผ้า
3.5 การเก็บตะกรอ
3.6 วิธีการทอผ้าที่ได้คุณภาพ

 เรื่องที่ 4  การตลาด  จำนวน   4  ชั่วโมง

4.1 การจัดทำบัญชี รายรับ – รายจ่าย
4.2 การคำนวณต้นทุนการผลิต  กำไร
4.3 เทคนิคการจัดการและการตลาด

รูปภาพจาก : http://www.thaitambon.com/thailand/Phetchabun/
670310/0265183758/670300565201-52A.jpg

—————————-

 

 

หลักสูตรประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว

  ความสำคัญ

BannaFlower2_250ปัจจุบันดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการตกแต่งบ้านเรือน  ใช้ในงานพิธีต่าง ๆหรือเป็นของฝาก ของชำร่วย เนื่องจากเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สวยงาม ประณีต มีหลากหลายให้เลือก ดอกไม้ประดิษฐ์บางชนิดดูเหมือนของจริง มีความคงทน และราคาไม่แพง ดังนั้นการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว จึงเป็นงานศิลปะที่ได้รับความนิยม สามารถทำเป็นงานอดิเรกหรือนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

 

จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ เกิดทักษะการทำดอกไม้ประดิษฐ์
2. เพื่อให้ประชาชนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์
3. เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวได้
2. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

  

เนื้อหาของหลักสูตร

       ประกอบด้วยเนื้อหา   2   เรื่อง  ดังนี้

1. เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ดอกไม้ จากผ้าใยบัว
2. การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัวชนิดต่าง ๆ

        

เวลาเรียน

หลักสูตรวิชาชีพศิลปะประดิษฐ์  ใช้เวลาเรียน  100  ชั่วโมง

ภาคทฤษฎี   10  ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ   90  ชั่วโมง

 

สื่อประกอบการเรียน

ใบความรู้เรื่องการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว 9  ชนิด

1. การทำดอกบัวสาย
2. การทำดอกกุหลาบ
3. การทำดอกลิลลี่
4. การทำดอกหน้าวัว
5. การทำดอกกระเจียว
6. การทำดอกทิวลิป
7. การทำดอกบานชื่น
8. การทำดอกกล้วยไม้
9. การทำดอกชบา

 

กิจกรรมการเรียนรู้

1.  เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎี
2.  ฝึกปฏิบัติ
3.  ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้

 

การวัดผลประเมินผล

การวัดผลประเมินผลการเรียน

1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการมีส่วนร่วม 
2. ผลงาน(ชิ้นงาน)

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจงานศิลปประดิษฐ์
2. ผู้เรียนมีทักษะในการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวทั้ง 9  ชนิด ได้

 

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร

ประกอบเนื้อหา  2  เรื่อง

เรื่องที่ 1  เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ประดิษฐ์ดอกไม้  จำนวน  10  ชั่วโมง

วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ดอกไม้
–  กรรไกร
–  ครีมตัดลวด
–  ครีมดัดกลีบ
–  ผ้าใยบัว
–  เข็มสอย
–  ด้าย
–  เกสร
–  กาวลาเท็กซ์
–  ลวดไหวสีเบอร์ต่าง ๆ

เรื่องที่ 2  การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัวชนิดต่างๆ   จำนวน  90  ชั่วโมง

– การทำดอกบัวสาย
– การทำดอกกุหลาบ
– การทำดอกลิลลี่
– การทำดอกหน้าวัว
– การทำดอกกระเจียว
– การทำดอกทิวลิป
– การทำดอกบานชื่น
– การทำดอกกล้วยไม้
– การทำดอกชบา

 

รูปภาพจาก http://www.thaitambon.com/NY/BannaFlower2_250.jpg

———————————–

อ้างอิงบทความนี้ : อัญชลี  ธรรมะวิถีกุลhttps://panchalee.wordpress.com/2009/10/06/local_curricula/

********************************************

 

 

113 Replies to “ตัวอย่างการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น”

  1. ได้อ่านตัวอย่างเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น แล้วดูเหมือนจะง่ายๆ นะคะ แต่กว่าจะได้มาทั้งหมดคงยากพอสมควร ชื่นชมค่ะ

  2. อ่านหลักสูตรท้องถิ่นของอาจารย์แล้วดีมากเลยค่ะ อาจารย์ถ้าหนูขอรบกวนขอแบบฟอร์มการเขียนหลักสูตรท้องถิ่นหน่อยได้ไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

    1. เรียน อาจารย์ จุฑาทิพย์ ที่เคารพ
      แบบฟอร์มการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น อยู่ในบทความเรื่องการพัฒนาหลักสูตรทัองถิ่น ซึ่งอยู่ในหมวดหมู่การจัดการศึกษาค่ะ หรืออาจารย์พิมพ์ข้อความว่า การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ในค้นหา ซึ่งอยู่ด้านบนขวามือ ของ Blog ค่ะ ขอบคุณสำหรับคำชมด้วยค่ะ
      อาจารย์ขิง

  3. จุดประกายความคิดเรื่องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ที่ดิฉันกำลังจะทำได้ดีมากค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ดีๆๆ อยากรู้อีกเยอะจะติดตามอ่านและขอคำแนะนำจาก
    อาจารย์อีกค่ะ ขอบคุณมาก………

    1. เรียน คุณครูขอนแก่น ที่เคารพ
      ขอบคุณมาก ที่มาเยี่ยม Blog และดีใจที่กระบวนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครู ที่ไม่เฉพาะครู กศน. ขณะนี้ดิฉันและศูนย์วิทยาศาตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา กำลังพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ไปสู่หลักสูตรสถานศึกษา จะนำขึ้นเผยแพร่บน Blog เร็ว ๆ นี้ค่ะ คงต้องขอคำแนะนำจากอาจารย์และสมาชิกที่เข้ามาเยี่ยม Blog ทุกคน ดิฉันคิดว่าพวกเราเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยที่อยู่ในวงการศึกษา ถ้ามาช่วยกันพัฒนาวิชาชีพ ก็จะช่วยให้การศึกษาของบ้านเราพัฒนาไปได้ ซึ่งเป็นความหวังเล็ก ๆ ที่ดิฉันจะให้กำลังใจตัวเองและเพื่อน ๆ ครูค่ะ
      อาจารย์ขิง

  4. ขอบคุณกับข้อมูลที่ค้นหามานาน กับหลักสูตรท้องถิ่น แต่กระผมเอง กำลังศึกษาอยากได้ข้อมูลที่เป็นหลักสูตรท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาติพันธุ์กวย (ส่วย) นะครับ เพราะปัจจุบันนี้ ชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทยเรามาเยอะมาก แต่ว่า ไม่มีการจัดให้เป็นหลักสูตรเอาไว้ ไม่นานก็คงจะสูญและคงหายไปในที่สุด ก้เลยอยากศึกษาเอาไว้ ว่าจะืทำอย่างไรดีกับการฟื้นฟูสิ่งดีๆ ที่เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาติพันธุ์เหล่านี้เอาไว้ เคยได้ปรึกษากับผู้บริหารแล้ว แต่ก้ไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร และก้ไม่สนใจสิ่งที่เรานำเสนอ ก็เลยต้องศึกษาจากแหล่งเรียนรู้เหล่านี้ และก็ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่มีแบบอย่างดีๆ ให้ได้ศึกษา ขอขอบพระคุณอีกครั้ง และหากท่่านอาจารย์ท่านใด มีข้อเสนอแนะ ยินดีน้อมรับด้วยดีครับ หรือติดต่อได้ที่ 0801619528 ครับ

    1. วัฒนธรรมประเพณีของชาติพันธ์ส่วย เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เกี่ยวความเป็นมา การย้ายถิ่นฐานที่อยู่ในไทย ความเป็นอยู่ ฯลฯ เป็นเรื่องที่น่าจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ให้ผู้เรียนหรือผู้สนใจได้ศึกษา พอท่าน Post เรื่องเข้ามาทำให้ดิฉันสนใจศึกษา ถ้ามีข้อมูลเรื่องชาติพันธ์ส่วยเข้าแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ
      อาจารย์ขิง

  5. ขอบคุณมากนะคะสำหรับตัวอย่างหลักสูตรท้องถิ่นค่ะ พอดีดิฉันจะทำหลักสูตรเรื่องแคนเป็นตัวอย่างให้ครูผู้สอนที่โรงเรียน จึงได้หาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทาง และยังได้ตัวอย่างหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องอื่น ๆ ด้วยขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

    1. เรียน คุณครูมหาสารคาม ที่เคารพ
      ดิฉันมีความสนใจหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องแคน ถ้าอาจารย์พัฒนาเสร็จแล้ว อยากจะขอความอนุเคราะห์นำมาเผยแพร่ใน Panchalee Blog เพื่อให้มีตัวอย่างหลักสูตรท้องถิ่นที่หลากหลายเป็นแนวทางแก่เพื่อนครูในการพัฒนาหลักสูตรถิ่น สามารถส่งมาได้ที anchalee@nfe.go.th ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้าค่ะ
      อาจารย์ขิง

    1. เรียน อาจารย์ Numnampom ที่เคารพ
      ดิฉันได้ติดต่อขอหลักสูตร ทั้ง 2 หลักสูตร จากอาจารย์ทนงศักดิ์ กาบปินะ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย ค่ะ จะส่งไปให้ทาง Mail นะคะ
      อาจารย์ขิง

  6. ผมจะทำหลักสูตรท้องถิ่นของศูนย็พัฒนาเด็กเเล็ก แต่ยังนึกไม่ออกเลยว่าจะเริ่มจากเรื่องรัยดี เริมตรงไหน อาจารย์ช่วยแนะนำผมหน่อยครับ

  7. อยากได้ตัวอย่างของหลักสูตรท้องถิ่นที่มีครบตั้งแต่คำอธิบายรายวิชาเลยนะครับมีพอให้ไหมครับอาจารย์ครับ

    1. เรียน อาจารย์วัชรินทร์ ที่เคารพ
      ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่น ช่วงวันที่ 5-9 กรกฎาคม 2553 ดิฉันจะไปเป็นทีม พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ที่เพชรบูรณ์
      คิดว่ากลับมา คงสามารถนำตัวอย่างหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์ นำเสนอใน Panchalee Blog ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  8. เรียนอาจารย์ พอดีกำลังเรียนกระบวนวิชาการพัฒนาหลักสูตรอยู่พอดี ได้ศึกษาตัวอย่างของอาจารย์แล้วได้ความคิคหลายๆเรื่องคับ พอดีผมนะเป็นคนไทลื้อ ชึ่งเป็นอำเภอที่คนไม่ค่อยรู้จักและมักจะไม่ทราบว่ามีกลุ่มชนไทลื้ออาศัยอยู่ จึงทดลองทำหลักสูตรเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นไทลื้อ ปัจจุบันน่าเสียดายถูกวัฒนธรรมคนเมืองสอดแทรกไปหมดเลยคับ

    1. เรียน อาจารย์อัฐพงค์ ที่เคารพ
      ดีใจมากค่ะที่อาจารย์เข้ามาแลกเปลี่ยนเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น ขณะนี้ดิฉันร่วมกับพี่น้องชาว กศน.ใน 9 จังหวัดในเขตภาคเหนือ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรรายวิชาเลือก เพื่อบรรจุไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ในการจัดการศึกนอกระบบ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีความสุขกับการพัฒนาหลักสูตรมาก เช่น หลักสูตรภาษาถิ่นไทยพรวน หาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย หลักสูตรประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก หลักสูตรประเพณีนบพระ เล่นเพลง จังหวัดกำแพงเพชร หลักสูตรประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งหลักสูตรที่พัฒนาแล้วจะนำเผยแพร่ง บน Panchalee Blog พร้อมทั้งคู่มือครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (แผนการสอน ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบ) ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  9. เป็นตัวอย่างหลักสูตรที่ดีมากครับ… ตอนนี้ผมกำลังศึกษาการทำหลักสูตรท้องถิ่น
    เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

  10. เป็นตัวอย่างที่ดีมากค่ะนำไปใช้ประกอบการเีรียนและการอาชีพได้เป็นอย่างดีแต่รบกวนขอรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาเพิ่มเติมได้ไหมค่ะตอนนี้เรียนเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นอยู่ขอบคุณค่ะ

    1. เรียน ครูแมว ที่เคารพ
      ใน Panchalee blog ที่หมวดหมู่การจัดการศึกษา ะมีหลักสูตรวิชาปรเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี และหลักสูตรวิชาประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก ะมีคำอธิบายรายวิชา และรายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  11. สวัสดีครับอาจารย์
    ผมเข้ามาศึกษาผลงานของอาจารย์เสมอ ผมขอเรียนปรึกษาอาจารย์ คือผมคิดจะทำผลงานฯ ครูเชี่ยวชาญ ที่คิดไว้คือหลักสูตรทัองถิ่นไม้ประดับ”ชวนชม” เพราะผมอยู่โคราชถิ่นกำเนิดชวนชมครับ คือผมอยากได้องค์ประกอบของหลักสูตรท้องถิ่นที่ครบถ้วนครับอาจารย์ช่วยกรุณา ผมด้วยนะครับ (คือเป็นหลักสูตรวิชาเพิ่มเติม ทั้งวิชา)
    ขอขอบคุณ สวัสดีครับอาจารย์

    1. เรียน อาจารย์ปราโมทย์ ที่เคารพ
      ใน Panchalee blog หมวดหมู่ การจัดการศึกษา มีตัวอย่างหลักสูตร 2 สูตร คือหลักสูตรประเพณีตักบาตรเทโวจังหวัดอุทัยธานี และหลักสูตรลอยกระทงสาย จังหวัดตาก จะมีคำอธิบายรายวิชา รายละเอียดคำอธิบายรายวิและหลักสูตร อาจารย์สามารถ Download ได้ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  12. ดิฉันเปิด internet หาเรื่องที่สนใจอ่าน เปิดของ ศน.แล้ว มาลองอ่านดู น่าสนใจเลยเปิดดูเรื่อยๆ มีเรื่องที่ดิฉันอยากรู้ได้อ่านเช่นเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นและเรื่องอื่นๆอีกมากมาย ชื่นชมท่านที่เขียนเรื่องราวต่างๆเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้

    1. เรียน คุณสุรีย์ ที่เคารพ
      ขอบคุณมาก สำหรับกำลังใจ ดิฉันจะพยามพัฒนา Panchalee blog ให้เป็นประโยชน์ต่อคุณครูทุกท่านและผู้ที่สนใจทั่วไป ค่ะ
      อาจารย์ขิง

    1. เรียนครูศิริลักษณ์ ที่เคารพ
      ตอนดิฉันเรียนปริญญาตรีทางการศึกษา ฝันว่าต้องการเป็นครูที่สอนนักเรียนให้เขาเข้าใจ พอสอนหนังสือจริง ๆพบว่าครูไม่ใช่สอนหนังสือเท่านั้นแต่ต้องทำอะไรอีกหลายอย่างเพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนและสามารถมีอาชีพดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ พอมาเป็นศึกษานืเทศก์ลูกศิษย์ของดิฉันคือครูความคิดของดิฉันก็ไม่เปลี่ยน คิดอยู่เสมอว่าทำอย่างไรจะให้เขามีการพัฒนาวิชาชีพและมีความก้าวหน้าในอาชีพ สิ่งที่เป็นหลักในการทำงานคือความตั้งใจและความจริงใจ ขอบคุณที่ให้เกียรติเป็นครูต้นแบบค่ะ
      อาจารย์ขิง

  13. เพิ่งเปิดมาเจอ เป็นชนเผ่ากวย(กูย)โดยกำเนิด พอจะรู้ความเป็นมาของชนเผ่าตัวเองอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเผ่าพันธ์ที่ภาษาใกล้จะสูญหาย เพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่พูด และไม่มีคนช่วยอนุรักษ์ บางหมู่บ้านมีแต่คนแก่เท่านั้นที่ยังใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน คนที่ศึกษา ตามเก็บข้อมูลอย่างละเอียดและเรียบเรียงเป็นเล่มคือ อาจารย์วีระ สุดสังข์ เป็นครู เป็นนักเขียน ใช้นามปากกา ฟอน ฝ้าฟอง อยู่ศรีสะเกษ ดูเหมือนจะมีงานเขียนลงหนังสือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ประจำ ลองเปิด Facebook ชื่อ วีระ สุดสังข์ นะครับแล้วจะมีข้อมูล

    1. เรียน คุณยุทธพงษ์ ที่เคารพ
      ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
      อาจารย์ขิง

  14. ที่โรงเรียนก็ให้ผมทำหลักสูตรท้องถิ่นเหมือนกัน เพราะสมศ.จะมาประเมินรอบ 3 กำลังศึกษาตัวอย่างของอาจารย์อยู่ครับ แต่ยังไม่ได้เรียบเรียง ที่นี่มีผลิตผลท้องถิ่นคือ การทอเสื่อกก(ผือ) ต้นกกที่นี่เรืยกผือ มีอยู่ตามธรรมชาติเพราะเป็นหมู่บ้านอยู่ใกล้น้ำมูล ชาวบ้านประมาณ 40% นำกกมาทอเป็นเสื่อ เลยคิดว่าน่าจะนำมาทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้เด็กได้ศึกษา เพราะเคยเชิญชาวบ้านมาสอนการทอโดยใช้งบวิทยากรภายนอกเกือบทุกปี ใครมีตัวอย่างหลักสูตรทอเสือกก ช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับ

    1. เรียน อาจารย์ยุทธพงษ์ ที่เคารพ
      หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง”เสื่อกก”เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะการทอเสื่อกกในแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่นเสื่อกกจังหวัดจันทรบุรี และเสื่อกกจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะไม่เหมือนกัน จะแตกต่างตั้งแต่พันธ์กก การทอ การออกแบบลวดลาย ดิฉันเคยไปเยี่ยมกลุ่มทอกกที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ลักษณะของเสื่อคล้ายเสื่อของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พอพูดคุยกับชาวบ้านจึงทราบว่าเป็นคนภาคตะวันออกเฉลียงเหนือย้ายถิ่นมาอยู่ที่เชียงม่วน เรื่องหลักสูตรน่าจะทำสองหลักสูตรคือหลักสูตรการปลูกกกและการทอเสื่อกก หลักสูตรท้องถิ่นจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องของท้องถิ่น และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ เป็นการอนุรักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ดิฉันได้ส่งเสริมให้ครู กศน. นำคำขวัญของจังหวัดและอำเภอมาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น และได้ทดลองใช้เมื่อภาคเรียนที่ 2/2553 ได้ผลดีมาก ถ้ามีหลักสูตรเสื่อกกจะส่งให้อาจารย์ดูเป็นตังอย่างนะคะ
      อาจารย์ขิง

  15. ครูทิพวรรณ
    ดิฉันเป็นนักวิชาการมือใหม่ ไม่รู้จะเริ่มต้นเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นอย่างไร ขอบคุณมากๆ สำหรับแนวทางนะคะ

  16. เพิ่งมาเป็นครูรัฐบาลแต่ก่อนเป็นครูเอกชนรู้สึกเหมือนเราทำธุรกิจให้เขารวยตั้งใจไว้ว่าถ้าได้มาสอนชนบทเราจะทำให้เด็กได้รู้จักนำความรู้ไปใช้แต่ก็ยังไม่มั่นใจค่ะเพราะรู้สึกว่าหน้าที่ของครูชนบทไม่ได้เป็นแค่ครูผู้สอนอย่างเดียว ขอบคุณความรู้ที่ได้รับจะนำไปต่อยอดให้เกิดคุณค่าค่ะ

    1. เรียน อาจารย์ชญาภา ที่เคารพ
      ขอบคุณที่มาเยี่ยม Panchalee blog การเป็นครู นอกจากเป็นผู้สอนแล้ว บางครั้งต้องเป็น พ่อ แม่ คนที่สอง เพราะปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางสังคม และครอบครัว มีปัญหามาก ซึ่งส่งผลต่อเด็ก ไม่ว่าในเมืองหรือชนบท อาชีพครู เป็นอาชีพที่มีโอกาสสร้างบุญกุศล และเป็นอาชีพที่สร้างความเข้มแข็งให้สังคมและประเทศชาติ ค่ะ ขอให้อาจารย์จงภูมิใจ ถ้าอาจารย์ต้องการข้อมูลอะไรเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน บอกมาได้นะคะ ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  17. สวัสดีค่ะอาจารย์
    ดิฉันเพิ่งย้ายมาเป็นครูสามัญเดิมสอนสอนสายวิชาชีพค่ะ งงมากค่ะกับการนำหลักสูตรท้องถิ่นมาใช้กับการจัดการเรียนการสอน และโรงเรียนมีพฤษศาสตร์โรงเรียน ต้องนำมาใส่ในแผนการเรียนด้วยค่ะ ถึงตอนนี้ยังคงไม่ถ่องแท้มากนักค่ะ แต่พอได้อ่านข้อมูลตัวอย่างของอาจารย์ ทำให้ดิฉันเข้าใจเรื่องของหลักสูตรท้องถิ่นยิ่งขึ้นค่ะขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ

  18. ขอขอบคุณอาจารย์มากนะคะ สำหรับตัวอย่างหลักศูตรท้องถิ่นที่อาจารย์ยกมา และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของดิฉันมาก

  19. อ่านแล้วได้สาระความรู้มากเลยค่ะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย
    ดิฉันจะนำไปปรับใช้กันที่โรงเรียนค่ะ
    ขอบคูรอาจารย์มาก นะคะ

  20. ตอนนี้หนูทำหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมืองกาณจน์ค่ะแต่ไม่รู่จะตั้งชื่อเรื่องอะไรค่ะ ช่วยแนะนำให้หน่อยน่ะค่ะ

    1. สวัสดีค่ะ คุณมาลัย
      หลักสูตรท้องถิ่น ถ้าจะใช้ชื่อให้สื่อความหมายตรงไปตรงมา เช่น “ภูมิศาสตร์กาญจนบุรี” หรือต้องการใช้คำให้น่าสนใจก็ได้ เช่น “กาญจนบุรีดินแดนอันอุดมสมบูรณ์” ลองตั้งชื่อหลาย ๆชื่อ แล้วเลือกอีกครั้ง หลักสำคัญคือชื่อที่ตั้งต้องสื่อความหมายได้ชัดเจน ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  21. ชื่นชมผลงานที่บ่งบอกถึงการอนุรักษ์ภุมิปัญญา เก่ง + ยอดทีเดียวขอชื่นชมค่ะ

  22. ขอขอบพระคุณอาจารย์มากที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่น แต่ดิฉันอยากขอความอนุเคราะห์จากท่านเพิ่มเติมจากตัวอย่างอีกค่ะ คือดิฉันต้องการเขียนหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับงานประดิษฐ์เศษวัสดุเป็นของใช้ เช่นประดิษฐ์หมวกจากกล่องกระดาษ ประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษผ้าไหม ประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าไยบัว และวัสดุอื่นๆ
    ไม่ทราบจะเริ่มต้นอย่างไรและลงอย่างไรจึงจะได้รูปเล่มค่ะ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยชี้แนะและให้ตัวอย่างเป็นรูปเล่มด้วยค่ะ จักขอบพระคุณอย่างสูง
    ขอแสดงความนับถือ
    คุณครูรุ้งตะวันค่ะ

    1. สวัสดีค่ะ คุณ Rungtavan
      . ต้องทราบว่าเราจะทำสื่อประเภทไหน เช่น เอกสารประกอบการสอน ชุดการสอน สื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งสื่อแต่ละประเภทจะมีรูปแบบแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถศึกษาได้จาก หนังสือ ตำรา หรืองานวิจัย เกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนหรือการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้
      ใน Panchalee blog มีบทความเรื่องบทเรียนสำเร็จรูป และตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูป เป็นเล่ม 3 เล่มซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสื่อคล้ายกับสื่อโดยทั่วไป ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  23. อาจารย์ขา หนูได้เข้าไปใน blog ของอาจารย์ รู้สึกว่า อาจารย์เก่งจัง หนูขอเรียนถามอาจารย์นะค่ะว่า การสอดแทรกหลักสูตรท้องถิ่นลงในคำอธิบายรายวิชา (ภาษาอังกฤษ) เราต้องสอดแทรกทุกรหัสวิชาหรือทุกระดับชั้นเลยเหรอค่ะ หนูอยากขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยยกตัวอย่างการสอดแทรกให้ดูสักระดับชั้นได้หรือเปล่าค่ะ หนูไม่มีความรู้เลย พยายามทำความเข้าใจจากหนังสือ หรือ internet แล้ว แต่ก็ยังงงๆอยู่เลย หนูอยู่หัวหินค่ะ

    1. สวัสดีค่ะครูอ้อย
      ขออภัยที่ตอบคำถามช้า เพราะมีประชุมที่พัทยาการใช้งาน Internet ไม่ค่อยดี การบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นสามารถนำมาไว้ที่คำอธิบายรายวิชา หรือในรายละเอียดคำอธิบายรายวิชาก็ได้ แต้การบูรณาการจะมองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในแผนการสอน การจะบูรณาการทุกรหัสวิชาหรือทุกระดับชั้นนั้นจะต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้แต่ละระดับก่อน หรือถ้าเป็นความต้องการของผู้เรียนและผู้ปกครอง(ตามหลักการ) ก็สามารถบูรณาการได้ ค่ะ ดิฉันจะพยายามหาวิชาภาษาอังกฤษที่บูรณาการเรื่องของท้องถิ่น มานำเสนอ ใน Panchalee blog ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  24. อาจารย์ดิฉันอยากได้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว เห็ดบด(เห็ดกระด้าง)และหลักสูตรการเพาะเห็ดฟางค่ะ ขอบคุณอาจารย์มาก

    1. สวัสดีค่ะอาจารย์สมเศรียร
      ขอบคุณที่ติดตาม Panchalee blog มาอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรทัองถิ่นเรื่องการเพาะเห็ด จะพยามยามนำเสนอใน Panchalee blog เร็ว ๆ นี้ ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  25. อาจารย์ค่ะ โรงเรียนของดิฉันเป็นโรงเรียนที่อยู่ในโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ตอนนี้ต้องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ขอรบกวนอาจารย์ด้วยนะค่ะ ขอขอบพระคุณมากค่ะ

    1. สวัสดีค่ะครูน้อย
      กศน.มีหลักสูตรปุ๋ยหมักชีวภาพ แทบทุกจังหวัด แต่โรงเรียนของครูน้อยคงเป็นโรงเรียนในระบบโรงเรียน คงต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมค่ะว่าผู้เรียนเป็นนักเรียนระดับชั้นใด เพราะการเขียนจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ วิธีสอน และเวลาเรียน จะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนค่ะ
      อาจารย์ขิง

  26. ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง สำหรับตัวอย่างการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น
    เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ จะลองทำดูบ้าง ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่
    ขอขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

    1. สวัสดีค่ะคุณกาญจนา คุณกาญจนาลองทำหนึ่งหลักสูตรแล้วส่งมาให้ดิฉันดูทาง anchalee@nfe.go.th เป็นการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น อีกรูปแบบหนึ่งค่ะ
      อาจารย์ขิง

  27. เคยเรียนแต่การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาไม่เคยเขียนหลักสูตรท้องถิ่นค่ะเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ จะลองทำดูบ้าง ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่
    ขอขอบพระคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

    1. สวัสดีค่ะคุณเบญจวรรณ
      หลักสูตรทัองถิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา เพราะจะทำให้การจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องที่มีความหมายต่อเขาสามารถนำความรู้ ประการณ์ ทักษะต่าง ๆ ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  28. ตอบโจทย์การศึกษาตามอัธยาศัยได้เป็นอย่างดีและเป็นรูปธรรมชัดเจนครับ..ตอนนี้ กศน.จังหวัดสุโขทัยกำลังจัดทำแนวทางการศึกษาตามอัธยาศัย เรื่อง “งานพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ๗๒๙ ปีลายสือไทย” งานสักการะและมีกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ มกราคม ๒๕๕๕ นี้ นักศึกษาหรือประชาชนทั่วไปเข้าไปศึกษาเรียนรู้แล้วได้อะไรบ้าง สามารถนำมาตีค่าสู่หน่วยการเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้สาระวิชาต่างๆได้อย่างไรบ้าง และเป็นคลังความรู้สำหรับตนเองได้อย่างไร
    ขออวยพรให้ท่าน ศน.ขิงหายป่วยผ่าตัดนิ่วเร็วไวและช่วยชี้แนะพวกเราด้วยนะครับ

    1. สวัสดีค่ะ ผอ.สุโขทัย
      ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ ที่ท่านไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงาน จังหวัดสุขโขทัย กศน.อำเภอ ในจังหวัดสุโขทัย เป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ภาคีเครือข่าย และชุมชน ให้ความสนใจและสนับสนุนการจัดกิจกรรม กศน. เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะท่าน ผอ. ปัญณพงศื เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ทั้งเชิงบริหารและเชิงวิชาการยิ่งทำให้งาน กศน. ของสุโขทัยสามารถขยายโอกาสให้ผู้เรียนและผู้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ค่ะ ตอนนี้กลับมาพักที่บ้านแล้วค่ะ วันที่ 16 มกราคม 2555 จะกลับไปทำงานที่สำนักฯ ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ
      อาจารย์ขิง

  29. ขอบคุณมากครับอาจารย์ ที่เป็นอย่างสูง ผมก็กำลังศึกษาหลักสูตรพอดีเลย
    ต้องการตัวอย่างหลักสูตรของการศึกษาขั้นพื้นฐานเอาเป็นแบบอย่าง

  30. เรียนคุณครู Panchalee
    ขอบคุณครับ สำหรับเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนผู้ที่สนใจทั่วไป ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจในการพัฒนา blog แห่งนี้ เพื่อการศึกษาไทยจะได้ก้าวหน้าต่อไป สมดังสุภาษิต ” สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ” ขออนุโมทนาครับ

  31. ขอบคุณนะครับสำหรับแนวทางการทำหลักสูตรท้องถิ่น ผมเป็นมือใหม่ กำลั
    งพยายามทำหลักสูตรท้องถิ่นการทอเสื่อกก รบกวนอาจารย์แนะนำเพิ่มเติมด้วยนะครับ

  32. ขอบคุณสำหรับแนวทางในการทำหลักสูตรท้องถิ่นมีประโยชน์มากจะนำไปเป็นแนวทางในการเขียนหลักสูตรต่อไปขอบคุณมากคะ

  33. ขอขอบคุณมากๆ และขออนุญาติเอาไปดูเป็นแนวทางในการเขียนหลักสูตรต่อไปนะคะ ขอชื่นชมอาจารย์ด้วยนะคะ เป็นบทความที่มีประโยชน์ต่อการเรียนมากเลยล่ะค่ะ ^_____^V สู้ๆ ค่ะอาจารย์

    1. สวัสดีค่ะคุณ Kao
      ขอบคุณที่มาเยี่ยม Panchalee blog ค่ะ ดิฉันขอเชิญชวนให้ติดตามวารสารการศึกษาตลอดชีวิต ฉบับที่ 2 เดือนตุลาคม 2555 เล่มนี้จะเป็น Theme เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ค่ะ จะออกเผยแพร่ ต้นเดือนตุลาคมนี้ ใน Panchalee blog และ web nfe.go.th ค่ะ
      อาจารย์ขิง

    1. สวัสดีค่ะคุณดวงนภา
      ขอบคุณที่มาเยี่ยม Panchalee blog และยินดีอย่างยิ่งที่บทความจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน ค่ะ
      อาจารย์ของ

  34. เรียนท่าน อาจารย์ค่ะ ได้อ่านขั้นตอนการเขียนหลักสูตรท้องถิ่นแต่ละเรื่องแล้ว ดิฉันขออนุญาตนำไปประยุกต์กับหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนนะคะ เพราะทำหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับการประดิษฐ์เศษผ้าเป็นพรมเช็ดเท้าค่ะ ขอให้ท่านช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

    1. สวัสดีค่ะอาจารย์รจนา
      ด้วยความยินดีค่ะ การทำหลักสูตรท้องถิ่น ควรทำใบความรู้ ใบงาน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบไปพร้อมกัน พร้อมทั้งทำแผนการเรียนรู้ นำไปทดลองใช้ และปรับปรุงให้สมบูรณ์ จึงจะเป็นกระบวนการพัฒนานาหลักสูตรที่แท้จริง ค่ะ ทำเสร็จแล้วส่งมาให้ดิฉันช่วยอ่านได้นะคะ
      อาจารย์ขิง

  35. สวัสดี่ค่ะ อาจารย์ขิง
    ทุกคำถามและคำตอบ มีประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านอื่นๆ มากค่ะ ชอบค่ะ

    ตอนนี้กำลังปรับพัฒนาคู่มือ หลักสูตรเพื่อชุมชน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เพื่อใช้อบรมเชิงปฏิบัติการ
    ให้แก่ อสม.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

    จะขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ร่วมพิจารณา ตรวจความถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชน ก่อนทดลองใช้ นะค่ะ

  36. เรียน อ.ขิง ผมขอไฟลล์ที่อ.ขิงบรรยาย ของวิทยาลัยในวัง เมื่อวันที่ ๒๘ พค.เช้าด้วยครับอาจารย์ จะได้นำไปเป็นแนวทำการบ้านส่งให้วิทยาลัยทันตามกำหนด hkb_banpong@hotmail.co.th

    1. เรียน ท่านอาจารย์ ตอนนี้ดิฉันกำลังศึกษาเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น ขอเอาเป็นตัวอย่างนะคะอาจารย์

      1. สวัสดีค่ะคุณวัชระวิชญ์
        ขอบคุณที่มาเยี่ยม Panchalee blog ค่ะ ยินดีมากค่ะที่บทความเป็นประโยชน์ต่อท่านค่ะ
        อาจารย์ขิง

  37. บทความของท่านอาจารย์มีประโยชน์มากค่ะ ตอนนี้กำลังจะทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบางระกำค่ะ ต้องการจะบูรณาการทุกกลุ่มสาระและทุกระดับชั้นตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ค่ะ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี คือเราจะทำเป็นเดือนแห่งการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่น โดยจัดสัปดาห์ละ 1 วันให้นักเรียนออกไปเรียนรู้กับครูภูมิปัญญาในท้องถิ่น จัดเป็น 7 ฐานการเรียนรู้ เวียนไปสัปดาห์ละ 1 ฐาน ใช้เวลาเรียนทั้งวันในฐานหนึ่ง มีใบงานกิจกรรมให้ทำสอดแทรกให้เข้ากับทุกกลุ่มสาระ ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน ฐานที่จัดก็จะมี 1. ขนมไทย 2.เรื่องเล่าจากหลวงปู่(วัดสุนทรประดิษฐ์) 3.บ้านโบราณ 4.การตัดกระดาษ 5.เกษตรพอเพียง(การปักชำกิ่งพันธุ์ไม้) 6.งานหล่อปูน 7.การตีเหล็กทำมีด ไม่รู้ว่าะเริ่มทำเป็นหลักสูตรยังงัยดี ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

    1. สวัสดีค่ะอาจารย์อุษา
      การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะฐานการเรียนรู้ และเป็นการจัดทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้น ดีมากค่ะขอชื่นชมแนวคิดในการจัดกิจกรรมดังกล่าว
      การเริ่มต้นทำควรจะเริ่มจากนำฐานการเรียนรู้ทั้ง 7 ฐาน แต่ละฐาน มาเขียนเป็นหลักสูตรท้องถิ่นก่อน และนำหลักสูตรไปจัดทำแผนการเรียนรู้ แล้วจึงนำไปจัดกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ ค่ะ อาจารย์เขียนแล้วส่งมาให้ดิฉันดูให้ก็ได้นะคะ
      อาจารย์ขิง

  38. ขอบคุณมากๆๆคร๊ ที่ข้อมูลนี้ ดิฉันได้นำมาเป็นแนวคิดในชีวิตประจำวัน และเป็นเนื้อหาที่ใช้เรียนได้ดีมากๆๆคร๊ หลักสูตรท้องถิ่นนี้มีประโยชน์มากๆๆ ค่ะ

  39. ขอบคุณมากคะสำหรับตัวอย่างหลักสูตรท่้องถิ่นกำลังจะทำพอดีก็เลยศึกษาของอาจารย์เป็นหลักสูตรตัวอย่างที่ดีมากคะ

  40. มีหลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะนาวมั้ยคะ ถ้ามีช่วยส่งมาให้หน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    1. สวัสดีค่ะคุณสุพัชตรา
      หลักสูตรการปลูกมะนาว กำลังพัฒนาค่ะ เสร็จแล้วจะส่งไปให้ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  41. ขอบพระคุณแนวทางในการจัดทำ ขออนุญาตเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรของโรงเรียนนะคะ ขอความกรุณาเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นการละเล่นพื้นบ้าน และประเพณีท้องถิ่น สำหรับเด็กอนุบาล-ป.3 คะ

ส่งความเห็นที่ สมเศียร มณีรัตน์ ยกเลิกการตอบ