การวิจัยการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร

book_icon3บทคัดย่อ

ชื่อ การวิจัยการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร
ผู้วิจัย นางสาวนพกนก  บุรุษนันท์
ปีที่วิจัย 2549

 

 
             การวิจัยการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร เป็นการวิจัยและพัฒนา
มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร  เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหารให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต และเพื่อศึกษาการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตในจังหวัดมุกดาหาร  ขั้นตอนการวิจัย  แบ่งออกเป็น  3  ระยะ  คือ  ระยะที่  1  เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาระยะที่  2  เป็นการทดลอง โดยวิเคราะห์สภาพความต้องการในระยะที่ 1 แล้วนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ต่างๆ  ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมการพัฒนา  ระยะที่  3  เป็นระยะของการพัฒนากลยุทธ์  โดยนำกลยุทธ์ที่ได้ในระยะที่  2  ไปขยายผลการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ แล้วประเมินผล  รูปแบบความพึงพอใจ  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  ประกอบด้วย  ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ  2547 ถึง  2548  จำนวน  383  คน  ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนอำเภอ  6  แห่งในจังหวัดมุกดาหาร  ปีงบประมาณ  2549 จำนวน 2,058  คน  นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองมุกดาหาร  ปีการศึกษา 2548  จำนวน  322  คน  นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร  ปีการศึกษา 2548  จำนวน  186  คน  นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ  6  อำเภอ ปีการศึกษา 2549  จำนวน 2,201  คน  ครูการศึกษานอกโรงเรียน  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร  จำนวน 87  คน  บรรณารักษ์ / เจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชน  จำนวน  7  คน  ผู้บริหารศูนย์บริการการศึกษา-นอกโรงเรียนอำเภอ  จำนวน 7  คน 
             เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่  1  (Phase I)  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหารและแบบสัมภาษณ์  ระยะที่ 2  (Phase II)  เป็นแบบสอบถามการศึกษาความพึงพอใจ ต่อกลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร ระยะที่ 3  (Phase III)  เป็นแบบสอบถามการศึกษาความพึงพอใจต่อกลยุทธ์
             การพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลจากการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์  ปรากฏดังนี้
            1.  ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร  มีความต้องการ ด้านอาคารสถานที่และบรรยากาศ ด้านระบบงานและบริหารจัดการ   ด้านทรัพยากรสารสนเทศ  ด้านการบริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด   
            2. ศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหารให้เป็นห้องสมุดประชาชนมีชีวิต พบว่า ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในด้านการปรับภูมิทัศน์  บรรยากาศภายในห้องสมุด  การให้บริการ   การสร้างทีมงานเชิงรุก   การสร้างเครือข่ายส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุด  สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  กิจกรรมหลากหลาย  เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วม  การอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ  และด้านการให้ความสำคัญต่อผู้ใช้บริการ  ยกเว้น ด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่น  มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
            3. ศึกษาการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตในจังหวัดมุกดาหาร พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร เป็นห้องสมุดประชาชนมีชีวิตในด้านการจัดบรรยากาศภายในห้องสมุด  สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการให้บริการ  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 

                โดยสรุปแล้ว  การศึกษาการพัฒนาห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหารมีชีวิต ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ค้นพบ  10 กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิต สามารถนำไปขยายผลกับห้องสมุดประชาชนอำเภอ นอกจากนั้นยังขยายไปยังเครือข่ายโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งศูนย์การเรียนชุมชน  และโครงการห้องสมุดประชาชนสานรักสานสัมพันธ์ห้องสมุดโรงเรียนมีชีวิต  ยิ่งไปกว่านั้นยังเกิดผลดีกับการบริหารจัดการของผู้บริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ บรรณารักษ์ ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ใช้บริการ  นักศึกษา  ชุมชน และงานการศึกษานอกโรงเรียนกล่าวคือเกิดองค์ความรู้จากกลยุทธ์ ที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ให้เกิดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน  บุคคลสามารถแสวงหาความรู้ได้ตามปัจเจกบุคคล  เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ประชาชนเกิดการรักการอ่าน  ส่งผลสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนตลอดชีวิต

 

*********************

3 Replies to “การวิจัยการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร”

  1. เรียน ท่าน ศน.อัญชลี กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา กำลังดำเนินการพัฒนาห้องสมุดประชาชนจังหวัด ให้เป็นห้องสมุดแนวใหม่ มีบริการที่ทันสมัย เป็นห้องสมุด 3 ดี ตามนโยบายสำนัก ขณะนี้กำลังปรับปรุงด้านภูมิทัศน์และภายใน รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ในเดือนตุลาคมนี้เปิดอบรม 8 หลักสูตรแก่ประชาชนทั่วไป มีรายละเอียดที่ http://www.pranakorn.go.th

    1. เรียน ผอ.พานิช
      พี่ขอแสดงความชื่นชมที่ท่านมีแนวคิดในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีบริการที่ดี
      เป็นห้องสมุด ๓ ดี คือมีหนังสือ สื่อ ดี
      มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และมีบรรณารักษ์ที่มีคุณภาพ
      ซึ่งจะทำให้ห้องสมุดเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
      เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน
      เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน
      และเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน ได้อย่างเป็นอย่างดี
      ต้นเดือนกันยายน พี่จะไป ศว, พระนครศรีอยุธยา
      จะขอไปเยี่ยมห้องสมุดประชาชน ด้วยค่ะ
      อาจารย์ขิง

  2. เรียน ศน.อัญชลี กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา และนางสาวนพกนก บุรุษนันท์
    ด้วยข้าพเจ้านายพิทักษ์ พรหมเจริญ ครูอาสาสมัครฯ กศน.อำเภอท่าตะเกียบ กำลังศึกษาในหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีความสนใจ งานการวิจัยการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตจังหวัดมุกดาหาร จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลวิจัยดังกล่าวเพื่อเป้นแนวทางในการจัดการพัฒนาห้องสมุดประชาชน กศน.อำเภอท่าตะเกียบ ในการส่งเสริมการพัฒนางาน กศน.ต่อไป
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

    กศน.อำเภอท่าตะเกียบ หมู่ที่ 4 ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160 โทรศัพท์ 038-508121 E-mail.Pituk_pj@hotmai.com

ส่งความเห็นที่ panitsringam ยกเลิกการตอบ