ตัวอย่างบันทึกหลังการพบกลุ่ม

ภัญญดา  กันอ่อง
ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน  ศรช. พรหมพิราม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพรหมพิราม
จังหวัดพิษณุโลก

 

ตัวอย่างบันทึกหลังการพบกลุ่ม

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552

 

บันทึกหลังการพบกลุ่ม ครั้งที่ 1  

วันที่ 17  เดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2552

 

1. วิชา

1. วิชาภาษาไทย  เรื่องหลักการอ่าน
2. วิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องพัฒนาการ

เวลา  9.00-12.00 น   จำนวน  3  ชั่วโมง

2. สภาพการพบกลุ่ม            

 2.1  มีนักศึกษา 60 คน มาพบกลุ่ม 60 คน
 2.2  การจัดกิจกรรม
        1) แจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในการพบกลุ่มครั้งที่ 1 ผู้เรียนทราบ
        2) ได้แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ๆ 10 กลุ่มๆ ละ 6 คน ครู นักศึกษา ร่วมกัน วิเคราะห์หลักสูตร และสาระการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย เรื่องหลักการอ่าน และวิชาพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องพัฒนาการ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการเรียนรู้รายบุคคล เนื้อหาที่ง่าย ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื้อหาที่ยากครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้

 

3. ข้อดีของการพบกลุ่ม

          นักศึกษามาพบกลุ่มทุกคน  ในการพบกลุ่มครั้งแรกของภาคเรียนที่  1/2552  ทำให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักสูตร เนื้อหาสาระ วิธีเรียน และวิธีวัดผล ประเมินผล ทั้ง 2 วิชา ตลอดภาคเรียน การจัดกิจกรรมการพบกลุ่มครั้งนี้พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความตั้งใจในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาที่จะนำมาใช้ในการพบกลุ่ม ทั้ง 18 ครั้ง นอกจากนั้นผู้เรียนส่วนใหญ่ สามารถแสดงความคิดเห็น ร่วมกับเพื่อนในกลุ่มและครู

 

4. ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา 

          ปัญหาในการพบกลุ่ม ครั้งนี้คือ ผู้เรียนยังขาดความเข้าใจวิธีการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ และการแบ่งเนื้อหา ยาก ง่าย  จึงทำให้กระบวนการพบกลุ่มล่าช้า

          วิธีการแก้ปัญหา  ครูอธิบายวิธีการวิเคราะห์ การแบ่งเนื้อหา ที่ยาก ง่าย   วิธีเขียนแผนการเรียนรู้รายบุคคล ให้ผู้เรียนนำไปทำเป็นการบ้าน  และนัดหมายให้นำมาส่งในการพบกลุ่มครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552

                                                                             ภัญญดา   กันอ่อน
                                                                             ครู ศรช.พรหมพิราม
                                                                             17 พฤษภาคม  2552

———————————————————–

บันทึกหลังการพบกลุ่มครั้งที่ 2

วันที่ 24 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552

1. วิชา

1. วิชาภาษาไทย เรื่องหลักการอ่าน คำควบกล้ำ คำพ้อง คำแผลง
2. วิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เรื่องพัฒนาการ

เวลา  9.00-12.00 น   จำนวน  3  ชั่วโมง

2.สภาพการพบกลุ่ม

2.1  ผู้เรียนมาพบกลุ่ม 55  คน ไม่มาพบกลุ่ม 5  คน
2.2  การจัดกิจกรรม
        1) ครูแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในการพบกลุ่มครั้งที่ 2 ให้ผู้เรียนทราบ
        2) ให้ผู้เรียนส่งแผนการเรียนรู้รายบุคคล ที่มอบหมายในการพบกลุ่มครั้งที่ 1
        3) วิชาภาษาไทย แบ่งผู้เรียนออกเป็น 10 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ให้ร่วมกันศึกษา           ควาหมาย ของคำพ้อง คำสมาส คำแผลง คำควบกล้ำแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้ แล้วให้แต่ละกลุ่มส่งผู้แทนออกมารายงานหน้าชั้น
            –  ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ เรื่อง หลักการอ่าน คำควบกล้ำ คำพ้อง คำแผลง
        4) วิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 ให้ผู้เรียนแต่ละคน ศึกษาเรื่องความแตกต่างของพัฒนาการวัยต่าง ๆ จากหนังสือแบบเรียน และใบความรู้
            –  ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ เรื่องความแตกต่างของพัฒนาการวัยต่าง ๆ

        5) จัดทดสอบย่อย วิชาภาษาไทย และวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 เพื่อวัดผลประเมินผล ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน

3. ข้อดีของการพบกลุ่ม

         ผู้เรียนส่วนใหญ่ สนใจ และตั้งใจทำกิจกรรมการเรียนรู้  ผู้เรียนได้ซักถามประเด็นเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่ยังไม่เข้าใจจากครู และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในกลุ่มเรียน

4.ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา

         4.1 การทดสอบย่อย ผู้เรียนยังขาดทักษะในการเขียนคำตอบข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การเขียนบรรยายที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจ ผู้เรียนยังไม่สามารถเขียนสื่อความหมายได้

          วิธีการแก้ปัญหา โดยครูได้ อธิบายวิธีการเขียนบรรยายในการตอบการทดสอบย่อย ให้กับผู้เรียน พร้อมทั้งเขียนตัวอย่างให้ผู้เรียนดูเป็นแนวทางในการเขียน

          4.2 ผู้เรียนที่ไม่มาพบกลุ่ม   จำนวน 5 คน ครูแก้ปัญหาโดยติดตามผู้เรียนและมอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าใน เนื้อหาสาระที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการพบกลุ่มครั้งที่ 2 โดยให้ผู้เรียนทำ กรต. และนำงานมาส่งในการพบกลุ่มครั้งที่ 3 ในวันที่  31  เดือนพฤษภาคม 2552

ภัญญดา  กันอ่อง  
ครู ศรช. พรหมพิราม
24  พฤษภาคม  2552

————————————————————

 

บันทึกหลังการพบกลุ่มครั้งที่ 3

วันที่ 31 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552

 

1. วิชา

1. วิชาภาษาไทย การอ่านร้อยแก้วร้อยกรอง
2. วิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 ชีวิตและครอบครัว

เวลา  9.00-12.00 น   จำนวน  3  ชั่วโมง

2. สภาพการพบกลุ่ม

        1.1 ผู้เรียนมาพบกลุ่ม 50 คน ไม่มาพบกลุ่ม 10 คน
        1.2 การจัดกิจกรรม
            1) ครูแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในการพบกลุ่มครั้งที่ 3 ให้ผู้เรียนทราบ
           2) วิชาภาษาไทย   ครูสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การอ่านบทร้อยแก้ว ร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และสาธิตการอ่านโดยใช้สื่อ CAI (Computer Assisted Instruction)    และให้ผู้เรียนฝึกการอ่าน ตามสื่อ CAI
             –  ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ เรื่อง การอ่านร้อยแก้วร้อยกรอง

            3) วิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 ได้กำหนดประเด็นให้ผู้เรียนได้อภิปรายร่วมกัน ในหัวข้อ การวางแผนครอบครัว เพศศึกษา การเจริญเติบโตของร่างกายในวัยต่าง ๆ
             – ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ เรื่อง วางแผนครอบครัว เพศศึกษา การเจริญเติบโตของร่างกายในวัยต่าง ๆ

  3.ข้อดีของการพบกลุ่ม

           3.1 วิชาภาษาไทย ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับการอ่านบทร้อยแก้วร้อยกรอง เนื่องจากได้รับความรู้จากครูเกี่ยวกับหลักการในการอ่าน และได้ฝึกการอ่านจาก สื่อ CAI

           3.2 วิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตและครอบครัว เนื่องจากครูได้นำเรื่องหรือประเด็นที่เป็นวิถีชีวิตของผู้เรียน ให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันและให้ผู้เรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้

 4.ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา

           4.1 ผู้เรียนบางคน ยังไม่เข้าใจการอ่านบทร้อยแก้วร้อยกรอง และไม่สามารถอ่านบทร้อยแก้วร้อยกรองได้ ครูแก้ปัญหาโดยมอบใบงานให้ผู้เรียนไปฝึกการอ่าน
           4.2 ผู้เรียนที่ไม่มาพบกลุ่ม ครูได้ติดตามผู้เรียนและมอบใบความรู้และใบงาน ให้ไปศึกษาด้วยตนเองและนำงานมาส่งการพบกลุ่มครั้งที่ 4  ในวันที่  7  เดือนมิถุนายน  2552      

ภัญญดา  กันอ่อง         
ครู ศรช. พรหมพิราม
31  พฤษภาคม  2552

 

**********************************************

มาตรฐานและตัวบ่งชี้กิจกรรม กศน._(1)

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
19  พฤศจิกายน 2552

         

สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้จัดทำมาตรฐานและตัวบ่งชี้กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีวัตถุประสงค์  3  ประการคือ

1. เพื่อให้สถานศึกษาและผู้มีหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นำมาตรฐาน กิจกรรม กศน. ไปใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานจัด กศน.
2. เพื่อนำไปใช้ในการกำกับ ตรวจสอบและควบคุมในการดำเนินงาน กศน. ไปสู่คุณภาพแนวเดียวกัน
3. เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

 มาตรฐานกิจกรรม กศน. มีดังนี้

         – มาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ
         – มาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         – มาตรฐานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
         – มาตรฐานการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

 

มาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อการส่งเสริมการรู้หนังสือ                          

           การรู้หนังสือ หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารโดยการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทย คิดเลขเป็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

 

กิจกรรม มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน
การส่งเสริมการรู้หนังสือ    1. การจัดทำข้อมูลและสารสนเทศของผู้ไม่รู้หนังสือ    1. ประชาสัมพันธ์โครงการด้วยวิธีการที่หลากหลาย
   2. สำรวจข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ
   3. จัดทำข้อมูลและสารสนเทศผู้ไม่รู้หนังสือเป็นปัจจุบัน
   4. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ
  มี 1 ข้อ=ปรับปรุง
  มี 2 ข้อ = พอใช้
  มี 3 ข้อ = ดี  
  มี 4 ข้อ = ดีมาก
   2. การจัดการเรียนการสอนให้ผู้ไม่รู้หนังสือ    1. พัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ
   2. วางแผน ออกแบบกิจกรรม และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลายสอดคล้องแต่ละกลุ่มเป้าหมาย (คนไทยพื้นราบ คนไทยที่ไม่ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน แรงงานต่างด้าว ผู้อพยพ)
   3. อบรม/ชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการในเรื่องหลักสูตรสื่อ และการใช้เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
   4. พัฒนาสื่อสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
   5. มีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี 3 ข้อ = พอใช้
  มี 4 ข้อ = ดี  
  มี 5 ข้อ = ดีมาก
   3. การวัดและประเมินผล    1. ประเมินผลระหว่างเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย และการคำนวณในชีวิตประจำวันได้
   2. บันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
   3. จัดทำเครื่องมือวัดผลการรู้หนังสือและดำเนินการวัดผลการรู้หนังสือตามความพร้อมของผู้เรียน
   4. วางระบบการรายงานผลและรายงานข้อมูลผู้รู้หนังสือเป็นไปตามกำหนด

  มี 1 ข้อ=ปรับปรุง
  มี 2 ข้อ = พอใช้
  มี 3 ข้อ = ดี  
  มี 4 ข้อ = ดีมาก

     4. นิเทศ ติดตามและประเมินผลโครงการ    1. วางแผนและนิเทศติดตามผลตามแผน
   2. นำข้อมูลจากการนิเทศติดตามผลมาปรับปรุงการดำเนินงานส่งเสริมการรู้หนังสือ
   3. รายงานความก้าวหน้า และผลสำเร็จของการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือเป็นระยะๆ
   4. ติดตามผลหลังสิ้นสุดการดำเนินงานและวิเคราะห์ผลการจัดการศึกษา
   5. จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือเพื่อป้องกันการลืมหนังสือ
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี 3 ข้อ = พอใช้
  มี 4 ข้อ = ดี  
  มี 5 ข้อ = ดีมาก
     5. ผู้เรียนหรือผู้รับบริการมีความสามารถในการอ่าน เขียนและคิดคำนวณในชีวิตประจำวัน    1. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการทดสอบการรู้หนังสือ
   2. ร้อยละของผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาในระดับดีขึ้นไป
ต่ำกว่าร้อยละ50=ปรับปรุง
ร้อยละ 50-74=พอใช้
ร้อยละ 75-89=ดี
ร้อยละ 90 ขึ้นไป=ดีมาก
 

 

***********************

มาตรฐานและตัวบ่งชี้กิจกรรม กศน._(2)

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
19  พฤศจิกายน 2552

มาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

              การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาที่มุ่งตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอบปลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมที่จำเป็นสำหรับบุคคลเพื่อความอยู่รอด ปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

 

กิจกรรม มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การระเมิน 
การศึกษาขั้นพื้นฐาน    1. หลักสูตร    1. มีหลักสูตรสถานศึกษา
   2. หลักสูตรต้องสอดคล้องกับท้องถิ่นหรือกลุ่มเป้าหมาย
   3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร
   4. หลักสูตรได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา
   5. มีการประกันคุณภาพหลักสูตร
   6. มีการประเมินการใช้หลักสูตร
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี3-4ข้อ=พอใช้
  มี 5 ข้อ = ดี  
  มี 6 ข้อ=ดีมาก
   2. ครู    1. มีวุฒิทางการศึกษา
   2. มีวุฒิตรงตามสาขาที่สอนหรือได้รับการพัฒนาในสาขาวิชาที่สอน
   3. ได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า 20 ชม./ปี
   4. วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล/กลุ่มเพื่อวางแผนการเรียนในแต่ละภาคเรียน
   5. ครูและผู้เรียนจัดทำบันทึกข้อตกลงการเรียนรู้(ทุกวิธีเรียน)
   6. มีแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกวิชา จำแนกตามวิธีเรียน
   7. จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี 3-4 ข้อ=พอใช้
  มี 5-6 ข้อ = ดี  
  มี 7 ข้อ=ดีมาก
   3. การบริหารจัดการ    1. มีสื่อ/วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
   2. มีสถานที่เหมาะสมแก่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้(สถานที่เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนสัมพันธ์กับวิธีเรียนไม่มีสิ่งรบกวน แสงสว่างเหมาะสม ฯลฯ)
   3. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
   4. ใช้งบประมาณที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
   5. มีแผนและดำเนินการนิเทศติดตาม รวมทั้งนำผลการนิเทศมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้
   6. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี3-4ข้อ=พอใช้
  มี 5 ข้อ = ดี  
  มี 6 ข้อ=ดีมาก
4. การจัดกระบวนการเรียนรู้      4.1 พบกลุ่ม    1. มีการวางแผนการพบกลุ่มและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนการพบกลุ่ม
   2. มีกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
   3. มีสื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
   4. มีหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมพบกลุ่ม
   5. มีบันทึกผลหลังการพบกลุ่มทุกครั้ง
   6. มีหลักฐานร่องรอย ผลการเรียนรู้
   7. มีการประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี3-4ข้อ=พอใช้
  มี 5-6 ข้อ = ดี  
  มี7 ข้อ=ดีมาก
4.2 ชั้นเรียน    1. มีการวางแผนและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผน
   2. มีกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
   3. มีสื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
   4. มีหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรม
   5. มีบันทึกผล หลังการเรียนทุกครั้ง
   6. มีหลักฐานร่องรอย ผลการเรียนรู้
   7. มีการประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี3-4 ข้อ=พอใช้
  มี 5-6 ข้อ = ดี  
  มี 7 ข้อ = ดีมาก
4.3 ทางไกล    1. มีการวางแผนการเรียนรู้
   2. มีการเรียนรู้ตามแผน
   3. มีการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ
   4. มีหลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้
   5. มีการพบ ครูตามแผนเพื่อติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้
   6. มีการประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี3-4 ข้อ=พอใช้
  มี 5 ข้อ = ดี  
  มี 6 ข้อ = ดีมาก
4.4 ตนเอง    1. มีการวางแผนการเรียนรู้
   2. มีการเรียนรู้ตามแผน
   3. มีการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ
   4. มีหลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้
   5. มีการพบกลุ่ม/ครูตามแผนเพื่อติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้
   6. มีการประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี3-4 ข้อ=พอใช้
  มี 5 ข้อ = ดี  
  มี 6 ข้อ = ดีมาก
4.5 โครงงาน    1. ครูและผู้เรียนมีการวางแผนการทำโครงงาน
   2. ผู้เรียนเสนอชื่อและโครงร่างของโครงงาน
   3. ผู้เรียนขออนุมัติโครงงาน
   4. ผู้เรียนดำเนินการ ตามโครงงาน
   5. ผู้เรียนรวบรวมและจัดเก็บหลักฐานร่องรอยของการทำโครงงาน
   6. ผู้เรียนรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน
   7. ครูและผู้เรียนจัดทำเกณฑ์การประเมินโครงงาน
   8. ผู้เรียนสรุป และนำเสนอชิ้นงานต่อกลุ่ม
   9. ประเมินโครงงานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
  มี1-3ข้อ=ปรับปรุง
  มี4-6 ข้อ=พอใช้
  มี7-8 ข้อ= ดี  
  มี9 ข้อ = ดีมาก
4.6 อัธยาศัย    1. มีการวางแผนการเรียนรู้
   2.มีการเรียนรู้ตามความสนใจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่น ๆ
   3. มีหลักฐานร่องรอย ผลการเรียนรู้
   4. สามารถรวบรวมหลักฐานผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดจุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ
  มี 1 ข้อ=ปรับปรุง
  มี 2 ข้อ=พอใช้
  มี 3 ข้อ= ดี  
  มี 4 ข้อ= ดีมาก
5. ออกหลักฐาน    1. จัดทำรายงานผู้จบไว้เป็นหลักฐานและส่งสำนักงาน กศน. จังหวัด
   2. จัดเก็บหลักฐานการศึกษาให้เป็นระบบง่ายต่อการค้นคว้าและเป็นปัจจุบัน
   3. บันทึกข้อมูลผู้เรียนให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบันสะดวกต่อการสืบค้น
   4. การให้บริการหลักฐานการศึกษา ถูกต้อง รวดเร็ว
   5. มีมาตรการในการป้องกันการปฏิบัติที่ไม่สุจริตเกี่ยวกับหลักฐานการศึกษา
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี 3 ข้อ=พอใช้
  มี 4 ข้อ = ดี  
  มี 5 ข้อ = ดีมาก

กิจกรรม มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้  เกณฑ์การประเมิน 
การประเมินเทียบระดับการศึกษา 1. ประชาสัมพันธ์    1. ใช้วิธีการที่หลากหลาย
   2. ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
   3. สื่อประชาสัมพันธ์มีความชัดเจน
   4. ประชาสัมพันธ์กว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบและประชาชนรับรู้ในวงกว้าง
  มี 1 ข้อ=ปรับปรุง
  มี 2 ข้อ=พอใช้
  มี 3 ข้อ = ดี  
  มี 4 ข้อ = ดีมาก
2. การแนะแนว    1. มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ
   2. มีเอกสาร/คู่มือการแนะแนว
   3. ความชัดเจน ถูกต้อง ของข้อมูลที่ให้บริการ
   4. มีความสะดวกในการรับบริการ
  มี 1 ข้อ=ปรับปรุง
  มี 2 ข้อ=พอใช้
  มี 3 ข้อ = ดี  
  มี 4 ข้อ = ดีมาก
3. การลงทะเบียน    1. กำหนดเวลาการลงทะเบียนแน่นอน มีระยะเวลาที่ให้ลงทะเบียนนานพอสมควร
   2. มีการตรวจสอบหลักฐานการสมัครครบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
   3. มีการตรวจสอบวุฒิการศึกษาเดิม
   4. ออกบัตรผู้เข้ารับการประเมินเทียบระดับ
   5. บันทึกข้อมูลประวัติผู้เข้ารับการประเมินในระบบงานทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี 3 ข้อ=พอใช้
  มี 4 ข้อ = ดี  
  มี 5 ข้อ = ดีมาก
4. ปฐมนิเทศ    1. กำหนดวัน เวลา สถานที่การปฐมนิเทศและประกาศให้ทราบอย่างทั่วถึง
   2. จัดทำลำดับขั้นตอนการปฐมนิเทศ
   3. จัดเตรียมสถานที่/อุปกรณ์ให้เหมาะสมและมีเอกสารประกอบการปฐมนิเทศ
   4. ให้ข้อมูลที่ละเอียด ชัดเจนแก่ผู้เข้ารับการปฐมนิเทศรวมทั้งการตอบข้อซักถาม
  มี 1 ข้อ=ปรับปรุง
  มี 2 ข้อ=พอใช้
  มี 3 ข้อ = ดี  
  มี 4 ข้อ = ดีมาก
5. ดำเนินการประเมิน    1. กรรมการประเมินมีความรู้ตรงตามสาขาวิชา
   2. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินให้สัมพันธ์กับจำนวนผู้เข้ารับการประเมิน
   3. กรรมการประเมินแต่ละคณะมีจำนวนตามที่กำหนด
   4. มีการชี้แจง สร้างความเข้าใจให้กับกรรมการประเมิน
   5. กรรมการประเมิน ศึกษา ข้อกำหนด ประเด็นในการประเมิน รวมทั้งหลักฐาน ร่องรอยผลงานของผู้เข้ารับการประเมิน
   6. มีการแจ้งกำหนดการประเมินให้กับผู้เข้ารับการประเมิน
   7. มีการจัดระบบความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะนำแก่ผู้เข้ารับการประเมิน
   8. คณะกรรมการดำเนินการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
   9. คณะกรรมการร่วมกันประเมินผลและสรุป
   10. ประกาศผลให้ตรงตามกำหนด
   11. มีการประเมินความพึงพอใจ
  มี1-3ข้อ=ปรับปรุง
  มี4-6 ข้อ=พอใช้
  มี7-9 ข้อ = ดี  
  มี10-11ข้อ=ดีมาก
  6. ออกหลักฐานการศึกษา    1. จัดทำรายงานผู้ผ่านการประเมินไว้เป็นหลักฐานและส่งสำนักงาน กศน. จังหวัดตามเวลาที่กำหนด
   2. จัดเก็บหลักฐานการประเมินให้เป็นระบบง่ายต่อการค้นคว้า และเป็นปัจจุบัน
   3. บันทึกข้อมูลผู้เข้ารับการประเมินให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบันสะดวกต่อการสืบค้น
   4. การให้บริการหลักฐานการศึกษา ถูกต้อง รวดเร็ว
   5. มีมาตรการในการป้องกันการปฏิบัติที่ไม่สุจริตเกี่ยวกับหลักฐานการศึกษา
  มี1-2ข้อ=ปรับปรุง
  มี 3 ข้อ=พอใช้
  มี 4 ข้อ = ดี  
  มี 5 ข้อ = ดีมาก

 

*************************

มาตรฐานและตัวบ่งชี้กิจกรรม กศน._(3)

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
19  พฤศจิกายน 2552

 

มาตรฐานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

               การศึกษาต่อเนื่อง หมายถึง การจัดการศึกษาที่เป็นหลักสูตรเฉพาะหรือหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ ทักษะชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน
               1. กิจกรรมการศึกษาอาชีพ หมายถึง การจัดวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น เป็นการเรียนด้านอาชีพที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการประกอบอาชีพ หรือการแก้ปัญหาอาชีพที่ประกอบการอยู่ในปัจจุบันแต่ละหลักสูตรสามารถเรียนจบได้ในตนเอง นอกจากนี้อาจมีการรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพสำหรับประชาชนที่ประกอบอาชีพเดียวกันมารวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาเทคนิค วิธีการในการประกอบอาชีพ

 

กิจกรรม มาตรฐาน ตัวบ่งชี้  เกณฑ์การประเมิน 
การศึกษาอาชีพ 1. หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน    1. มีการสำรวจความต้องการของผู้เรียน
   2. ชุมชน/ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรอาชีพ
   3. มีสื่อและวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
   4. มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
   5. มีแผนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผน
   6. มีวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ ที่ผ่านการอบรมหรือเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
   7. มีร่องรอยผลงานที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์
   8. มีการวัดและประเมินผลการเรียน
   9. มีระบบการติดตามผลผู้เรียนที่จบหลักสูตรและประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน/ผู้รับบริการ
   10. มีการประเมินและนำผลการประเมินมาพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
  มีข้อ1-7=ปรับปรุง
  มีข้อ 1-8= พอใช้
  มีข้อ 1-9= ดี  
  มีข้อ 1-10=ดีมาก
2. การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ    1. มีการเสวนาเพื่อศึกษาความต้องการของกลุ่มอาชีพ
   2. มีคณะกรรมการบริหารจัดการของกลุ่ม
   3. ผู้เรียนร่วมจัดทำโครงการและแผนการพัฒนาอาชีพของกลุ่ม
   4. จัดกิจกรรมตามโครงการและแผน
   5. มีสื่อและวัสดุอุปกรณ์กระกอบการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
   6. มีวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านการอบรมหรือเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
   7. มีร่องรอย ผลงานที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์
   8. มีระบบการติดตามการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่ม
   9. มีเงินออม มีบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม
   10. มีการต่อยอดเพื่อพัฒนาอาชีพ
  มีข้อ1-7=ปรับปรุง
  มีข้อ 1-8=พอใช้
  มีข้อ 1-9= ดี  
  มีข้อ 1-10=ดีมาก
  3. คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ    1. ร้อยละของผู้เรียนที่จบหลักสูตร
   2. ร้อยละของผู้เรียนที่มีอาชีพเสริมรายได้ และลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
   3. ร้อยละของผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี
  ต่ำกว่าร้อยละ 50= ปรับปรุง
  ร้อยละ 50-74= พอใช้
  ร้อยละ 75-89= ดี
  ร้อยละ 90 ขึ้นไป= ดีมาก 

 

          2. กิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิต หมายถึง กิจกรรมที่พัฒนาให้บุคคลมีคุณลักษณะหรือความสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคตประกอบด้วยทักษะ 10 ประการ คือ

1) ทักษะการตัดสินใจ
2) การแก้ปัญหา
3) การคิดสร้างสรรค์ 
4) การคิดอย่างมีจารณญาณ
5) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
6) การสร้างสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล
7) การตระหนักรู้ในตน
8) การเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น
9) การจัดการกับอารมณ์      
10) การจัดการกับความเครียด

 

กิจกรรม มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้  เกณฑ์การประเมิน 
การพัฒนาทักษะชีวิต 1. หลักสูตรและการจัดกิจกรรม    1. มีการสำรวจความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
   2. มีแผนและการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
   3. มีหลักสูตรและเนื้อหาสาระครอบคลุมการพัฒนาทักษะชีวิต 10 ประการ
   4. รูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลายสอดคล้องกับทักษะชีวิต 10 ประการ
   5. มีสถานที่ พื้นที่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
   6. มีสื่อและวัสดุอุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอ
   7. มีวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านการอบรมหรือเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
   8. มีเครื่องมือวัดผลประเมินผลที่สดอคล้องกับคุณลักษณะของทักษะชีวิต
   9. มีระบบการติดตามผลการเข้าร่วมกิจกรรมเมื่อจบหลักสูตร
  มีข้อ1-6= ปรับปรุง
  มีข้อ1-7= พอใช้
  มีข้อ1-8= ดี
  มีข้อ1-9= ดีมาก
  2. คุณภาพของผู้เรียน/ผู้รับบริการ    1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จบหลักสูตร
   2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้มีระเบียบวินัยและอยู่ร่วมกันอย่างฉันท์มิตร
   3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะชีวิตอย่างน้อย 5 ประการ
   4. ร้อยละของผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี
  ต่ำกว่าร้อยละ 50= ปรับปรุง
  ร้อยละ 50-74= พอใช้
  ร้อยละ 75-89= ดี
  ร้อยละ 90 ขึ้นไป= ดีมาก 

 

**********************