บทเรียนสำเร็จรูป(2)

book_iconอัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
18 เมษายน 2552

ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป

          ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป  ประกอบด้วย

  •  1. คำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนฉบับนั้น
  • 2. แนวคิด
  • 3. วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดจากการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
  • 4. เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก
  • 5. แบบฝึกหัด/คำถาม เพื่อทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมเฉลย
  • 6. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
  • 7. เฉลยแบบทดสอบ

กระบวนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป

           ขั้นตอนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปมี 4 ขั้นตอน

  • 1. ขั้นวางแผน (Planning)
  • 2. ขั้นการผลิต (Production)
  • 3. ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)
  • 4. ขั้นทดลองใช้จริง

ขั้นวางแผน (Planning)

  • – ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป
  • – กำหนดเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำบทเรียน
  • – กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
  • – จุดประสงค์นำทาง จุดประสงค์ปลายทาง
  • – ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จบแล้ว ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
  • – วิเคราะห์ความยาก-ง่ายของเนื้อหา
  • – เตรียมสร้างแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม
  • – ความรู้ (Knowledge)
  • – ทักษะ/กระบวนการ (Skills Practice/Process)
  • – เจตคติ (Attitude)

ขั้นการผลิต (Production)

  • 1) เขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย
  • – จุดประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูป
  • – ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน
  • – กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้หลักและกรอบสาระการเรียนรู้สาขา
  • – นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้
  • – การวัดผลประเมินผล
  • 2) สร้างแผนการเรียนรู้
  • – ศึกษาวิธีการสร้างแผนการเรียนรู้
  • – ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
  • – เขียนแผนการเรียนรู้ตามเนื้อหา โดยพิจารณาความสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาและเวลาที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
  • – นำแผนการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ
  • – ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)
               
นำบทเรียนสำเร็จรูปต้นฉบับไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

               ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง  นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ยังไม่เคยศึกษาเรื่องนั้นมาก่อน เพื่อดูความถูกต้องของเนื้อหา ขั้นตอนต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ จากนั้นจึงนำผลและข้อบทพร่องที่พบ มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้ในการทดลองขั้นกลุ่มเล็กต่อไป

                ขั้นกลุ่มเล็ก  นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขในขั้นหนึ่งต่อหนึ่งไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น เพื่อตรวจสอบความบกพร่องของบทเรียน และเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่าประสิทธิภาพยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จะต้องปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูป และปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแบบทดสอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

               ขั้นกลุ่มใหญ่  นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น และเป็นกลุ่มทดลองที่มีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ดำเนินการจัดทำต้นฉบับเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

ขั้นทดลองใช้จริง

การทดลองใช้จริง เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้

•1.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป

  • 1.1 ให้ผู้เรียน ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการเรียนอย่างละเอียด โดยอ่านจากคำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
  • 1.2 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ครูตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและให้คะแนน
  • 1.3 ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนที่ระบุไว้ในบทเรียนสำเร็จรูปครบถ้วนแล้ว ให้ทำแบบฝึกหัดและตรวจตำตอบจากคำเฉลยที่ให้ไว้ ทำเช่นนี้ทุกหน่วยการเรียนรู้จนครบ

  • 1.4 ครูตรวจสอบการตอบคำถามในแต่ละกรอบและการทำแบบฝึกหัดของผู้เรียนทุกหน่วยการเรียนรู้
  • 1.5 หลังจากผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ในบทเรียนสำเร็จรูปจบแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)

2. เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป

  • 2.1 แบบฝึกหัด
  • 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

•3. การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้

เครื่องมือที่ใช้วัดผลการเรียนรู้ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะต้องให้ได้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบ ครอบคลุมเนื้อหา สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป อาจจะตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือโดยการวิเคราะห์ ดังนี้

  • 3.1 หาความตรงเนื้อหา เป็นการหาว่าแบบวัดจะวัดได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่โดยอาศัยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน ซึ่งเหมาะกับเครื่องมือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบ
  • 3.2 หาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

2552-04-18-011

กำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ดังนี้
+1  =   แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
0  = ไม่แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
-1 = แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นไม่ได้วัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง

ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ในกรณีที่กำหนดการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญเป็น 5 หรือ 4 หรือ 3 หรือ 2 หรือ 1 ดังนี้

5  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มากที่สุด
4  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มาก
3  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้บ้าง
2  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อย
1  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อยที่สุด

ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป

ตัวอย่างการหาค่า  IOC แบบทดสอบ

               นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับจุดประสงค์ โดยกำหนดคะแนนเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ได้ผล ดังนี้

ข้อที่  ผู้เชี่ยวชาญ (R) ผลรวมของคะแนน  IOC หมายเหตุ
คนที่ 1  คนที่ 2  คนที่ 3 
123

4

5

20

+10+1

-1

+1

+1

+1+1+1

+1

+1

0

0-1+1

+1

0

+1

203

1

2

2

0.670.001.00

0.33

0.67

0.67

            ใช้ได้

ปรับปรุง

            ใช้ได้

ปรับปรุง

ใช้ได้

ใช้ได้

จากตารางจะเห็นว่า ข้อที่ 2 และข้อที่ 4 มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 ดังนั้นจะต้องปรับปรุง

         • 3.3    การหาค่าความยากง่าย
               การวิเคราะห์ความยากง่าย เป็นการวิเคราะห์รายข้อใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

2552-04-18-0111

เกณฑ์ความยากง่ายที่ยอมรับได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 ถ้าค่า P มีค่านอกเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องปรับปรุงข้อสอบข้อนั้น หรือตัดทิ้งไป

ตัวอย่างการหาค่าความยากง่ายแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์

             นำแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน แบบทดสอบมี 5 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน ได้ผลดังนี้

2551-01

               จากตาราง  ถ้าต้องการหาดัชนีความยากของแบบทดสอบข้อ 1
จะได้ R = 8 , N = 10  แทนค่า P =   8 /10  = .8
ดังนั้น  แบบทดสอบข้อ 1 มีค่าดัชนีความยากเท่ากัน .8 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

          •3.4    การหาค่าอำนาจจำแนก

การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก เป็นการดูความเหมาะสมของรายข้อว่าข้อคำถามสามารถจำแนกกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้จริงหรือจำแนกผู้ที่มีคุณลักษณะสูงจากผู้มีคุณลักษณะต่ำได้ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

2552-04-18-03

เกณฑ์อำนาจจำแนกที่ยอมรับได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไป ถ้าค่าอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 จะต้องปรับปรุงแบบทดสอบข้อนั้นหรือตัดทิ้งไป

ตัวอย่างการหาค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์

                 จากตารางข้อมูลตัวอย่างแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ในการหาค่าความยากสามารถวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบได้ ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลในตารางได้เรียงลำดับคะแนนของนักเรียนจากมากไปหาน้อยแล้ว ดังนั้น กลุ่มสูง (ร้อยละ 25) คือนักเรียนคนที่ 1-3 และกลุ่มต่ำ (ร้อยละ 25) คือนักเรียนคนที่ 8-10

2552-04-18-04

ดังนั้น  แบบทดสอบข้อที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนก .67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

          •3.5    การหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด

•1)   การหาความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน  เป็นการหาค่าความเชื่อมั่น  ซึ่งใช้ได้ดีกับเครื่องมือที่วัดหรือข้อสอบที่ให้คะแนนแต่ละข้อคำถามตรวจให้คะแนน 1 หรือ 0 (ถูกได้ 1 ผิดได้ 0) ใช้สูตรการคำนวณของ Kuder – Richardson – 21 (KR-21)

2551-03

เกณฑ์ความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้จะมีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป

ตัวอย่างการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์

               จากตารางผลการทดสอบวิชาวคณิตศาสตร์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ก่อนคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นผู้สอนจะต้องหาค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนเสียก่อน ดังนี้

2551-04

2552-09

จะเห็นว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์เท่ากับ 0.625 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 0.75 ดังนั้น ผู้สอนจะต้องปรับปรุงแบบทดสอบชุดนี้ก่อนนำไปใช้จริง

•2)   การหาความเชื่อมั่นแบบครอนบัด  (Cronbach) เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดจากการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (a – Coefficient) ซึ่งใช้ได้ดีกับเครื่องมือวัดที่แต่ละข้อคำถามไม่ได้ตรวจให้คะแนน 1 หรือ 0 แต่เป็นการตรวจให้คะแนนในลักษณะอื่น ๆ เช่น การทำข้อสอบอัตนัยที่ตอบแล้วได้คะแนนแต่ละข้อไม่เท่ากัน การทำแบบสอบถามที่ตอบแล้วได้คะแนนแต่ละข้อเป็น 5, 4, 3, 2, 1 เป็นต้น สูตรที่ใช้คือ

2551-06

  •4.  การหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป

  • 4.1 หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปโดยการวิเคราะห์คะแนนใช้สูตรคำนวณ ดังนี้

การกำหนดเกณฑ์ที่ยอมรับว่าสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพคือด้านความรู้ ความจำ E1/E2  มีค่า  80/80 ขึ้นไป ด้านทักษะปฏิบัติ  E1/E2 มีค่า 70/70 ขึ้นไป โดยที่ค่า  E1/E2  ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 5

  • 4.2 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป โดยการวิเคราะห์คะแนนใช้สูตรคำนวณ ดังนี้

2552-04-18-10

สำหรับเกณฑ์ที่ยอมรับได้ว่าสื่อหรือนวัตกรรมมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้จริง คือ มีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป

5. ทดสอบความแตกต่างของผลการสอบก่อนและหลังเรียน
โดยการหาค่าที่ (T – dependant)

 

 

*****************************

เอกสารอ้างอิง  กรมวิชาการ.(2545).การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อ้างอิงบทความนี้
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล:
https://panchalee.wordpress.com/2009/04/18/programinstructional2/

120 Replies to “บทเรียนสำเร็จรูป(2)”

  1. สว้สดีค่ะ ได้สืบค้นข้อมูล และสนใจบทความของอาจารย์เกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป ซึ่งอ่านแล้วเข้าใจง่าย ได้ทำผลงาน คศ.3 บทเรียนสำเร็จรูปไม่ผ่านค่ะ ศึกษานวัตกรรมไม่เข้าใจ ตอนนี้สอบผ่าแล้วค่ะได้มีโอกาสส่งผลงานใหม่ ทำกลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ ชั้นป.6 อยากได้รูปแบบที่ถูกต้องของบทเรียนสำเร็จรูป ขอขอบคุณ มาณ โอกาสนี้

    1. ถึงคุณ วรรณวิมล กรองสอาด เรามีตัวอย่างการทำแบบเรียนสำเร็จรูปหลายๆ กลุ่มสาระที่สวยงามมีคุณภาพ ของกลุ่มสาระสังคมศึกษาสนใจเมลล์มาที่ tepakhan@hotmail.com ได้นะคะ

      1. ต้องการตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูปสาระสังคม พระพุทธศาสนา 1 เรื่อง เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างการทำผลงานค.ศ.3 ส่ง เดือน ตค.52 ขอขอบคุณมา ณ โอกาศนี้ ที่ท่านเห็นใจครูที่กำลังจะส่งผลงาน ซึ่งกำลังผลงานสาระสังคมอยู่ค่ะ

      2. เรียนอาจารย์ พัชรวรรณ
        ตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูปสาระสังคมและวิชาใน 8 สาระมีตัวอย่างอยู่ที่ห้องสมุดครุสภา ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้ทุ่นของครุสภา หรือให้สืบค้นผ่านหัวข้อ “สืบค้นงานวิจัย”

      3. ท่านศึกษานิเทศ Panchaiee ทำการสืบค้นแล้วไม่พบข้อมูลค่ะ ส่วนมากจะเป็นรูปแบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กรณีครูที่ไม่ผ่านการประเมินด้านที่ 3 ต้องผ่านการเยียวยา ครูผู้นั้นสามารถเปลี่ยนรายงานและนวัติกรรม แต่อยู่ในสาระเดียวกันได้หรือเปล่าค่ะ สงสัยอย่างมาก ถามที่ สพท.แล้ว ไม่สามารถให้คำตอบได้ถ้าท่านศึกษานิเทศทราบข้อมูลด้านนี้ช่วยกรุณาชี้แจงให้ทราบบ้างค่ะ ขอขอบคุณ ถ้าท่านมีแนวงานวิจัยบทที่ 2 บทเรียนสำเร็จรูปใคร่ความกรุณาจัดส่งตัวอย่างมาให้ดูบ้างค่ะ

      4. เรียนอาจารย์ พัชรวรรณ
        การเยียวยาของ กศน. การปรับปรุงผลงานทางวิชาการ(ด้านที่3) จะมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา เรื่องเดิมที่ทำแล้วไม่ผ่านสามารถนำมาปรับปรุงใหม่ได้ ถ้าครูต้องการเปลี่ยนเรื่องใหม่ก็ได้ แต่เรื่องที่ทำควรเป็นงานในหน้าที่ เช่นอาจารย์สอนวิชาสังคมศึกษา สามารถนำสาระในวิชาสังคมศึกษามาทำนวัตกรรมได้ค่ะ
        อ.ขิง

      5. อยากได้ความรู้และตัวอย่างการทำแบบเรียนสำเร็จรูปสาระภูมิศาสตร์ ชั้นม.๓ และการเขียนรายงาน๕บท

    2. อาจารย์คะ ผลงาน คศ. 3 ดิฉันได้ปรับปรุง นวัตกรรมเป็นบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 คณะกรรมการประเมินผลงานมีข้อสังเกต คือ หลักการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป อยากทราบว่า ขั้นที่ 1 การทดลอง หนึ่งต่อหน่ง กลุ่มตัวอย่างต้องเป็นโรงเรียนอื่นหรือเปล่า อาจารย์กรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยนะคะ

      1. เรียน อาจารย์ธาดา ที่เคารพ
        การทดลองหนึ่งต่อหนึ่ง เป็นโรงเรียนเดียวกันก็ได้แต่ไม่ใช่นักเรียนกลุ่มทดลองจริง(กลุ่มตัวอย่างที่ีใช้ในการวิจัย) แต่ต้องเป็นนักเรียน ม. 2 เหมือนกันแต่ยังไม่เคยเรียนในวิชาที่เราวิจัยมาก่อน ค่ะ
        อาจารย์ขิง

    3. อาจารย์คะ ผลงาน คศ.๓ ดิฉันได้ปรับปรุง ดิฉันได้ทำนวัตกรรมบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒ คณะกรรมการประเมินได้มีข้อสังเกต คือ หลัการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป ในการหาประสิทธิภาพ งานวิจัยของดิฉันเสนอเพียงขั้นตอนเดียว คือ ขั้นที่ ๓

      1. เรียน อาจารย์ธาดา ที่เคารพ
        เพื่อไม่ให้มีปัญหา ควรหาประสิทธิภาพให้ครบทั้ง 3ขั้นตอน เพราะผลงานวิจัยเรื่องที่เรานำมาไว้ในบทที่ 2 และใช้อ้างอิงในการอภิปรายผล ส่วนใหญ่ทำ 3 ขั้นตอน มีบางราย ทำ 2 ขั้นตอน (คือขั้นที่ 1ขั้นหนึ่งต่อหนี่ง และขั้นที่ 2 กลุ่มเล็ก)เนื่องจาก ขั้นตอนที่ 2 พบว่าสื่อมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด(80/80) แล้วจืงนำไปใช้กับกลุ่มทดลองจริง(กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย) แต่ถ้าเราทำขั้นตอนที่ 3 ทดลองกับกลุ่มใหญ่อีกครั้งก็เพื่อให้ม้่นใจว่าสื่อมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นการปรับปรุงผลงานในขั้นตอนที่ผ่านมาแล้วเป็นโจทย์ที่ต้องมีคำอธิบายที่ดีที่ทำให้ผลงานน่าเชื่อถือถ้าอาจารยืมีปัญหาเรื่่องแก้ผลงาน สอบถามมาที่ anchalee@nfe,go.thอีกครั้งอาจจะช่วยอะไรได้บ้าง และเป็นกำลังใจให้อาจารย์ประสบความสำเร็จ ค่ะ
        อาจารย์ขิง

  2. อยากได้ตัวอย่างการทำบทเรียนสำเร็จรูป ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 3 เพราะกลัวทำไม่ถูก และอัดเนื้อหามากเกินไป ขอความกรุณาด้วยนะคะ

    1. การทำบทเรียนสำเร็จรูปของกศน.ส่วนใหญ่ไม่ได้มำเนื้อหา 8 สาระการเรียนรู้ แต่ทำในเนื้อหาการศึกษาต่อเนื่อง เช่น การทำบัญชีครัวเรือน การประชาสัมพันธ์ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถ้าจะทำบทเรียนสำเร็จรูป ให้ดูขั้นตอนการทำในบทความ ซึ่งจะต้องวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ก่อน แล้วนำสาระนั้นมาจัดกรอบตามรูปแบบของบทเรียนสำเร็จรูปที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ มีข้อแนะนำให้สืบค้นใน Google หัวข้อต่อไปนี้ 1. รายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย 2. รายงานการพัตนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย 3. รายงานการติดตามผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย 4. รายงานการประเมินผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย

  3. ขอบคุณอาจารย์มากเลยนะคะที่ให้ความรู้ในเรื่องของงานและบทเรียนสำเร็จรูปอ่านแล้วเข้าใจดีมากเลยคะ

    1. เรียนอาจารย์เพ็ญรำเพย จะนำบทเรียนสำเร็จรูปหมวดวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไว้ให้ Download ในหมวดหมู่บทเรียนสำเร็จรูป ภายในสัปดาห์นี้
      อ.ขิง

  4. เรียน อาจารย์ขิงที่เคารพ

    ตอนนี้ผมกำลังช่วยกันทำ SAR อยู่ครับ แต่ว่าผมมีเรื่องอยากรบกวนอาจารย์สักหน่อยนะครับแต่ไม่เกี่ยวกับเรื่อง SAR หรอกครับ คือผมอยากได้แนวข้อสอบการสอบเป็นพนักงานราชการนะครับ อาจารย์พอจะมีไหมครับ

    ขอพระคุณนะคับ

  5. เรียน ท่านศึกษานิเทศก์ ได้ทำผลงานทางวิชาการบทเรียนสำเร็จรูป เศรษฐกิจพอเพียงชั้น ป.6 แต่ความรู้ไม่มากพอ ไม่มีที่ปรึกษา อาศัยการคลำจากตำรา ได้อ่านบทความบทเรียนสำเร็จรูป ทั้ง 2 ตอน ของอาจารย์ รู้สึกเข้าใจมากขึ้น อยากเห็นตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูป ของอาจารย์บ้าง ดูได้ที่ไหน อยากได้เป็นที่ปรึกษา ขอบคุณอย่างสูงคะ

    1. เรียน อาจารย์เสาวณี ที่เคารพ
      ใน blog มีตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูป ๓เรื่อง คือ ๑)การประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกโรงเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ๒)บทเรียนสำเร็จรูปหมวดวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเซ็ต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๓)คู่มือการใช้เว็ปบล๊อกเพื่อการจัดการความรู้ อาจารย์สามารถศึกษาเป็นตัวอย่างได้ เพราะเป็นผลงานที่ผ่านการประเมินแล้วค่ะ
      อาจารย์ขิง

  6. อ.ขิงค่ะ ตอนนี้ กศน.อำเภอชาติตระการทำ SAR เสร็จแล้ว แต่ส่งไปให้อาจารย์ขิงช่วยตรวจสอบ ทาง mail ไม่ได้ พยายามแล้วแต่ก็ส่งไม่ได้ ไม่กล้าโทร. เกรงว่าจะเป็นการรบกวน mail ที่ส่งไป ก็ใช้ anchalee@nfe.go.th แต่ก็ยังส่งไม่ได้ค่ะ อ.ช่วยตอบที

    1. เรียน กศน.ชาติตระการ
      กรุณาส่ง SAR มาใหม่ mail ถูกต้องแล้ว มีปัญหา โทร. ได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจ
      อาจารย์ขิง

  7. เรียนอาจารย์ พัชรวรรณ

    อาจารย์เขียนเกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูปอ่านเข้าใจได้ง่ายมาก
    แต่ดิฉันจะหางานวิจัยต่างประเทศที่ใช้อ้างอิงบทเรียนสำเร็จรูปวิชาวิทยาศาสตร์ได้จากที่ใดบ้างรบกวนท่านอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยคะ

    ขอบพระคุณอย่างสูง

  8. เรียน ท่าน ศน.อัญชลีที่เคารพ

    ได้เขาเยี่ยมชมเว็บของอาจารย์แล้ว ขอชื่นชมค่ะ ดีมากเลยเป็นประโยชน์แก่ทุกคนที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นครู อาจารย์ นักเรียน ผู้ที่กำลังทำผลงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป ตอนนี้หนูกำลังศึกษาดูเรื่องการทำผลงานด้านนวัตกรรมอยู่ ถ้ามีปัญหาและสงสัยประการใด หนูจะรบกวนขอคำแนะนำและคำปรึกษาบ้างนะค่ะ

    1. เรียน อาจารย์ Chamnia ที่เคารพ
      ขอบคุณมากที่เข้ามาเยี่ยม Blog ขอถือโอกาสนี้สวัสดีปีใหม่ 2553 ขอให้มีความสุขมาก ๆ นะค่ะ และยินดีให้คำปรึกษาการทำผลงานค่ะ เพราะการทำ Blog ตั้งใจที่จะให้คำปรึกษาครูทุกคนเท่าที่กำลังสติปัญญา และประสบการณ์ที่มีอยู่ เพราะเข้าใจถึงความท้อแท้ ความเจ็บปวด ของคุณครูหลายคนที่มีความตั้งใจ ทุ่มเทกับการทำงาน แต่ไม่สามารถทำผลงานให้ผ่านไปได้ ขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนครูทุกคนค่ะ
      อาจารย์ขิง

  9. เรียน อาจารย์อัญชลีที่เคารพค่ะ
    สวัสดีปีใหม่ 2553 นะค่ะ หนูขอขอบพระคุณในคำอวยพรค่ะ และขอให้คำอวยพรนี้กลับไปถึงท่านอาจารย์และคุณครูทุกคนที่กำลังทำผลงาน หนูจะตั้งใจทำงาน จะพยายามต่อไปให้ดีที่สุด และขอขอบพระคุณในกำลังใจของท่านอาจารย์ขิงค่ะ
    หนูต้องการศึกษา ขั้นตอนการทำ Try Out ที่เหมาะสมของนวัตกรรม และการทำTry Out ภายในโรงเรียนกับภายนอกโรงเรียนแบบไหนจึงจะเป็นที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ

    1. เรียน อาจารย์ Chamnian ที่เคารพ
      วิธีการทดลองใช้ต้นฉบับนวตกรรม อาจารย์สามารถศึกษาได้จาก บทความเรื่องบทเรียนสำเร็จรูป ตอนที่ 2 ใน Panchalee Blog สำกลุ่มทดลองที่ใช้มีหลักอยู่ว่า ต้องไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเดียวกับที่เราศึกษา แต่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน เช่นอาจารย์สร้างนวตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การทดลองต้นฉบับต้องนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเดียวกันหรือโรงเรียนอื่นก็ได้ ในกรณีที่โรงเรียนที่อาจารย์สอนมีชั้น ม. 4 ห้องเดียวและใช้นักเรียนทั้งหมดใช้ในการศึกษา ก็ต้องทดลองกับโรงเรียนอื่นค่ะ
      อาจารย์ขิง

  10. เรียน อาจารย์อัญชลีที่เคารพค่ะ
    ได้จัดทำต้นฉบับบทเรียนสำเร็จรูปแล้ว แต่เพื่อนๆ บอกเหมือนเอกสารประกอบการสอน ทำให้สงสัยว่า สื่อทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    1. เรียน อาจารย์ Chamnian ที่เคารพ
      1. เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียนรู้วิชาใดวิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของสถานศึกษา มีความครอบคลุมครบถ้วน ครอบคลุมเนื้อหารายละเอียดที่กำหนดไว้ในหลักสูตร รวมทั้งกิจกรรม สื่อ อุปกรณืและการประเมินผล เอกสารประกอบการสอนจะมีความละเอียดมากกว่าแผนการสอน
      2. บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึงบทเรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ในแต่ละสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละบทเรียน เช่น บทเรียนสำเร็จรูปหมวดวิชาคณิตศาสตร์เรื่งเซต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
      ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบทเรียนสำเร็จรูปและเอกสารประกอบการสอน ไม่เหมือนกันค่ะ
      อาจารย์ขิง

  11. เรียนอาจารย์ขิง
    อยากได้ข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูปในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค่ะ จะสืบค้นได้จากไหนบ้างค่ะ จะส่งงานในสิ้นเดือนนี้ นี้คะ
    ขอขอบคุณ
    เอมอร

    1. เรียน อาจารย์เอมอร ที่เคารพ
      ในPanchalee Blog เข้าไปที่หมวดหมู่งานวิจัย มีบทคัดย่อ รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป หมวดวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดว่าอาจารย์สามารถนำไปใช้ในบทที่ 2 และอภิปรายผลในบทที่ 5 ได้ค่ะ ขอให้อาจารย์ประสบความสำเร็จ ผ่านอาจารย์ 3 ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  12. อยากได้เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูป วิชาลูกเสือ ไม่ทราบพอมีแหล่งที่ไหนบ้าง กำลังปรับปรุงผลงานทางวิชาการอยู่คะ
    ครูลูกเสือภาคใต้

  13. สว้สดีคะอาจารย์ ได้อ่านขั้นตอนการทำบทเรียนสำเร็จรูปแล้วทำให้เข้าใจได้ดีมาก ดิฉันทำผลงานคศ. 3 คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้น ม.1 ไม่ทราบว่าอาจารย์ มีตัวอย่างไหมคะ ตอนนี้กำลังกลุ้มใจมากคิดไม่ออก อยากจะทำเองไม่มีตัวอย่างให้ดู ขอความกรุณาอาจารย์ด้วยนะคะ

    นิคม

    1. เรียน คุณนิคมที่เคารพ
      ใน Panchalee Blog มีตัวอย่าบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องเซ็ต ระดับม.ปลาย อาจารย์รองไปดูในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนคณะศึกษาศาสตร์ คิดว่าคงมีตัวอย่างให้ดูค่ะ
      อาจารย์ขิง

  14. ผมสนใจเกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูปของอาจารย์ อยากจะฝึกทำบทเรียนสำเร็จรูปวิชาสุขศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อยากได้รูปแบบบทเรียนพร้อมการทำข้อสอบ(ที่สามารถนำมาทำได้เลยนะครับป ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ

    1. เรียน อาจารย์กมล ที่เคารพ
      สัปดาห์หน้า ดิฉัน ทำงาน ที่ ศธ จะไปค้นที่ห้องสมุดคุรุสภาให้ ได้ผลอย่างไรจะแจ้งให้ทราบค่ะ
      อาจารย์ขิง

  15. ขอบคุณค่ะอาจารย์ ข้อมูลกระชับและเข้าใจง่าย มีประโยชน์กับงานวิจัยมากค่ะ
    มีคำถามค่ะ
    อยากทราบว่า การหา E1/E2 ผู้วิจัยต้องหา IOC ของแบบฝึกหัดที่เก็บคะแนนระหว่างเรียนด้วยไหม๊คะ
    และการทำ Pretest จำเป็นไหม๊คะสำหรับการหาประสิทธิภาพด้วยวิธีนี้ หรือใช้ Posttest อย่างเดียวก็ได้
    ขอบคุณมากค่ะ

    1. เรียน อาจารย์ศรีปัญญา ที่เคารพ
      1 การหา E1 คือการหาผลการเรียนของผู้เรียน(คะแนน) ระหว่างเรียน ซึ่งอาจจะเป็นคะแนนจากแบบฝึกหัด ใบงาน(ทำกิจกรรม) หรือแบบทดสอบ ในส่วนที่เป็นแบบทดสอบ ควรหาค่า I0C ด้วย เพื่อให้เครื่องมือ(แบบทดสอบ) มีความเที่ยง
      2 E 2 คือการหาผลการเรียนหลังเรียน ถ้าสื่อจัดทำเป้นหน่วยการเรียน และต้องการหาที่ละหน่วยการเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ ต้องหาค่า IOC ด้วยเช่นกัน ถ้าไม่ต้องการหา E2 ที่ละหน่วยการเรียน จะหาผลการเรียนสุดทายหลังจากการใช้สือ สามารถใช้แบบทดสอบวัดผลสัมรฤธิ์ทางการเรียน (ข้อสอบ Posttest) ได้ค่ะ
      3. การเปรียบเทียบผลสัมรฤธิ์ทางการเรียน โดยใช้คะแนน Pretest Posttest การพัฒนาแบบทดสอบ เริ่มจาก หาค่า IOC ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมัน แต่ถ้าไม่ต้องการให้เกิดปัญหาในการส่งผลงาน ควรทำข้อสอบแบบคู่ขนาน จะทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น
      อาจารย์ขิง

  16. อาจารย์คะผลงาน อ.3 ของดิฉันได้ปรับปรุง ค่า E1/E2 = 86.87/86.67
    (เกณฑ์ตั้งไว้ 80/80) ค่า E1 คำนวณจากแบบทดสอบย่อยอย่างเดียว ไม่ได้นำ
    คะแนนจากแบบสังเกต ใบงาน มารวมด้วย ค่า E1/E2 ต่างกันแค่ .20 จึงถูกถาม
    ถึงเหตุผล อยากขอคำชี้แนะจากอาจารย์ค่ะว่าจะตอบเชิงวิชาการอย่างไร
    ขอบพระคุณมากค่ะ

    1. เรียน อาจารย์ wilairat ที่เคารพ
      ขอแสดงความยินดีที่ได้ปรับปรุง ต้องปรับปรุงครั้งเดียวให้ผ่านนะคะ ตามหลักการแล้ว E1/E2 ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 5 แต่ถ้าจะต้องตอบคำถามโดยใช้เหตุผลเชิงวิชาการ ซึ่งยังขาดข้อมูลที่จะให้คำแนะนำ เช่น สื่อวิชาอะไร ผู้เรียนระดับใด แบบทดสอบย่อยและแบบทดสอบหลังเรียนมีลักษณะใด แต่จะลองเสนอการเขียนเหตุผลนะคะ
      คะแนนทดสอบย่อย(E1)มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน(E2) มีสาเหตุดังนี้
      1.การทดสอบย่อยเป็นการทดสอบหลังจากจบบทเรียนแต่ละบทเรียนซึ่งมีเนื้อหาสาระไม่มากนักจำนวนข้อสอบน้อยกว่าข้อสอบหลังเรียน2.ระหว่างเรียนแต่ละบทเรียน ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมต่างๆและเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
      3. การทดสอบหลังเรียนเป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ทั้งหมดตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ดังนั้นแบบทดสอบจึงมีจำนวนข้อมากกว่าแบบทดสอบย่อย
      ถ้ายังมีปัญหาการแก้ผลงานหรือการเขียนคำชี้แจงการปรับปรุง ถามมาใหม่ได้นะคะไม่ต้องเกรงใจ ดิฉันมีความสุขมากที่เห็นอาจารย์ทุกคนทำผลงานผ่าน ถามมาที่ anchalee@nfe.go.th ก็ได้นะคะ
      อาจารย์ขิง

  17. เรียน ท่านศึกษานิเทศก์อัญชลี ธรรมะวิธีกุล

    กราบขอบพระคุณสำหรับความรู้เรื่องบทเรียนสำเร็จรูป รวมทั้งตัวอย่างเรื่องเซต

  18. เรียน ท่านศึกษานิเทศก์อัญชลี ที่เคารพ
    ได้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บของท่าน มีสาระดีมาก เพราะดิฉันสอนภาษาไทย ป.6 สนใจเรื่องการทำบทเรียนสำเร็จรูปมานาน เคยทำมาแล้วในบางเรื่องแต่ขาดความชัดเจนในขั้นตอนการทำ ก็ได้สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต พอดีมาเจอของท่านอาจารย์ อ่านดูแล้วดีมากเลยค่ะ คิดว่าจะนำมาพัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะการทำผลงาน คศ.3 ขอขอบคุณอาจารย์นะคะที่ได้ให้ความรู้เป็นวิทยาทานแก่ทุกคน

    1. เรียน อาจารย์สายใจ ที่เคารพ
      ขอบคุณที่มาเยี่ยม Panchalee Blog ใน Blog มีตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูป 3 เรื่องพร้อมทั้งบทคัดย่อ( บทคัดย่ออยู่ในหมวดหมู่งานวิจัย)ทั้ง 3 เรื่องเป็นผลงานที่ มีคุณภาพ ผ่านการประเมินเป็นชำนาญการพิเศษแล้ว สามารถนำไปเป็นแนวทางในการทำผลงานทางวิชาการ ทั้งในระบบและนอกระบบ ได้ สำหรับผลงานทางวิชาการที่เสนอขอ ที่เป็นวิชาภาษาไทย จุดอ่อนอยู่ที่เนื่อหา และวิธีสอน ยังไม่ถูกต้อง การทำผลงานควรหาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนภาษาไทย จริง ๆ จะทำให้ผลงานมีคุณภาพ และประเมินผ่าน ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  19. อยากได้เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูป วิชาคณิตพื้นฐาน ชั้น ม.4ค่ะ กำลังปรับปรุงผลงานทางวิชาการอยู่คะ
    ขอบคุณค่ะ

  20. เรียนอาจารญืขิงที่เคารพ
    ดิฉันอยากทราบว่าบทเรียนโมดูลกับบทเรียนสำเร็จรูปมีความแตกต่างกันอย่างไรค่ะ ทำไมต้องเรียกโมดูล ทำไมไม่เรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป

  21. เรียน อาจารย์ปัญชลี
    ส่วนประกอบของเอกสารประกอบการสอนที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้ส่งเป็นผลงานทางวิชาการของครูชำนาญการพิเศษมีอะไรบ้าง ขอรายละเอียดด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    1. เรียน คุณ mantanee ที่เคารพ
      1. การส่งเอกสารประกอบการสอน งานที่ต้องส่งโดยทั่วไปมีดังนี้
      1) เอกสารประกอบการสอน
      2) แผนการสอน
      3) คู่มือครู
      4) รายงานผลการใช้
      2. ส่วนประกอบของเอกสารประกอบการสอน
      1) ปก
      2) คำนำ
      3) คำชี้แจง(สำหรับครู)
      4) แบบทดสอบก่อนเรียน
      5) หน่วยการเรียนรู้ ที่ 1,2,3 …….
      5.1ชื่อหน่วย
      5.2 เรื่อง(หัวข้อ 1.,2,3, ….)
      5.3สาระสำคัญ
      5.4จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
      5.5 กิจกรรม
      5.6 สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
      5.7 การวัดผลประเมินผล
      6. แบบทดสอบหลังเรียน
      7. บรรณานุกรม
      8. ภาคผนวก
      เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
      อาจารย์ขิง

  22. ขอขอบคุณอาจารย์มาครับที่ให้ความกระจ่าง และมีประโยชน์กับครูมากครับและปีใหม่นี้ขอให้ครูขิงมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจครับ

    1. เรียน อาจารย์พิพัฒน์ ที่เคารพ
      ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบให้ ขอให้อาจารย์มีความสุขและสุขภาพแข็งแรง ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  23. เรียน อาจารย์ปัญชลี ที่เคารพ
    ดิฉันได้เข้าเยี่ยมชม Blog ของท่านมีสาระที่น่าสนใจค่ะ ดิฉันได้ทำผลงานและได้ปรับปรุง วิชาคณิตศาสตร์ กรรมการได้ให้ข้อสังเกตว่า “การสรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล ผู้ขอสรุปและอภิปรายผลไม่ถูกต้อง เช่น สรุปและอภิปรายผลว่า บทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพ 82.03/81.35 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่สรุปว่าสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 นั้น ผู้ขอยึดหลักเกณฑ์อะไร” ซึ่งดิฉันยังตีความไม่ได้ว่าจะตอบคำถามอย่างไร รบกวนท่านช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
    ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    1. เรียน อาจารย์pensri ที่เคารพ
      1. การสรุปและอภิปรายผล บทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพ ว่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 นั้น ยึดหลักเกณ์อะไร
      ประการแรก จะต้องตั้งสมมุติฐาน ไว้ในบทที 1 ว่า สื่อมีประสิทธิภาพ 80/80
      ประการที่สอง จะต้องมีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่บวข้องในบทที่ 2 เกี่ยวกับหลักการทฤษฎีในการพัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 พร้อมทั้งมีรายงานวิจัยที่แสดงถึงการพัฒนาสื่อหรือนวตกรรม ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80
      2. การอภิปรายผล เมื่อวิจัยแล้วพบว่าสื่อมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องใด(ในบทที่ 2) และควรมีเหตุผลอื่น ๆ สนับสนุน เช่น สื่อที่พัฒนาขึ้นนั้น มีการศึกษาสภาพปัญหา มีกระบวนการในการพัฒนาต้นฉบับเป็นอย่างดี เช่น การวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ การตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีการทดลองต้นฉบับถึง 3 ครั้ง และนำขัอบกพร่องที่พบไปปรับปรุงเอกสาร
      ถ้ายังสงสัยเรื่องใด ถามมาได้อีกนะคะไม่ต้องเกรงใจ
      อาจารย์ขิง

      1. เรียน อาจารย์ปัญชลี ที่เคารพ
        ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ ข้อความที่อาจารย์เขียนมาดิฉันมีข้อมูลครบถ้วนแล้วค่ะ ก็ไม่เข้าใจกรรมการว่าจะให้แก้ไขอย่างไร

      2. เรียน อาจารย์ pensri ที่เคารพ
        มีอีกสองประเด็นที่สามารถนำมาสนับสนุน การสรุปและอภิปรายผลประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คือคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน และผลการประเมินคุณภาพของเอกสารบทเรียนสำเร็จรูป ซึ่งผลการประเมินอาจจะเป็นภาพรวมและ รายด้าน(เช่น ด้านกายภาพ ด้านเนื้อหา ด้านประโยชน์) ดิฉันจะเอาใจช่วย และเป็นกำลังใจให้ ขอให้อาจารย์แก้งานผ่านไปได้ด้วยดี มีอะไรถามมาใหม่ได้นะคะ
        อาจารย์ขิง

  24. เรียน อาจารย์ปัญชลี ที่เคารพ
    ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ ที่กรุณาให้ความกระจ่าง และให้กำลังใจค่ะ ทางใต้ไม่ค่อยมีใครผ่านหรอกค่ะ บางรุ่นไม่ผ่าน 100 % ก็มี ขอให้อาจารย์มีความสุขและมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ
    เพ็ญศรี

  25. ขอความอนุเคราะห์ ส่งตัวอย่าง แผนจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ชั้น ป.4 ที่สมบูรณ์ มาให้ด้วยครับ มีปัญหาเรื่องการเขียนแผนการเรียรู้ไม่สอดคล้องกับนวัตกรรม ขอบคุณล่วงหน้า กำลังทำผลงาน คศ.3

    1. เรียน อาจารย์ maemildmon ที่เคารพ
      กรณี E1/E2 มีค่าต่างกันไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้(0.5) ให้อาจารย์นำคะแนนระหว่างเรียน(E1)และหลังเรียน(E2) ของผู้เรียนทั้งกลุ่มและรายบุคคล มาวิเคราะห์อย่างละเอียดว่าผลต่างของคะแนนอยู่ตรงไหน อะไรเป็นตัวแปรสำคัญ อาจจะเป็นเพราะข้อสอบ หรือตัวผู้เรียน เมื่อพบข้อบกพร่องก็ทำการปรับปรุง แล้วทดลองอีกครั้ง ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  26. พึ่งได้เข้ามาชมblogของอาจารย์เป็นครั้งแรกมีประโยชน์มากเลยค่ะ กำลังหาข้อมูลทำ 5 บทพอดี แต่ก็เจอปัญหาที่ว่าการหาค่า E1/ E2กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายเกิดความสงสัยว่าเป็นค่าของกลุ่มทดลองหรือกลุ่มตัวอย่างคะ ที่จะเอาไปแสดงค่าในจุดม่งหมายที่เราตั้งไว้ ขอความกรุณาอาจารย์ชี้แนะด้วยค่ะ

    1. เรียน ครูชายขอบที่เคารพ
      การหาประสิทธิภาพสื่อ(E1/E2) มีสองตอน
      ตอนที่ 1 อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาสื่อ คือทดลองกับกลุ่มทดลอง ประสิทธิภาพสื่อของขั้นตอนนี้ต้องมีประสิทธิภาพเท่ากับจุดมุ่งหมายของการวิจัย เช่น 80/80 ซึ่งจะต้องแสดงไว้ในบทที่ 3 ของรายงานวิจัย
      ตอนที่ 2 เมื่อสื่อมีประสิทธิตามเกณฑืที่ตั้งไว้แล้ว จึงนำสื่อไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ถ้าได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ นำไปแสดงไว้ในบทที่ 4 และบทที่ 5 ค่ะ
      ถ้ายังสงสัย ถามเข้ามาใหม่นะคะ ไม่ต้องเกรงใจ
      อาจารย์ขิง

  27. ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความกระจ่าง
    มีข้อสงสัยคะอาจารย์ ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบ(เชื่อมั่น จำแนก ยากง่าย)ต้องหากับกลุ่มtry outใช่หรือเปล่าค่ะ แล้วเป็นการสอบครั้งเดียวกับการหาประสิทธิภาพE1/E2หรือเปล่าค่ะ เพราะข้อสอบก็ต้องใช้ชุดเดียวกัน อาจารย์ชี้แนะด้วยค่ะ งง มากเลยค่ะ ถ้าอาจารย์มีตัวอย่างขั้นตอนการหาคุณภาพแบบทดสอบ หาประสิทธิภาพของสื่อ ขอความกรุณาส่งให้ดูเป็นตัวอย่างด้วยนะคะ

    1. เรียน ครูชายขอบ ที่เคารพ
      1. การหาคุณภาพของแบบทดสอบ ต้องหากับกลุ่ม try out ค่ะ
      2. เมื่อแบบทดสอบมีคุณภาพแล้ว จึงนำไปใช้ในการทดลองต้นฉบับ( ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง ขั้นกลุ่มเล็ก และขั้นกลุ่มใหญ่) เมื่อทดลองต้นฉบับแล้วได้ E1/E2 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้วจึงนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
      สรุปการหาคุณภาพแบบทดสอบต้องทำก่อนที่จะนำไปทดลองต้นฉบับ ถ้ายังไม่เข้าใจ ถามมาใหม่นะคะ
      อาจารย์ขิง

  28. รบกวนเรียนถามอาจารย์ว่า บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนโปรแกรม บทเรียนตามเอกัตภาพ แตกต่างกันอย่างไร ส่วนใหญ่เห็นครูทำผลงานโดยใช้บทเรียนโปรแกรม และบทเรียนสำเร็จรูปกันจำนวนมาก ถ้าจะทำผลงาน คศ.3 โดยใช้บทเรียนตามเอกัตภาพได้หรือไม่ มีตัวอย่างบทเรียนตามเอกัตภาพให้ดูบ้างไหมคะ ขอบคุณค่ะ

  29. เรียนสอบถามอาจารย์ว่า บทเรียนโปรแกรม บทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนตามเอกัตภาพ แตกต่างกันอย่างไรคะ ถ้าจะทำผลงาน คศ.3 โดยใช้บทเรียนตามเอกัตภาพเป็นนวัตกรรมสามารถทำได้หรือเปล่า มีตัวอย่างให้ดูบ้างไหมคะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ค่ะ

    1. เรียน ครูอังคณา ที่เคารพ
      บทเรียนโปรแกรมและบทเรียนสำเร็จรูป เป็นบทเรียนประเภทเดียวกันแต่เรียกชื่อต่างกัน ศึกษาได้จาก บทเรียนสำเร็จรูป(1)ใน Panchalee blog ส่วนบทเรียนเอกกัตภาพ เป็นสื่อที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง(เดิมก็ไม่ได้เรียกว่าบทเรียนเอกกัตภาพ พอใช้คำนี้ ทำให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องใหม่) สื่อที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะมีความเชื่อเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล สื่อที่ใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีหลายประเภทแต่ละประเภทยังแยกย่อยไปอีก เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) e – Learning บทเรียนสำเร็จรูป ฯลฯ ไม่ทราบว่าอาจารย์สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับไหนคะ
      อาจารย์ขิง

      1. เรียนอาจารย์อัญชลีที่เคารพ
        ก่อนอื่นคงต้องบอกว่า ขอบพระคุณอาจารย์อย่างยิ่งคะ ที่ตอบคำถาม รู้สึกดีใจมาก ๆ จริง ๆ ค่ะ
        หนูสอนชั้น ม.1, ม.4 มาประมาณ 13 ปี เพิ่งได้สอน ม.6 ปีนี้ ม.1 สอนวิชาวิทยาศาสตร์ค่ะ ส่วน ม.4 กับ ม.6 สอนวิชาเคมี ได้ไปศึกษาต่อระดับ ป.โท หลักสูตรและการสอน ได้เรียนเกี่ยวกับ การทำบทเรียนโปรแกรมแบบเส้นตรง แบบสาขา และบทเรียนเอกัตภาพ ก็เลยอยากจะลองทำผลงานโดยใช้บทเรียนเอกัตภาพ แต่ลองค้นข้อมูลการทำผลงานส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นมีเลยค่ะ ก็เลยอยากทราบว่า ถ้าจะลองทำมีโอกาสจะผ่านไหม กำลังเลือกว่าจะทำ ม.1 วิทยาศาสตร์ หรือ ม.4 เคมี วิชาไหนดีกว่า ครูส่วนใหญ่แนะนำว่า ม.1 น่าจะผ่านง่ายกว่า แต่หนูจบเอกเคมี ก็เลยไม่ค่อยมั่นใจ รบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยค่ะ ขอบพระคุณจริง ๆ ค่ะ

      2. เรียน ครูอังคณา ที่เคารพ
        การทำผลงานทางวิชาการต่างจากการทำวิทยานิพนธ์ โดยเฉพาะการทำผลงานแบบใหม่(ว.17) ผลงานที่ทำจะต้องเป็นการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่สามารถนำมาทำเป็นบทเรียนได้ทุกรายวิชา แต่ควรเป็นลักษณะสื่อเสริมเพื่อให้ผู้เรียนฝึกทักษะ ถ้าส่งผลงาน คศ.3 ควรศึกษากับนักเรียน ม. 1 เพราะเด็กระดับนี้เขาจะสนใจบทเรียนประเภทนี้ ดิฉันเชื่อว่าอาจารย์ทำได้เพราะอาจารย์มีความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างดีในการจัดการเรียนการสอน เพียงแต่ยังไม่คุ้นเคยกับการทำผลงานเท่านั้น ถ้าอาจารย์ตัดสินใจจะทำเรื่องใด เข้ามาคุยกันใหม่นะคะ
        อาจารย์ขิง

  30. เรียน อาจารย์อัญชลี ที่เคารพ
    หนูขอบพระคุณในคำแนะนำทุก ๆ เรื่องค่ะ จากคำแนะนำของอาจารย์ หนูคิดว่า
    คงจะเลือกทำผลงาน กับนักเรียนชั้น ม.1 ที่เกี่ยวกับสาระที่ 3 สารและสมบัติ
    ของสาร เพราะเกี่ยวข้องกับวิชาเคมี เช่น เรื่อง สารรอบตัว สารละลาย หรือ
    กรด-เบส คงต้องขอเวลาในการศึกษารายละเอียดของการทำผลงานแบบใหม่
    ก่อนค่ะ ตอนนี้ดูเหมือนยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ก็เลยยังไม่ทราบว่าจะเริ่มต้น
    อย่างไร ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจที่อาจารย์มอบให้ค่ะ (ช่วงนี้ดูเหมือนคอม
    จะมีปัญหา หนูอ่านและเขียนข้อความถึงอาจารย์ไม่ค่อยได้ บางส่วนตกกรอบ
    มองไม่เห็นข้อความเลยค่ะ )

    1. เรียน ครูอังคณาที่เคารพ
      การทำผลงานแบบใหม่(ว17) ต่างจากแบบเดิมดังนี้
      1.เสนอขอประเมินได้ตลอดปี รอบ ปีละ 1 ครั้ง(แบบเดิม 1 ปี ให้ยื่นขอ ได้ 2 ช่วง
      คือ เดือน เมษายน และเดือนตุลาคม)
      2. ประเมินทั้ง 3 ด้าน พร้อมกัน
      ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
      ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ
      ด้านที่ 3 ผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย (1) ผลการพัฒนาผู้เรียน (2) ผลงานทางวิชาการ
      (เดิมประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ก่อน แล้วจึงประเมินด้านที่ 3 แต่ปรากฎว่า ประเมินด้านที่ 1 และ 2 แล้ว ไม่มีผลงานด้านที่ 3 ส่ง ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ทำไม่ทัน ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการประเมินด้านที่ 1 และ 2 เป็นจำนวนมาก)
      นอกจากนั้นก็ยังมีรายละเอียดอย่างอื่นอีก เช่น การปรับปรุงผลงาน อาจารย์กรุณาไปอ่านรายละเอียดในคู่มือการประเมิน ซึ่งมีให้ Download ที่ website ก.ค.ศ
      -ขั้นที่ 1การทำผลงานขั้นต้นคือตรวจสอบคุณสมบัติก่อน คือเป็นครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปี ติดต่อกัน
      ขั้นที่ 2 ให้จัดทำสื่อก่อน โดยนำสาระ ที่ 3 มาวิเคราะห์ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนของการพัฒนาสื่อ ศึกษาแนวทางได้จากบทเรียนสำเร็จรูป ตอนที่ 1 และ 2 ใน Panchalee blog และ ใน Panchalee blog มีตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูป (เต็มเล่ม) 3 เล่ม ซึ่งเป็นผลงาน ค.ศ. 3 ที่ผ่านแล้ว สามารถ Download ได้ วิชาวิทยาศาสตร์ ควรดูตัวอย่างจาก เล่มบทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์เร่ื่อเซตระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ค่ะ
      สงสัยอะไรถามมาใหม่นะคะ ไมต้องเกรงใจ
      อาจารย์ขิง

  31. เรียนอาจารย์อัญชลีที่เคารพ

    หนูดาวน์โหลดคู่มือการประเมินแบบใหม่ (ว.17) และตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูปไปศึกษาแล้วนะคะ กำลังพยายามทำความเข้าใจกับคะแนน T-SCORE แต่อาจารย์ที่โรงเรียนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องการทำผลงานแจ้งว่า จะยกเลิกการประเมินแบบนี้แล้ว โดยครูที่จะส่งผลงาน ต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาก่อน และทำตามขั้นตอนของการอบรม การประเมินจะเป็นการประเมินแบบเชิงประจักษ์ หนูก็เลยอยากทราบว่าจริงเท็จแค่ไหนที่จะมีการเปลี่ยนเกณฑ์การประเมินกลับไปเป็นแบบมาดูครูสอนแบบเชิงประจักษ์น่ะค่ะ รบกวนเรียนถามอจารย์หน่อยนะคะ ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ

    1. เรียน ครูอังคณา ที่เคารพ
      ขณะนี้ทราบว่าครูในระบบ
      โรงเรียนกำลังอบรมการประเมินแบบใหม่ ก็ต้องดูความเป็นไปได้ หลังจากอบรมแล้วว่ารูปแบบประเมินแบบใหม่จะสามารถประเมินเชิงประจักษ์ได้หรือไม่ เพราะการประเมินวิทยะฐานะ ศธ. พยายามปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้น ถ้าดิฉันมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเล่าให้ฟังนะคะ
      อาจารย์ขิง

  32. อาจารย์ช่วยอภิบายข้อข้องใจให้ดิฉันด้วยนะค่ะ แม่ของดิฉันส่งบทเรียนสำเร็จรูป แล้วผู้ตรวจคอมเม้นท์มาว่าบทเรียนสำเร็จรูปควรปรับแก้ให้มี Teaching Frame, practice frame , criterion frame , ดิฉันไม่ทราบว่าใช่กรอบเนื้อหา , กรอบคำถาม และกรอบเฉลยหรือเปล่า แล้วถ้าคำถามมีน้อยกรอบเนื้อหากับกรอบคำถามอยู่ในกรอบเดียวกันได้หรือเปล่าค่ะ ถ้าไม่หน้าทำคนละกรอบจะผิดหรือเปล่าคะ

    1. เรียน คุณสุกัญญา ที่เคารพ
      1. Teaching Frame,practice frame,criterion frame เข้าใจถูกต้องแล้วค่ะ
      2.กรอบเนื้อหา กรอบคำถาม และกรอบเฉลย ต้องแยกจากกัน เพื่อความชัดเจน และเป็นรูปแบบของบทเรียนสำเร็จ ตามทฤษฎี ซึ่งผู้วิจัยได้เขียนไว้ในรายงานวิจัย บทที่ 2 และบทที่ 3
      อาจารย์ขิง

  33. ดิฉันกำลังคิดว่าจะเยียวยาผลงานดีหรือไม่ เพราะ ณ นี้ดิฉันกำลังศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ อยู่ ดิฉันส่งผลงานบทเรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ เรื่อง เอกภพ ชั้น ม. 3
    ข้อคอมเม็นต์ส่วนใหญ่เป็นการพิมพ์ผิด เนื้อหาน้อย ไม่เหมาะสมกับระดับ ม.3 พอดิฉันมาเพิ่มเนื้อหาแล้ว ดูเหมือนจะเป็นเอกสารประกอบการสอน ทำให้ดิฉันเกิดความไม่มั่นใจเลย อาจารย์มีความเห็นกับเรื่องนี้อย่างไรคะ ขอกำลังใจหน่อยค่ะ

    1. เรียน อาจารย์จรัสศรี ที่เคารพ
      ดิฉันขอสนับสนุนให้อาจารย์เยียวยาค่ะ โดยแก้ไขผลงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ เสร็จแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและนำไปทดลองใช้กับผู้เรียน นำผลที่ได้มาปรับปรุงบทเรียนจนมีประสิทธิภาพ
      สู้ ๆ ค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
      อาจารย์ขิง

  34. วันนี้โชดดีมากเลยค่ะที่เปิดมาเจอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปที่อาจารย์ได้เผยแพร้ เป็นความโชดดีมากๆ เพราะตอนนี้กำลังจัดทำผลงานให้พี่สาวพอดี ตัวดิฉันเองผ่านแล้ว แต่เป็นงานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    ความเข้าใจก็คือเป็นรูปแบบบทเรียนโปรแกรมเหมือนกันใช่หรือเปล่าคะอาจารย์อยากถามท่านอาจารย์ว่า ถ้าดิฉันทำกรอบแบบ แบบทดสอบก่อนเรียน กรอบเนื้อหา 1 กรอบเนื้อหา 2 กรอบเนื้อหา 3 แบบฝึกกิจกรรม1 แบบฝึกกิจกรรม2 แบบฝึกกิจกรรม 3 แบบทดสอบหลังเรียน แบบนี้จะได้หรือเปล่าค่ะ เพราะเท่าที่เห็นตัวอย่างจะเป็นรูปแบบ กรอบเนื้อหา กรอบคำถาม กรอบเฉลย เรียงแบบนี้ จึงอยากถามว่า วิธีการทำบทเรียนสำเร็จรูปมีกี่รูปแบบ ถ้าท่านอาจารย์มีตัวอย่างขอความกรึณาท่านอาจารย์ด้วยนะคะ สงสารพี่สาว ตกและเยี่ยวยา จะส่งผลงานเดือน เมษาค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

    1. สวัสดีค่ะ คุณจอมฝน
      บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง อาจจัดทำในรูปแบบเอกสารหรือในรูปแบบโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ก็ได้ แต่ทำในรูปแบบเอกสารจะทำง่ายกว่าและใช้ง่ายกว่า ในPanchalee blog มีตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูปที่เป็นสื่อเอกสาร 3 เรื่อง ซึ่งเป็นผลงาน คศ. 3 ส่วน CAI เป็นสื่อคอมพิวเตอร์ซึ่งที่สื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นสื่อที่น่าสนใจ เป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์เพราะสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับสื่อคอมพิวเตอร์ บางครั้งพบว่านำบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบของสื่อคอมพิวเตอร์ ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  35. เรียนท่าน ศน. การสร้างสื่อ นวัตกรรม ใช้กับนักเรียนในชั้นไม่เกิน 20 คน จำเป็นที่จะต้องทดสอบความแตกต่างของผลการสอบก่อนและหลังเรียนด้วย T – dependant หรือไม่
    เพราะนักเรียนน้อยและไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง(สอนทั้งหมดในห้อง ในโรงเรียนมีเท่านี้) อธิบาย โดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ จะเพียงพอหรือไม่
    ตำราเกี่ยวกับสถิติแต่ละตำรากล่าวไว้ไม่ตรงกัน

    รังสรรค์

    1. เรียน อาจารย์รังสรรค์ ที่เคารพ
      1.การศึกษาจากนักเรียนทั้งห้อง ถ้านักเรียนมี 20 คน เป็นการศึกษาจากประชากร เรียกว่า พารามิเตอร์(Parameter) การหาค่าเฉลี่ยคือ”มิว” ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ “ซิกม่า” และถ้าต้องการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ให้ใช้ค่าร้อยละ
      2. ถ้านักเรียนทั้งห้อง มี 40 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างมาศึกษา 20 คน ค่าที่คำนวณจากกลุ่มตัวอย่างเรียกว่าค่าสถิติ(Statistics) การทดสอบความแตกต่าง เป็นการใช้สถิติประเมินประสิทธิภาพของนวตกรรม ใช้ t-test dependent(ใช้ในกรณีที่มีการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันที่มีการเปรียบเทียบผลสัมรฤธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน)
      ศึกษารายละเอียดได้จากเอกสารการสอนชุดวิชาสถิติ วิจัย และการประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
      อาจารย์ขิง

  36. ดิฉันดีใจมากค่ะที่ได้เข้ามาอ่านเว็บนี้ ดิฉันกำลังสนใจการทำบทเรียนสำเร็จรูปสาระวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.6 ค่ะ ใช้กับนักเรียน 5 คน (โรงเรียนขนาดเล็ก)ไม่ทราบว่าขนาดประชากรอย่างนี้ มีผลไหมค่ะ

  37. จากข้อความที่ 41 ขอขอบคุณท่านที่กรุณาเข้ามาตอบให้ทราบ ดิฉันขอถามต่อว่า แล้วจะทำอย่างไรดีค่ะ เพราะทางโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเพียงเท่านี้ ดิฉันมีโอกาสทำในเรื่องอื่น ๆ ได้หรือเปลา เช่นเอกสารประกอบการเรียน .

  38. ผลงานได้ปรับแก้ค่ะ “กรณีการหาประสิทธิภาพสื่อ(E1/E2) ตอนที่ 1 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาสื่อ คือทดลองกับกลุ่มทดลอง ประสิทธิภาพสื่อของขั้นตอนนี้มีประสิทธิภาพเท่ากับจุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ 80/80 ได้แสดงไว้ในบทที่ 3 ของรายงานวิจัยแล้วแต่ตอนที่ 2 เมื่อนำสื่อที่มีประสิทธิตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้ว ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง แต่ค่าE1/E2 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้มากกว่า 5 ควรอภิปรายผลอย่างไรดีค่ะ

    1. สวัสดีค่ะคุณสุกัญญา
      ขอแสดงความยินดีด้วยที่ผลงานได้ปรับปรุง การนำสื่อไปทดลองกับกลุ่มทดลองจริงแต่ผลไม่เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด ตามหลักการหรือทฤษฎีจะต้องค้นหาปัญหาว่ามีสาเหตุจากอะไร เช่นความพร้อมของนักเรียน ความพร้อมของครู เวลาที่ใช้ในการทดลอง คุณภาพของสือ แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบหลังเรียน ฯลฯ นำปัญหาที่พบมาทำการปรับปรุงสื่อและกระบวนการทดลองแล้วทดลองใหม่ จนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่เมื่ออาจารย์ได้ปรับปรุงถือว่าโชคดี วิธีการคือ
      1.ไปหาผลการวิจัยเรื่องที่ผล E1/E2 ต่ำกว่าเกณฑ์ ว่าอภิปรายผลว่าอย่าไร
      2. อาจารย์ลองทบทวนระหว่างทดลองว่ามีปัญหาเกี่ยวกับอะไรที่เป็นปัญหานอกเหนือการควบคุม(แต่ต้องไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับสื่อ) โดยไปนำคะแนน E1 และ E2 ของนักเรียนมาดูเป็นรายข้อละรายคน อาจจะพบปัญหาจากผู้เรียน เช่น ผู้เรียนมาเรียนไม่สม่ำเสมอเนื่องจากปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาสุขภาพ เป็นต้น
      อาจารย์ขิง

  39. ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ช่วยให้ข้อมูลและแนวทางที่มีประโยชน์ ปีใหม่นี้ขอให้
    อาจารย์ขิงมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ปรารถนาสิ่งใดขอให้สมหวังทุกประการค่ะ

  40. เรียน อาจารย์ ที่เคารพ
    ดิฉันได้รับอนุมัติ เลื่อนวิทยฐานะ คศ 3 ได้แล้วค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยนะคะที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทานแก่ดิฉัน อาจารย์อธิบายเข้าใจง่าย ทำให้รู้สึกว่า งานวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก เหมือนเมื่อก่อน ปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์และครอบครัวมีความสุข สมหวัง มีความเจริญก้าวหน้า และมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ
    ครูธาดา

    1. สวัสดีปีใหม่ 2555 ค่ะอาจารย์ธาดา
      ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จ ในการได้เลื่อนวิทยะฐานะ คศ. 3 ค่ะ ขอให้อาจารย์พัฒนาการเรียนการสอนควบคู่ไปกับกระบวนการวิจัย นอกจากจะเป็นพัฒนาผู้เรียนแล้วยังเป็นการพัฒนาวิชาชีพครู ไปสู่ คศ. 4 ได้ ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้ไปต่อ นะคะ
      อาจารย์ขิง

  41. เรียน ท่านศึกษานิเทศก์อัญชลี ทราบ
    ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ทำคศ.3 แล้วอยู่ในขั้นตอนปรับปรุงผลงาน คือทำผลงานเป็นบทเรียนสำเร็จรูป ขณะนี้มีข้อข้องใจใคร่ขอความกรุณาให้ท่านช่วยอนุเคราะห์ด้วยค่ะ ในขั้นของการหาความเชื่อมั่นแบบทดสอบโดยใช้ K.R – 20 อยากทราบว่าวิธีการนี้ต้องแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มสูง – กลุ่มต่ำหรือไม่ เช่น ในแบบทดสอบเล่ม 1 ของดิฉันมีข้อสอบย่อยทั้งหมด 5 ข้อ มีนักเรียน 30 คน ปรากฏว่า นักเรียนทำคะแนนเต็ม 5 ได้จำนวน 16 คน ส่วนคะแนนต่ำที่ได้คือ 2 เพียง 4 คนเท่านั้น แต่พอนำมาหาค่าความเชื่อมั่นแล้วทำไมได้ออกมาเพียง .50 เท่านั้น ซึ่งใช้ไม่ได้ใช่ไหมคะ จึงอยากทราบวิธีการที่ถูกต้องค่ะ .. ขอบคุณค่ะ ..

    1. สวัสดีค่ะครูธาดา
      ขอแสดงความยิยดีด้วยนะคะ จะทำ คศ. 4 ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ กระทรวงศึกษาธิการได้ให้โอกาสครูได้ก้าวหน้าในอาชีพครู ครูจะต้องสร้่างโอกาสด้วยตัวเอง ส่วนดิฉันจะคอยช่วยเป็นที่ปรึกษา ส่งเสริมสนับสนุน และให้กำลังใจเพื่อให้ครูไปสู่ความก้าวหน้าพร้อมกับพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยค่ะ ติดต่อรายละเอียดมาทาง anchalee@nfe.go.thได้ค่
      อาจารย์ขิง

  42. สวัสดีคะ ตอนนี้ดิฉันกำลังจะทำคศ. 3 วิชาภาษาัอังกฤษประถมศึกษาปีที่ 5 คะ แต่ยังไม่ทราบว่่าจะทำอะไรดี แต่มีพี่ๆ บอกว่าให้ทำ บทเรียนสำเร็จรูป คะ แต่ยังไม่ค่อยทราบวิธีการทำ ดิฉันขอความอนุเคราะห์ช่วยส่งตัวอย่างที่ครบรูปแบบ มาให้ดูหน่อยได้มั้ยคะ เครียดมากคะ กลัวจะไม่ผ่าน รบกวนขอความอนุเคราะห์หน่อยนะคะ ขอบคุณคะ

  43. ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำดีๆ ดิฉันบทเรียนสำเร็จรูปใช้สำหรับ นร.ม.2 วิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ทราบว่า บทเรียนสำเร็จเหมาะกับ นร.ม.ต้น กำลังจะส่งเพื่อทำผลงาน คศ.3 ค่ะ

    1. สวัสดีค่ะคุณจิดาภา
      บทเรียนสำเร็จรูป นำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้กับวิชาวิทยาศาสตร์ได้ดีมาก ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายค่ะ เพราะเป็นสื่ือที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยเอง โดยครูคอยให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้เรียนสามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนรับรู้ความก้าวหน้าในการเรียน และรู้จุดที่จะต้องพัฒนาตนเอง ดังนั้นสื่อประเภทนี้เป็นสื่อที่กระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือรันในการเรียนค่ะ
      อาจารย์ขิง

  44. สวัสดีค่ะ ตอนนี้หนูกำลังจะเริ่มทำผลงาน แต่มีข้อสงสัย ว่า ที่ ร.ร.ของหนูเป็น ร.ร.ขนาดเล็ก แต่ละชั้นมีนักเรียน 5 คน ถ้าเราจะทำผลงานนวัตกรรม เราสามารถใช้ นักเรียน 5 คน ของเรา เป็นประชากรในการศึกษา ได้หรือไม่ค่ะ กลัวว่าจะน้อยไป ทำไม่ได้

    1. สวัสดีค่ะครูมนัสนันท์
      การทำผลงานถ้าเป็นวิจัยเชิงทดลอง ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 5 คนก็ใช้ได้ แต่กรรมการตรวจผลงานบางท่านมีแนวคิดว่าน้อยไป ควรเป็น 1 ห้องเรียน อย่างน้อย 30 คนค่ะ
      อาจารย์ขิง

  45. สวัสดีค่ะ อาจารย์ อ่านคำแนะนำต่าง ๆ แล้ว ชื่่นชมอาจารย์มากเลยค่ะ หนูอยากทำ ค.ศ. 4 ภาษาไทย จะขอเชิญอาจารย์เป็นที่ปรึกษาได้ไหมค่ะ

    1. สวัสดีค่ะคุณอาจารีย์
      1 บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรม คือสื่อที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การทำบทเรียนจึงเริ่มจากเนื้อหาที่ง่ายๆ ไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นตามลำดับ เป็นสื่อที่สร้างขึ้นโดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการ และสื่อการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า ประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้(ศึกษารายละเอียดได้จากบทความในPanchalee blog)
      2. แบบฝึกเสริมทักษะหรือแบบฝึกหัด เป็นสื่อการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะจนแตกฉานในบทเรียนที่ผู้เรียนได้เรียนผ่านมาแล้ว ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนดีขึ้น สื่อนี้อาจนำมาใช้ในห้องเรียนหรือมอบให้ผู้เรียนเป็นการบ้านก็ได้
      รูปแบบของแบบฝึกมีหลายรูปแบบ เช่น แบบทำเครื่องหมายถูกผิด แบบจับคู่ แบบเติมคำหรือเติมข้อความให้สมบูรณ์ แบบอัตนัย เป็นต้น
      อาจารย์ขิง

  46. เรียน ท่านอัญชลี ที่เคารพ
    ผมได้เยี่ยมชม บล็อกท่านชื่นชอบ และชื่นชมการทำงานมาก มีจิตกุศล ช่วยเหลือเพื่อนครูและผู้สนใจเพื่อพัฒนาการศึกษาจริง สมแล้วกับการได้ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
    ขอให้ท่านได้ทำความดีต่อเนื่องเพื่อครูเราจะได้พัฒนาการศึกษาได้อย่างมั่นใจ
    ด้วยความเคารพ
    สุนัย สุวงศ์

    1. สวัสดีปีใหม่ 2558 ค่ะคุณสุนัย สุวงค์
      ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบให้ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับดิฉันมาก ทำให้สามารถทำ Panchalee blog มาได้ถึงวันนี้ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
      อาจารย์ขิง

  47. เรียน อาจารย์อัญชลี ที่เคารพ ตอนนี้หนูกำลังทำนวัตกรรม บทเรียนสำเร็จรูป วิชา ภาษาอังกฤษ ม.5 หนูอยากจะให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการฟังประกอบในบทเรียนสำเร็จรูปด้วย ในกรอบฝึกหัด หนูสามารถแนบ CD เสียงบทสนทนา ท้ายเล่ม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฟังด้วยได้ไหมคะ หรือแยกออกมาเป็นกิจกรรมขั้นฝึกนอกบทเรียนสำเร็จรูปคะ ขอความกรุณาให้คำแนะนำด้วยค่ะ จะทำต่อก็ไม่กล้าทำ กลัวผิดค่ะ

    1. สวัสดีค่ะอาจารย์ธัญลักษณ์
      เขียนบทเรียนเรื่องการฟังไว้ในกรอบบทเรียน และเขียนคำชี้แจงการใช้บทเรียนสำเร็จรูปในตอนหน้าว่า กรอบบทเรียนตอนใดบ้างที่ผู้เรียนต้องใช้ CD ประกอบการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป
      ถ้าแยกออกไปจะสับสน ว่าทำนวัตกรรมเรื่องบทเรียนสำเร็จรูปหรือชุดการสอน หรือชุดการเรียน ค่ะ
      อาจารย์ขิง

  48. เรียน อาจารย์อัญชลีที่เคารพยิ่ง
    สวัสดีคะ ขอชื่นชมอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ที่ให้คำแนะนำการทำผลงานให้คุณครูประสบผลสำเร็จ นับว่าเ ป็นบุญที่หนูได้เปิดมาเห็น อยากเรียนถามอาจารย์ เกี่ยวกับการทำผลงานคณิตศาสตร์ ป.๒ ใช้บทเรียนสำเร็จจะเหมาะกับนร.ไหมคะ ทดลองใช้แล้ว (มีนร. ๔๐ คนค่ะ มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาของโจทย์ปัญหา นร.ที่เรียนได้ทันเวลา ๒๐ คน ครูคอยแนะนำบ้าง ๑๓ คน มีปัญหาตรงนร. ๗ คนไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมินที่กำหนดไว้ สาเหตุมาจากอ่านหนังสือไม่คล่อง แต่ก็ให้ซ่อมเสริมช่วงพักกลางวัน) ไม่ทราบว่า จะเขียนรายงานอย่างไรดี
    เคยส่งผลงานใน ปี ๒๕๕๖ ส่งเอกสารประกอบการเรียน (ตก) หนูใช้จริง นร. ก็ทำได้ มีไม่กีคนที่่่สอบแล้วคะแนน ได็ร้อยละ ๖๐

    1. สวัสดีค่ะคุณ Sukanit
      บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อประกอบการสอนที่ นำไปใช้กับผู้เรียนที่ได้ผล เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ทำกิจกรรมการเรียนอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อ และได้ทราบผลการเรียนของตนเอง เหมาะสำวิชาทักษะ เช่นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา เป็นต้น
      แต่การจัดการเรียนการสอนในเนื้อวิชานั้นควรใช้วิธีสอนหรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลายวิธีที่เหมาะสม ไม่ใช่ใช้แต่เพียงบทเรียนสำเร็จรูปเท่านั้น
      การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปโดยทั่วไปจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพ 80/80(E1/E2)
      การหาประสิทธิจะมีขั้นตอนดังนี้
      1 ขั้นทดลองต้นฉบับ
      1.1 ขั้น 1:1 คือนำบทเรียนไปทดลองกับผู้เรียน 3 คน
      (คือผู้เรียนที่มีผลการเรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อน)
      เพื่อดูความถูกต้องของเนื้อหา ขั้นตอนการทำกิจกรรมการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเวลา เพื่อหาประสิทธิภาพ
      จากนั้นก็ปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้กับกลุ่มเล๋กต่อไป
      1.2 ขั้นกลุ่มเล็ก นำบทเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขในขั้นที่ 1 ไปทดลองกับผู้เรียนที่กำลังเรียนวิชานั้นอยู่ จำนวน 10 คน แต่ไม่ใช่กุลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องของบทเรียน และเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน จากนั้นนำไปปรับปรุงแก้ไข เนื้อหา กิจกรรม และแบบทดสอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นก่อนนำไปใช่กับกลุ่มใหญ่ต่อไป
      1.3 ขั้นกลุ่มใหญ่ นำไปทดลองกับผู้เรียน จำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทภาพ แล้วจึงนำไปทดลองกับกลุ่มทดลองจริง
      2 ขั้นทดลองจริง คือนำบมเรียนไปทดลองกับประชากรกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ และหาประสิทธิภาพ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
      อาจารย์ขิง

ส่งความเห็นที่ เพ็ญรำเพย ยกเลิกการตอบ